กรมอนามัย ให้ความรู้การ ยุคโควิด-19 ดูแลตัวเองยังไง ถึงจะปลอดภัยแบบครอบคลุม

กรมอนามัย ให้ความรู้การ ยุคโควิด-19 ดูแลตัวเองยังไง ถึงจะปลอดภัยแบบครอบคลุม

กรมอนามัย ให้ความรู้การ ยุคโควิด-19 ดูแลตัวเองยังไง ถึงจะปลอดภัยแบบครอบคลุม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย เดินหน้าให้ความรู้การดูแลสุขภาพคนไทยในยุคโควิด-19 โดยมีคำแนะนำทั้งด้านสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชนทุกวัยได้ปฏิบัติตน อย่างเหมาะสม ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการยกระดับการป้องกันในแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. SandBox ในสถานศึกษา 2.การจัดการขยะติดเชื้อ 3.การยกระดับความปลอดภัยในร้านอาหาร 4. การยกระดับความปลอดภัยในตลาดสด 5.การใช้ชีวิตแบบ New Normal ภายใต้การยกระดับความปลอดภัย Universal Prevention และ 6.มาตรฐาน Good factory Practice ของผู้ประกอบการโรงงานและอุตสาหกรรม หวังเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักการปฏิบัติ อันจะลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรคโควิด-19และสร้างความเชื่อมั่นด้าน ความสะอาดปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ

เปิดเรียนปลอดภัย sandbox Safety in School

แนวการปฏิบัติ Sandbox safety Zone in school มีไว้เพื่อวางมาตรการด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยภายในโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถกลับไปเรียนที่โรงเรียนได้อย่างเต็มที่

ด้วยการจำกัดบุคคลเข้าออกโรงเรียนอย่างชัดเจน มีการคัดกรองโดยใช้วิธี Rapid Antigen Test มีระบบติดตามของครูและบุคลากรอย่างเข้มงวด กำหนดให้ทุกคนต้องประเมินความเสี่ยงผ่าน “Thai save Thai” อย่างสม่ำเสมอ พร้อมเฝ้าระวังสุ่มตรวจทุก 14 วันหรือ 1 เดือนต่อภาคการศึกษา

รวมไปถึงการเน้นการทำกิจกรรมในรูปแบบ Bubble and Seal แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย ไม่ปะปนกัน และโรงเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการของ Thai Stop COVID Plus โดยครูและบุคลากรในโรงเรียนจะต้องเข้าถึงการฉีดวัคซีนมากกว่าร้อยละ 85 ขึ้นไป

การจัดการขยะเชื้อ

การระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทั่วประเทศส่งผลต่อปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวทั้งจากสถานพยาบาล การแยกกักตัวที่บ้านและจากศูนย์พักคอยชุมชนขนาดเล็กขยะติดเชื้อ คือ ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภค รวมไปถึงชุดตรวจโควิด-19 หรือ Test Kit ขยะเหล่านี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูงจึงต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป

จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1 พื้นที่หรือชุมชน มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ
  • กรณีที่ 2 พื้นที่หรือชุมชน ไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ

พร้อมทั้งแนะนำการเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อไปยังจุดพักขยะ หากอยู่ในระหว่างการแยกกักตัว ผู้ป่วยไม่ควรออกนอกห้องหรือออกได้เท่าที่จำเป็น โดยอาจขอให้สมาชิกในครอบครัว แม่บ้าน หรือนิติบุคคลอาคารชุด ช่วยนำขยะติดเชื้อไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ และต้องไม่ลืมล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮฮล์ทันที หลังจัดการขยะติดเชื้อทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และความปลอดภัยของตัวเราเอง

การยกระดับความปลอดภัยในร้านอาหาร

ที่ผ่านมารัฐบาลมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตามความรุนแรงของสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญในส่วนของร้านจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม

ศบค. มีการปรับมาตรการให้สามารถนั่งกินในร้านได้ โดยทุกร้านที่เปิดให้บริการต้องยกระดับมาตรการป้องกันโควิด 19 เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน และ ผู้บริโภค
โดยทุกร้านที่เปิดให้บริการต้องมีมาตรการดังนี้

  • ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ทันที หลังมีผู้ใช้บริการ
  • หมั่นทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม และห้องน้ำ ทุก 1-2 ชั่วโมง
  • เปิดประตูและหน้าต่างอย่าน้อย 30 นาที ก่อนเปิดและปิดระบบปรับอากาศ
  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และโต๊ะรับประทานอาหาร 1-2 เมตร
  • จัดบริการเจลแอลกอฮอล์ประจำทุกโต๊ะ
  • จัดอุปกรณ์กินอาหารเฉพาะบุคคล
  • งดจัดบริการในรูปแบบผู้บริโภคบริการตนเอง

การยกระดับความปลอดภัยในตลาดสด

ตลาดเป็นที่ที่มีการรวมกลุ่มคนหลากหลาย ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ขนส่งสินค้า ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในตลาดกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย จึงแนะนำให้ทุกตลาดยกระดับการป้องกันโควิด ด้วยการเฝ้าระวังเชิงรุกและจัดทำแผนเผชิญเหตุ หากพบผู้ติดเชื้อโควิด-19

การเฝ้าระวังเชิงรุก ผู้ดูแลตลาดต้องสุ่มตรวจผู้ขายและแรงงานในตลาด ร้อยละ10 หากพบผู้ติดเชื้อ 1 คน ให้ปิดเฉพาะแผงค้าที่พบการติดเชื้อ จำนวน 14 วัน แต่หากพบผู้ติดเชื้อ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ปิดตลาด 3 วัน เพื่อทำความสะอาดและปรับปรุงสุขาภิบาลในตลาด ยกเว้นแผงที่พบผู้ติดเชื้อ ให้ปิดต่อจนครบ 14 วัน รวมถึงแยกกักผู้ติดเชื้อหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ให้เข้าทำงานในตลาด นอกจากนี้ กรมอนามัยยังได้แนะนำ

มาตรการ 3 ด้าน เพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในตลาด

  1. การป้องกันด้าน "คน"
  2. การป้องกันด้าน "สถานที่"
  3. ด้านการจัดการด้าน "ระบบเฝ้าระวังควบคุมโรค"

โดยทั้ง 3 ข้อนี้จะช่วยในการสร้างความมั่นใจ และมาตรฐานความปลอดภัยให้มากขึ้นนั่นเอง

การใช้ชีวิตแบบ New Normal ภายใต้การยกระดับความปลอดภัย Universal Prevention

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบครอบจักรวาล หรือมักได้ยินเป็นภาษาอังกฤษว่า Universal Prevention for Covid-19 คือการระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลา แม้จะยังไม่พบความเสี่ยง แต่ก็ให้คิดเสมอว่าตนเอง หรือ คนที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะสนิทสนมกันระดับใด อาจมีเชื้อโควิด-19 แฝงตัวอยู่ และอาจเเพร่เชื้อส่วนบุคคลได้ ซึ่ง การป้องกันตัวเองและผู้อื่นแบบ แบบครอบจักรวาล จึงนับเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตในยุค New Normal

มาตรฐาน Good factory Practice ของผู้ประกอบการโรงงานและอุตสาหกรรม

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสถานประกอบการโรงงาน กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ร่วมกับ 4 หน่วยงาน กำหนดมาตรฐาน Good Factory Practice เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับทุกโรงงาน โดยมี 4 มาตรการหลัก ได้แก่

  • มาตรการด้านการป้องกันโรค
  • มาตรการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • มาตรการเสริมสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่
  • มาตรการเมื่อพบผู้ติดเชื้อ

ทั้ง 4 มาตรการดังกล่าว ขอให้โรงงานปฏิบัติอย่างเข้มข้นสูงสุดเพื่อลดความเสี่ยงของ โรคโควิด-19

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook