ความลับน่ารักที่รู้แล้วต้องอึ้งของสัตว์น้อยในญี่ปุ่น

ความลับน่ารักที่รู้แล้วต้องอึ้งของสัตว์น้อยในญี่ปุ่น

ความลับน่ารักที่รู้แล้วต้องอึ้งของสัตว์น้อยในญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัตว์ทุกชนิดมีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ในสัตว์แต่ละชนิดมีนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน มารู้จักความลับที่น่ารักของสัตว์ที่เป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่นกันนะคะ

หอยทากน้อยผู้มีฟันสองหมื่นซี่

8a0104fb2ba8d645482267ffbea74

หอยทาก (カタツムリ/คะตะสึมุริ) เป็นหอยตัวเล็กๆที่พบเจอในป่าเล็กๆ บนต้นไม้และบนผืนหญ้าของญี่ปุ่น หอยทากมีหนวดอยู่สองคู่ซึ่งปรากฏอยู่บนหัวของมัน คือหนวดคู่ยาวและหนวดคู่สั้น ภายใต้หนวดคู่สั้นจะเป็นปากที่มีฟันงอกอยู่บนลิ้นประมาณสองหมื่นซี่ ซึ่งใช้เป็นเหมือนตะไบเวลากินผลไม้และใบไม้ เนื่องจากมีฟันมากมาย ลิ้นของหอยทากจึงไม่สามารถรับรู้รสชาติของอาหารที่กินเข้าไปได้ แต่เป็นส่วนของหนวดคู่สั้นที่อยู่บนปากต่างหากที่ทำหน้าที่รับรู้รสชาติของอาหาร

อาหารว่างของตัวสลอธสามนิ้วเท้า คือ มอสที่ขึ้นบนร่างกาย

0444b649852581751317dd197d058

ตัวสลอธ (ミユビナマケモノ/มิยุบินะมะเคะโมะโนะ หรือ Bradypus tridactylus) จัดเป็นสัตว์ที่ขี้เกียจมากๆ ตั้งแต่เช้าจนเย็นเจ้าตัวสลอธจะนอนขดตัวนิ่งๆอยู่บนต้นไม้ ในหนึ่งวันก็จะกินใบไม้เพียง 1-2 ใบ แล้วก็จะนอนขดตัวนิ่งๆอยู่บนต้นไม้ ประมาณ 8 วันก็จะลงมาขับถ่าย 1 ครั้ง ด้วยการนอนนิ่งๆอยู่บนต้นไม้และไม่ยอมเคลื่อนตัวไปไหน ตามร่างกายของตัวสลอธก็จะมีมอสเจริญขึ้นมา ตัวสลอธก็จะนำมอสมากินเป็นของว่าง ว่ากันว่ามอสจากร่างกายเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีของเจ้าตัวสลอธนี้ด้วย แบบนี้ห้ามเอาอย่างเลยนะคะ คำกล่าวขี้เกียจตัวเป็นขนก็รุนแรงแล้ว แต่หากขี้เกียจจนขนเป็นมอสนี่คงรุนแรงยิ่งกว่า

นกติ๊ดใหญ่ยิ่งมีเนคไทหนายิ่งเป็นที่นิยม

9015bc4c6eae96d3c6f2441e1eeab

นกติ๊ดใหญ่ (シジュウカラ/ชิจูคะระ หรือ Great Tit) เป็นนกน่ารักที่พบได้ทั่วไปในทวีปยุโรปและบางส่วนของเอเชีย นกชนิดนี้มีลักษณะเด่น คือ มีขนสีดำตรงแผงหน้าอกซึ่งมีลักษณะคล้ายเนคไท จากการศึกษาจับนกมาวาดขนตรงหน้าอกให้หนาขึ้น พบว่านกโดยเฉพาะตัวผู้จะได้รับความนิยมจากเพื่อนๆมากขึ้น

กระรอกน้อยจอมขี้ลืม

f3d50165ca5ebc10b4474c9ed3fd3

ในญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงกระรอก (リス/ริสึ) มักจะยุ่งกับการนำลูกโอ๊กไปฝังดินเพื่อกักตุนไว้กินตอนหน้าหนาว ในหนึ่งฤดูกาลกระรอกน้อยจะฝังลูกโอ๊กไปตรงนั้นตรงนี้ประมาณ 100 ลูก และพบว่ากระรอกจะลืมที่ฝังลูกโอ๊กในทันทีทันใด โดยกระรอกจะหาคืนลูกโอ๊กที่ถูกฝังได้แค่ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนลูกโอ๊กที่ถูกฝังลืมไว้ก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นโอ๊กในฤดูใบไม้ผลิถัดไป แบบนี้ก็ได้คำเปรียบเปรยใหม่ว่าหลงลืมเหมือนกระรอกน่ารักไม่ใช่เพราะสูงวัยนะคะ

ความลับที่น่ารักของสัตว์น้อยเป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้เขียนอ่านและสรุปมาจากหนังสือที่ขายดีที่สุดสำหรับเด็กประถมในขณะนี้ คือหนังสือชื่อ ざんねんないきもの事典 (Zannen na ikimono no jiten) ไว้หากสนใจก็จะอ่านและสรุปมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook