ชนิดข้อสอบในระดับมหาวิทยาลัย เรียนสูงขึ้น เราต้องเจออะไรบ้าง

ชนิดข้อสอบในระดับมหาวิทยาลัย เรียนสูงขึ้น เราต้องเจออะไรบ้าง

ชนิดข้อสอบในระดับมหาวิทยาลัย เรียนสูงขึ้น เราต้องเจออะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อสอบ สำหรับนักเรียนนักศึกษาแล้ว มันเป็นอะไรที่เราเจอมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมยันมัธยม มันก็จะเพิ่มระดับความยากขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับชั้น ซึ่งต้องบอกเลยว่าเมื่อเรามาถึงระดับมหาวิทยาลัยนั้น การสอบก็จะอัปเกรดความยากขึ้นไปตามลำดับความรู้ที่เราได้เรียนมาเลยนะ

วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาดูกันหน่อยว่า รวมข้อสอบในระดับมหาวิทยาลัย มันจะมีการสอบแบบไหนบ้าง มันแตกต่างกับการสอบแบบ อัตนัย และ ปรนัย ในระดับมัธยมที่เราเคยเจอมารึเปล่า

ข้อสอบเขียน อัตนัย

ลืมข้อสอบแบบอัตนัยแบบระดับมัธยมไปได้เลย เพราะข้อสอบอัตนัยระดับมหาวิทยาลัยเรียกว่ามีความยากขึ้นมาก เช่น โจทย์ที่เป็นคำถามปลายเปิด หรือจะเป็น คำถามใหญ่หนึ่งข้อ แต่ในข้อใหญ่นั้นมีข้อย่อยอีก 2-6 ข้อ แล้วให้สมุดเขียนคำตอบมา 1 เล่ม ให้เขียนเนื้อหาความรู้ทั้งหมดลงไป ซึ่งคำตอบนั้นก็เป็นคำตอบที่ต้องใช้การวิเคราะห์ สร้างสรรค์ รวมไปถึงการท่องจำด้วย แบบว่าสายโหด จริงอะไรจริง

ข้อสอบเติมคำ

เป็นข้อสอบที่ดูเหมือนจะง่ายๆ แต่ก็มีความยากอยู่บ้าง ต้องเลือกตอบให้ถูก ใช้หลักการเดียวกับ ข้อเขียน อัตนัย ตรงที่เป็นคำตอบที่ต้องใช้การวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ใส่ลงไปในช่องว่าง คำแนะนำคือ เขียนตอบให้พอดีๆ อย่าสั้น และ อย่าตอบกว้างเกินกว่าที่ถามจะเวิร์กสุด

ข้อสอบปรนัย

เรียกว่าเป็นการสอบที่ถือว่าโอเค เพราะเราเจอข้อสอบแบบนี้มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก แต่อาจจะมีการเพิ่มเติมในบางครั้งตรงที่สามารถเลือกตอบได้ 2 ข้อ ซึ่งต้องเลือกตอบให้ถูกทั้ง 2 คำตอบถึงจะได้คะแนน ถูกข้อเดียว ไม่ได้คะแนนนะจ๊ะ

ข้อสอบทำที่บ้าน

ข้อสอบทำที่บ้าน หรือที่เรียกว่า Take Home คือเป็นข้อเขียน หรือ โปรเจคเล็กๆ ที่ต้องใช้ไอเดีย ความรู้ ความสร้างสรรค์ ระดับสุด ให้เราทำซึ่งอาจจะดูเหมือนง่าย แต่มันก็มีความกดดันอยู่นะ เพราะมันเป็นทั้งคะแนน และเกรดเลย และแน่นอนว่าเมื่อเอาไปทำที่บ้านได้ ก็ต้องมีการตรวจเช็กหาข้อผิดพลาดที่มากยิ่งขึ้นด้วย

ข้อสอบแบบ Quiz

เป็นอีกหนึ่งการสอบที่เราเคยเจอมาแล้วในระดับมัธยม อย่างเช่น Quiz ก่อนเรียน / หลังเรียน คือพูดง่ายๆ ว่าต้องตั้งใจเรียนในคาบด้วยถึงจะได้คะแนน Quiz แบบสวยๆ ซึ่งบางวิชา Quiz นับเป็นเปอร์เซ็นต์ของคะแนนตัดเกรดด้วยนะ

ข้อสอบแบบเปิดหนังสือ

หลายคนคงสงสัยว่าเอาหนังสือหนังสือเข้าห้องสอบได้มันจะยากรึไง แต่บอกเลยว่า ยากนะจ๊ะเธอ เพราะในบางครั้งคำตอบก็อาจจะไม่อยู่ในหนังสือเรียนก็ได้ ดังนั้นเราก็ต้องใช้พลังแห่งการจินตนาการ วิเคราะห์ พลังแห่งความจำมาเข้าช่วย รวมไปถึงสอบแบบเปิดหนังสืออาจจะเป็นให้จดสูตรอะไรต่างๆ เข้าห้องสอบได้ในปริมาณกระดาษ A4 1 แผ่นก็มีนะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook