ไขข้อสงสัย "เครื่องจับเท็จ" คืออะไร ทำงานยังไง จับโกหกได้จริงหรือไม่

ไขข้อสงสัย "เครื่องจับเท็จ" คืออะไร ทำงานยังไง จับโกหกได้จริงหรือไม่

ไขข้อสงสัย "เครื่องจับเท็จ" คืออะไร ทำงานยังไง จับโกหกได้จริงหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ เป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้การบันทึกสัญญาณที่ส่งจากตัวรับสัญญาณ (เซนเซอร์) จากหลายจุด ตามความหมายของคำว่าโพลี (poly) ไปยังกราฟคอมพิวเตอร์ ซึ่งเซนเซอร์จะบันทึก การหายใจ/ การเต้นของชีพจร/ ความดันโลหิต และการขยายตัวของปอด

เครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ มีเป้าหมายเพื่อดูว่าบุคคลผู้นั้นกำลังบอกความจริงหรือกำลังโกหกอยู่ ในขณะที่ตอบปัญหาในบางคำถาม เมื่อเข้าเครื่องจับเท็จ จะมีการวางตัวรับสัญญาณไว้บนร่างกาย 4 – 6 จุด

โดย เครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ จะจับการเคลื่อนไหวและการขยับเขยื้อนทั้งหมดของผู้เข้ารับการทดสอบตลอดช่วงเวลาของการทดสอบผ่านทางตัวจับสัญญาณทั้งหมด และยังมีการบันทึกเสียงและวิดีทัศน์อีกด้วย เพื่อเป็นหลักฐานและเพื่อเป็นข้อมูลเสริม

เครื่องจับเท็จเครื่องจับเท็จ

การตรวจจับของ โดยเครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ

  • อัตราการหายใจ
    กราฟ 2 เส้นที่จับการทำงานของปอด (Pneumographs) โดยใช้สายยางที่เติมอากาศไว้ นำมารัดไว้รอบอกและช่องท้อง เมื่อรอบอกหรือท้องขยายอากาศในท่อดังกล่าวจะถูกเบียด แต่ถ้าเป็นอานาล็อกโพลีกราฟ ท่ออากาศที่ถูกแย่งที่ก็จะย่นเหมือนเวลาเราเล่นแอคคอร์เดียนที่พับเมื่อโดนเบียด และคลี่ตัวเมื่อโดนดึงขยาย และตัวสูบลมนี้ก็ติดอยู่กับแขนกล ที่ต่อกับปากกาเพื่อลากไปบนกระดาษตามแรงหายใจ ส่วนดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้ท่อจับการทำงานของปอดเช่นกัน แต่จะบรรจุเครื่องแปลงกำลัง (transducers) ไว้เพื่อเปลี่ยนพลังงานของอากาศที่ถูกเบียดให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า
  • ความดันโลหิต/อัตราการเต้นของหัวใจ
    พันแถบวัดความดันโลหิตไว้รอบต้นแขน พร้อมกับต่อเข้ากับโพลีกราฟ ขณะที่เลือดสูบฉีดผ่านแขนก็จะเกิดเสียง การเปลี่ยนแปลงแรงดันเลือดทำให้เสียงไปแทนที่อากาศในหลอดที่เชื่อมต่อตัวสูบลมที่เป็นจีบเพื่อขยับปากกา ซึ่งถ้าในดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้หลักการเช่นเดียวกับอัตราการหายใจ
  • ความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนัง (Galvanic skin resistance : GSR)
    หรือจะเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง” โดยทั่วไปก็จะวัดปริมาณเหงื่อที่ปลายนิ้ว เพราะที่ปลายนิ้วเป็นบริเวณที่มีรูมากที่สุดในร่างกาย และเป็นตำแหน่งที่สังเกตเหงื่อได้ง่าย คนเราเมื่ออยู่ในสถานการณ์กดดันแล้วจะมีเหงื่อออกมาผิดปกติ จานรองนิ้วมือซึ่งก็คือ “เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า” (galvanometers) จะติดอยู่กับนิ้ว 2 นิ้ว โดยวัดความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า เมื่อผิวหนังชื้นหรือเหงื่อออกมาก ก็จะนำกระแสไฟฟ้าได้ง่ายกว่าผิวหนังที่แห้ง

โพลีกราฟบางชนิดยังเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของแขนและขา ขณะที่ผู้ตรวจสอบตั้งคำถาม โดยสัญญาณจะส่งมาจากเครื่องตรวจจับที่ติดอยู่กับร่างกาย และแสดงผลผ่านกระดาษออกมาอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบนี้ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้หากผู้นั้นโกหกจริง แต่ก็จะปรากฏการตอบสนองทางร่างกาย อันเป็นสิ่งที่ปรากฏในคนทั่วไปขณะที่พยายามหลอกลวงผู้อื่น ด้วยการถามคำถามกดดันพิเศษขณะสอบสวนและตรวจสอบ ซึ่งมีผลต่อปฏิกิริยาทางร่างกาย ส่วนโพลีกราฟก็จะช่วยแสดงว่าพฤติกรรมเช่นนี้โกหกอยู่หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook