"บรรยากาศของโลก" แบ่งเป็นกี่ชั้น และความสำคัญของ "บรรยากาศของโลก" คืออะไร?

"บรรยากาศของโลก" แบ่งเป็นกี่ชั้น และความสำคัญของ "บรรยากาศของโลก" คืออะไร?

"บรรยากาศของโลก" แบ่งเป็นกี่ชั้น และความสำคัญของ "บรรยากาศของโลก" คืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บรรยากาศโลกเป็นก๊าซหลายชนิดซึ่งล้อมรอบโลก โดยมีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร องค์ประกอบ ด้วยสามส่วนหลักๆ คือ แก๊ส ไอน้ำ และ อนุภาค

นอกจากบรรยากาศโลกช่วยให้พวกเราหายใจได้ ยังช่วยให้พวกเราอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้โดยหลายทาง เช่น ป้องกันพวกเราจากรังสี UV ที่เป็นอันตราย ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์ ทำให้ผิวของโลกมีอุณหภูมิประมาณ 33 องศาเซลเซียส ป้องกันความแตกต่างอย่างมากระหว่างอุณหภูมิตอนกลางวันและตอนกลางคืน

istock-664350274

ความสำคัญ บรรยากาศของโลก

  • ให้แก๊สออกซิเจนแก่สิ่งมีชีวิตในโลกเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจและดำรงชีวิต
  • ช่วยปรับอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
  • ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีและอนุภาคต่าง ๆ ที่มาจากนอกโลก

การแบ่งชั้นบรรยากาศ

บรรยากาศไม่ได้แบ่งเป็นชั้นที่มองเห็นได้ แต่จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้

istock-1064199092

โทรโพสเฟียร์ (troposphere)

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 0-10 กม. อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามระดับความสูง และเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย มีปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือ ลม เมฆ พายุ หิมะ

สตราโทสเฟียร์ (stratosphere)

เป็นชั้นที่มีเสถียรภาพที่สุด มีความสูงตั้งแต่ 10-50 กม. อุณหภูมิในระดับล่างของชั้นนี้จะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กม. จากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ สูงขึ้น ชั้นนี้เป็นชั้นที่เครื่องบินจะบินเพราะไม่มีความแปรปรวนของสภาพอากาศและเครื่องบินทั้งหมดที่บินในชั้นนี้จะเป็นเครื่องบินไอพ่น บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้าไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป

มีโซสเฟียร์ (mesosphere)

เป็นช่วงบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินในช่วง 50-80 กม.อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง อาจรวมเรียกบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ สตราโทสเฟียร์ และมีโซสเฟียร์ว่า โฮโมสเฟียร์

เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)

ตั้งแต่ 80-600 กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1,727 องศา มีอากาศเบาบางมาก และมีแก๊สต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ อาจเรียกบรรยากาศในชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere)

เอกโซสเฟียร์ (exosphere)

เริ่มตั้งแต่ 600 กม.จากผิวโลกขึ้นไป บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมากจนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส ถึงแม้อุณหภูมิจะสูง แต่ก็ไม่ได้ร้อนจนเกินไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook