ปิดตำนาน "ซีอุย" ที่หลายคนตราหน้าเขาว่า "มนุษย์กินคน" กว่า 60 ปี

ปิดตำนาน "ซีอุย" ที่หลายคนตราหน้าเขาว่า "มนุษย์กินคน" กว่า 60 ปี

ปิดตำนาน "ซีอุย" ที่หลายคนตราหน้าเขาว่า "มนุษย์กินคน" กว่า 60 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซีอุย เป็นชื่อของชาวจีนที่ถูกประหารชีวิตฐานฆ่าเด็ก เขาถูกจับกุมฐานฆ่าเด็กชายสมบุญ บุญยกาญจน์ที่จังหวัดระยองในปี 2501 ต่อมาตำรวจสืบสวนจนได้คำรับสารภาพจากซีอุยว่าก่อคดีอีกอย่างน้อย 6 คดีในช่วงปี พ.ศ. 2497–2501 แบ่งเป็นที่ประจวบคีรีขันธ์ 4 คดี กรุงเทพมหานครและนครปฐมแห่งละ 1 คดี ศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตเฉพาะคดีฆ่าเด็กชายสมบุญ บุญยกาญจน์ อย่างไรก็ดี สื่อมวลชนในขณะนั้นเขียนว่าศพในคดีที่ซีอุยรับสารภาพมีการหั่นศพและอวัยวะภายในหายไป ทำให้มีข่าวว่าซีอุยเป็นมนุษย์กินคน ต่อมาผู้ใหญ่มักขู่เด็กว่า "ซีอุยจะมากินตับ" เพื่อให้อยู่ในโอวาท

ตำนาน ประวัติ ซีอุย

ซีอุย มีชื่อจริงว่า หลีอุย แซ่อึ้ง แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น ซีอุย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2470 ตำบลฮุนไหล จังหวัดซัวเถา ประเทศจีน โดยเป็นลูกคนสุดท้องจากจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คน ของนายฮุนฮ้อกับนางไป๋ติ้ง แซ่อึ้ง ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ และมีฐานะยากจน เขาตระเวนตามที่ต่างๆ อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง มักถูกเด็กด้วยกันทำร้ายและเอาเปรียบจนเกิดความแค้นในใจ

ซีอุยวัย 18 ปี ถูกเกณท์ทหารที่มณฑลเอ้หมึง ในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ระหว่างสงครามมีครั้งหนึ่งซีอุยตกอยู่ในวงล้อมญี่ปุ่นพร้อมกับทหารจีนคนอื่น เมื่อเสบียงเริ่มหมดลง ซีอุยใช้มีดกรีดศพเพื่อนทหารเพื่อควักหัวใจ ตับและไส้ออกมาต้มกิน หลังสงครามยุติ บ้างว่าซีอุยกลับบ้านเกิดที่ซัวเถา แต่ด้วยมีฐานะยากจน จึงพยายามดิ้นร้นเพื่อย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทย บ้างว่าต่อมาเพื่อนทหารรุ่นเดียวกันชวนซีอุยสมัครเข้าทำงานกับบริษัทเดินเรือทะเล ทำได้อยู่ปีเศษ ก็ลอบหนีเข้าประเทศไทยตามเพื่อน บ้างก็ว่าซีอุยถูกเกณฑ์ไปรบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีก จึงหนีทหารเข้ามาในประเทศไทย

ก่อนจะหนีเข้ามาประเทศไทย ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ทางเรือโปรดิว เมื่อซีอุยขึ้นฝั่งประเทศไทย ก็ถูกกักตัวอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง 10 วัน ก่อนที่นายทินกี่ แซ่อึ้ง จะมารับรองออกไปได้ จากนั้นก็พักอยู่จังหวัดพระนครที่โรงแรมเทียนจิน ตรอกเทียนกัวเทียน ประมาณ 5-6 วัน ก่อนจะเดินทางไปทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงกับคำให้การวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2501 ยืนยันว่า "มาอยู่เมืองไทยครั้งแรกที่ตำบลทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์" หลังจากนั้นซีอุยก็เดินทางไปมาทำงานรับจ้างอยู่หลายที่ ก็ย้ายที่อยู่ไปไม่มีหลักแหล่ง และยากที่จะจัดลำดับได้เนื่องจากคำให้การแต่ละครั้ง ซีอุยระบุชื่อเจ้าของบ้านที่ไปพักไม่ค่อยตรงกัน และมักจะเป็นการอยู่ชั่วคราวสั้นๆ ขึ้นอยู่กับอายุงาน

ซีอุยถูกจับขณะกำลังพยายามเผาทำลายศพเด็กชายสมบุญ บุญยกาญจน์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2501 ซีอุยถูกจับได้พร้อมกับหลักฐานอวัยวะในถ้วยชาม แต่แพทย์ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นของมนุษย์ หลังถูกจับได้ สื่อเผยแพร่ภาพเขาหาวอ้าปากกว้างโดยนำไปสร้างความสยดสยอง

ซีอุยถูกจับในคดีเด็กชายสมบุญ ที่ระยอง คดีดังกล่าวถูกเชื่อมโยงเข้าคดีเก่าอีก 2 คดี คือ คดีฆาตกรรมที่สถานีรถไฟสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2489 ที่กรุงเทพมหานคร และคดีฆาตกรรมที่องค์พระปฐมเจดีย์ ที่นครปฐม เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2500 โดยรูปแบบและการฆาตกรรมลักษณะเดียวกัน ตำรวจจึงมุ่งเป้าไปที่ซีอุย ซีอุยถูกนำตัวมาสอบสวนตั้งแต่คืนวันที่ 27 มกราคม 2501 มีการบันทึกคำเป็นหลักฐานลงในวันที่ 30 มกราคม เนื่องจากซีอุยพูดและอ่านเขียนไทยไม่ได้การสอบสวนแต่ละครั้งจึงมีล่ามจีนอยู่เสมอ เนื้อหาของบันทึกปากคำฉบับวันที่ 30 มกราคม มี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ยอมรับคดีที่ระยอง และปฏิเสธข้อกล่าวหาคดีกรุงเทพและคดีนครปฐม ซีอุยยอมรับคดีที่ระยองว่าเป็นการกระทำผิดครั้งแรก โดยกล่าวนัยว่า "ไม่เคยฆ่าคนเพื่อจะเอาตับและหัวใจมากินเลย"

รายชื่อผู้เสียหายที่รับสารภาพ

ตำรวจได้คำรับสารภาพจากซีอุยในคดีฆ่าเด็กทั้งหมด 7 คน ดังนี้

  1. เด็กหญิงบังอร ภมรสูตร
    วันที่และสถานที่ 8 เมษายน 2497 อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ลักษณะการทำร้าย ถูกเชือดคอ แต่รอดชีวิต
  2. เด็กหญิงนิด แซ่ภู่
    วันที่และสถานที่ 10 พฤษภาคม 2497 อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ศพถูกชำแหละ อวัยวะภายในหายไป
  3. เด็กหญิงลิ้มเฮียง แซ่เล้า
    วันที่และสถานที่ 20 มิถุนายน 2497 อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ลักษณะการทำร้าย ถูกเชือดคอ และถูกข่มขืนกระทำชำเรา
  4. เด็กหญิงกำหงัน แซ่ลี้
    วันที่และสถานที่ 27 ตุลาคม 2497 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ลักษณะการทำร้าย ถูกเชือดคอ
  5. เด็กหญิงลี่จู แซ่ตั้ง
    วันที่และสถานที่ 28 พฤศจิกายน 2497 อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร
    ลักษณะการทำร้าย ศพถูกชำแหละ
  6. เด็กหญิงซิ่วจู แซ่ตั้ง
    วันที่และสถานที่ 5 กุมภาพันธ์ 2500 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
    ลักษณะการทำร้าย ศพถูกชำแหละ อวัยวะภายในหายไป
  7. เด็กชายสมบุญ บุญยกาญจน์
    วันที่และสถานที่ 27 มกราคม 2501 อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
    ลักษณะการทำร้าย ศพถูกชำแหละ ตับและหัวใจหายไป และพยายามอำพรางศพด้วยการเผา (ศาลอุทธรณ์พิพากษาประหารชีวิต)

การพิจารณาและคำพิพากษา

เริ่มการพิจารณาคดีซีอุยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2501 เขารับสารภาพทุกข้อกล่าวหา มีน้องของผู้เสียหายที่มีอายุ 6 ขวบให้การว่าเห็นเขาพาน้องสาวจากงานตรุษจีนในไชนาทาวน์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2497 ซึ่งเป็นคืนก่อนพบศพเธอ การพิจารณาคดีเขากินเวลา 9 วัน ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต แต่ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเพราะจำเลยยอมรับสารภาพ แต่ตำรวจอุทธรณ์เพราะเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอ เขาจึงถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2501 และมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2502 และหลังจากถูกประหารชีวิต ศพของซีอุยถูกนำมาดองเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ภายในโรงพยาบาลศิริราชนับแต่นั้น

คืนความยุติธรรม คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้กับซีอุย

การเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าชื่อกันผ่านเว็บไซต์ change.org เมื่อเดือน พ.ค. ปี 2562 ให้โรงพยาบาลศิริราชปลดป้าย "มนุษย์กินคน" ที่ติดอยู่ใกล้กับร่างของซีอุย และนำร่างของนายซีอุยออกจากการจัดแสดง เพื่อคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้เสียชีวิตรายนี้ ส่วนผู้ตั้งแคมเปญในเว็บไซต์ตังกล่าวก็ระบุว่า ซีอุย อาจไม่ใช่มนุษย์กินคนอย่างที่หลายคนเข้าใจ

หลังจากนั้นโรงพยาบาลศิริราชก็ปลดป้ายมนุษย์กินคนออก และยกย่องให้ซีอุยเป็น "อาจารย์ใหญ่" ทั้งยังประกาศตามหาญาติของผู้เสียชีวิต เพื่อนำร่างไปประกอบพิธีตามความเชื่อ

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นญาติกลับไม่มีเอกสารที่ยืนยันตัวตนได้ จึงยังไม่ได้จัดงานฌาปนกิจ จนมีการพูดคุยกันของหน่วยงานต่างๆ และนำมาสู่การที่เรือนจำกลางบางขวาง จ.นนทบุรี จะเป็นผู้ดำเนินการฌาปนกิจในวันที่ 23 ก.ค 2563

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook