กฎเหล็ก 5 ข้อ ของการสร้างแชมป์

กฎเหล็ก 5 ข้อ ของการสร้างแชมป์

กฎเหล็ก 5 ข้อ ของการสร้างแชมป์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง” ท่านนี้คือ เบื้องหลัง เบื้องลึกของ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” แชมป์สามสมัย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ทำลายสถิติเหรียญทองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จะมาเล่าให้ฟังว่า “ทำแชมป์ ต้องใช้อะไร”

1. “พรแสวง” คือ ความมุ่งมั่น ระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา นี่คือสิ่งสำคัญของนักกีฬาที่จะต้องมี พูดเหมือนจะดูง่ายนะแต่ทำยาก ในการควบคุม ตัวเอง ให้มีระเบียบวินัย มีความมุ่งมั่น การตรงต่อเวลา มีความฝัน สิ่งเหล่านี้คืออยู่ในพรแสวง

2. “พรสวรรค์” มันก็ต้องมีเหมือนกัน บางคนอาจจะมีคำถามว่า มันใช่เหรอ มันต้องมีเหรอ ผมว่ามันต้องมี เช่น ถ้าคุณจะเป็นนักกีฬากระโดดสูง ลักษณะส่วนสูง ช่วงขา น้ำหนัก จะต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬากระโดดสูง อันนี้คือพรสวรรค์ ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด ถ้าเราเลือกให้พรแสวงมันเหมาะ ให้มันเข้ากับพรสวรรค์ของตัวเรา มันก็จะไปได้ ไปได้ดีกว่าคนอื่น เพราะของเรามันครบ มีความมุ่งมั่น มีระเบียบวินัยที่ดี แล้วสรีระของเรา รูปร่างของเรามันยังเอื้ออำนวยต่อการเล่นกีฬาชนิดนั้นๆแล้ว มันก็จะไปได้ดีเลยทีเดียว

3. “การวางแผนที่ดี” ถ้าคุณเป็นที่มีการวางแผนในชีวิตที่ดีตั้งแต่เริ่มแรก ตั้งแต่เด็ก ว่าเราจะมุ่งมั่นที่จะไปทางนี้แล้ว เราต้องวางทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง ให้มันเอื้ออำนวยในเส้นทางเดินที่เราจะไป เช่น ถ้าเราวางแผนแล้วว่าเราจะเป็นนักกีฬามืออาชีพ เราก็ต้องเลือกแล้วว่าเราจะไปโรงเรียนที่มันเหมาะสม มันจะส่งเสริมให้เราไปได้ไกลเป็นนักกีฬามืออาชีพ ไม่ได้ส่งเสริมให้เราเรียนแล้วเป็นไปในแนวทางอื่น ต้องวางแผนแล้วว่าเราจะเรียนคณะไหน ที่จะซัพพอร์ทให้เราเป็นตามแผนที่เราวางไว้ เริ่มตั้งแต่ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย สำคัญที่ มหาวิทยาลัย ปลายทางซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดสุดยอด ของอาชีพคุณ ในช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี มันคือช่วงเวลาสูงสุดแล้วของนักกีฬาอาชีพ คุณก็ต้องวางแผนแล้วว่าคุณจะทำให้มันประสบความสำเร็จ ให้มันเป็นแชมป์ที่สุดยอดให้ได้ คุณจะส่งมันอย่างไร หรือให้มันจะส่งคุณอย่างไร เพื่อที่จะให้มันสามารถก้าวเดินไปต่อในความสำเร็จของอาชีพนักกีฬา ของคุณ มันคือการวางแผนเพราะไม่อย่างนั้น ถ้าคุณไม่ให้มันส่งคุณไปในชีวิตไปในเส้นทางที่คุณต้องการ คุณอาจจะสะดุดเชือกรองเท้าตัวเองก็ได้

4. “ผู้สนับสนุนที่ดี” จริงอยู่ที่เรายืนอยู่บนสองลำแข้ง ยืนอยู่บนสองขาของตัวเอง แต่ถ้าเราคัดสรร เราค้นหา คนที่มาส่งเสริมเรา เราวางแผนว่า ช่วงอายุ วัยประถม ใครจะส่งเสริมเรา มัธยมต้องเป็นใครที่จะมาส่งเสริมเรา มหาวิทยาลัยใครจะส่งเสริมเรา เพื่อก้าวไปสู่นักกีฬามืออาชีพ ถ้าเราวางแผนเป็นขั้นตอน ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะส่งเสริมให้เราดีไปได้ด้วยตัวของมันเอง และในส่วนของอาชีพก็เช่นกัน เราก็ต้องหาคนมาสนับสนุน ว่าเมื่อเราจบจากการเป็นนักกีฬาแล้ว เราแขวนนวมแล้ว เรา วางมือแล้วในการเป็นนักกีฬามืออาชีพ ชีวิตของเราก็ยังต้องดำเนินต่อไป ถ้าเราเป็นผู้ที่ ประสบความสำเร็จ เราจะส่งต่อความสำเร็จให้น้องๆรุ่นหลังเรา สามารถดำเนินต่อและประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตตัวเอง สร้างชื่อเสียงให้กับชีวิตตัวเองได้ แต่ถ้าไม้สุดท้ายเราไม่ดี บริหารจัดการชีวิตตัวเองไม่ได้ ใครเขาจะเอาคุณ เป็นแบบอย่าง ใครจะมาเชื่อคุณ แต่ถ้าคุณประสบความสำเร็จ คุณมีสิทธิ์ที่จะส่งไม้ต่อไม้นี้ ให้กับน้องๆรุ่นหลังได้ เมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยมันจะมีช่วงคาบเกี่ยว ระหว่างมหาวิทยาลัย กับนักกีฬามืออาชีพ เพราะมันจะเป็นช่วงที่ชีวิตคุณสุดยอดที่สุดแล้ว ใครจะมาดูแลคุณ โค้ชทีมชาติ เลขาธิการสมาคมไหน คุณต้องวางแผน มองให้ดีมองให้ออก

5. “ครอบครัว” ถ้าครอบครัวสนับสนุน ไปไหนไปกัน พ่อกับแม่ยอมทำทุกอย่าง แทบจะเป็นผู้จัดการส่วนตัว เป็นกำลังใจให้ เป็นแรงผลักดัน เป็นกองเชียร์ อาจจะดูว่าเป็นเรื่องง่ายๆใกล้ตัว แต่ผมว่ามันเป็นอะไรที่ใกล้ตัวและสำคัญมาก สถาบันครอบครัวเป็นอะไรที่สุดยอดแล้ว ทั้งแรงกายแรงใจ เป็นทุกๆอย่าง คุณแพ้ โค้ชอาจจะทิ้งคุณก็ได้ แต่ครอบครัวไม่ทิ้งคุณแน่นอน พ่อแม่ไม่สามารถไล่คุณออกจากการเป็นลูกได้อย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook