“มรดก” ของขวัญชิ้นสุดท้ายที่พ่อแม่รุ่นใหม่ควรวางแผน

“มรดก” ของขวัญชิ้นสุดท้ายที่พ่อแม่รุ่นใหม่ควรวางแผน

“มรดก” ของขวัญชิ้นสุดท้ายที่พ่อแม่รุ่นใหม่ควรวางแผน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ่อแม่ยุคใหม่อาจไม่ได้สนใจเรื่องมรดกกันมากนัก แต่การวางแผนมรดกที่จะตกทอดแก่บุตรหลานยามเมื่อเราจากโลกนี้ไป เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่อาจจะไม่ได้สนใจเรื่องมรดกทรัพย์สินมากนัก แต่หากมีทายาทสืบสกุล การวางแผนเรื่องมรดกที่จะตกทอดแก่บุตรหลานยามเมื่อเราจากโลกนี้ไป ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่จะมอบให้กับทายาท ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องใด Tonkit360 มีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน

อัปเดตบันทึกทรัพย์สินและหนี้สินอยู่เสมอ

การบันทึกทรัพย์สินที่เรามี และหนี้สินที่ต้องจ่าย ควรมีการอัปเดตเสมอเผื่อกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ซึ่งคนที่อยู่ข้างหลังจะได้รับรู้แบบไม่ตกหล่น ไม่ต้องเสียเวลาตามหาว่าทรัพย์สิน และหนี้สินที่ต้องชำระมีอะไรบ้าง โดยควรทำในรูปแบบพินัยกรรมไว้เลยว่า ทรัพย์สินส่วนใดให้ทายาทคนไหน จำนวนเท่าไร เพื่อให้ทรัพย์สินสามารถส่งต่อถึงทายาทได้อย่างที่ตั้งใจไว้นั่นเอง

ต้องรู้ว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง มูลค่าเท่าไร

อันไหนที่ต้องเสียภาษีมรดก ต้องพิจารณาภาษีการให้และภาษีมรดก โดยทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีมรดก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ หลักทรัพย์ทางการเงิน เงินฝาก และทรัพย์สินทางการเงินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเอาไว้

ความแตกต่างของภาษีมรดก และภาษีจากการให้

ภาษีมรดกเกิดขึ้นเมื่อมีการเสียชีวิตของเจ้าของมรดกและส่งต่อทรัพย์สินไปตามพินัยกรรม ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดก จะเสียเฉพาะส่วนเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 10% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุคคลธรรมดา เช่น ผู้รับตามพินัยกรรม หรืออัตรา 5% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือทายาท โดยถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณจากราคาประเมิน ส่วนภาษีจากการให้เกิดตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเปอร์เซ็นภาษีแตกต่างกันไป ถ้าเป็นการโอนทรัพย์สินให้ทายาท มูลค่าส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5 % และ ถ้าเป็นการให้บุคคลธรรมดา ทายาทสนิท หรือให้ด้วยความเสน่หา ส่วนที่เกินมูลค่า 10 ล้านบาท ต้องเสียอัตราภาษี 5 % เช่นกัน

มรดกเงินสด ส่งต่อเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กรณีที่มีมรดกเป็นเงินสดที่มากเกินไป ทำให้ต้องเสียภาษีมรดกมาก อาจเปลี่ยนเป็นการมอบแบบได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การทำประกันชีวิตเพื่อรับสินไหมมรณกรรม โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่เราต้องการมอบมรดกให้

เรื่องของการวางแผน หรือดูแลทรัพย์สินที่สร้างเพื่อเป็นมรดกนั้น ไม่จำเป็นที่เราจะต้องมีทรัพย์สินหลักร้อยล้านถึงจะทำ แต่เป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อให้ลูกหลานได้รับตามเจตนารมณ์ รวมทั้งควรบอกให้คนใกล้ชิดที่ไว้ใจรู้ว่าได้ทำรายการทรัพย์สิน หนี้สิน หรือร่างพินัยกรรมเก็บไว้ที่ใดด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook