"กฎหมายรับน้องน่ารู้" รับไม่สร้างสรรค์มีความผิดทางอาญาดำเนินคดีได้

"กฎหมายรับน้องน่ารู้" รับไม่สร้างสรรค์มีความผิดทางอาญาดำเนินคดีได้

"กฎหมายรับน้องน่ารู้" รับไม่สร้างสรรค์มีความผิดทางอาญาดำเนินคดีได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่ามีปัญหาเรื่องการรับน้องโหด รับน้องไม่สร้างสรรค์ ออกมาให้เห็นกันในทุกๆ ปี ถึงแม้ว่าบางมหาวิทยาลัยจะมีการยกเลิกการรับน้องออกไปแล้ว แต่ก็ยังมีการแอบทำการรับน้องอยู่เรื่อยๆ จนกลายเป็นกระแสสังคมว่าเรื่องแบบนี้มันควรจะหยุดได้แล้ว

สำหรับน้องๆ นักศึกษาที่มีปัญหา เรื่องรับน้อง หรือกลัวว่าในอนาคตตัวเองจะต้องเจอกับเรื่องราวแบบนี้ Sanook Campus เราก็เลยนำการร้องเรียนเรื่องการรับน้องไม่สร้างสรรค์มาให้ น้องๆ ได้ศึกษาและเตรียมตัวรับมือกัน

การรับน้องไม่สร้างสรรค์นี้ สามารถแจ้งทาง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Call Center 1313 ได้ นอกจากนั้นก็ยังสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับรุ่นพี่ได้

การรับน้องมีโทษถึงจำคุก โดยมีความผิดทางอาญาและแบ่งลักษณะการกระทำผิดและบทลงโทษไว้ดังนี้

  • บังคับให้เข้าร่วมหรือข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309
  • บังคับให้เข้าร่วมโดยมีอาวุธ หรือร่วมกันทำ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรค 2
  • กักขัง ไม่ยอมให้รุ่นน้องออกจากกิจกรรม มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310
  • ว๊าก ตะโกน หรือข่มขู่ทำให้รุ่นน้องกลัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 392 (ความผิดละหุโทษ)
  • ทำร้ายทางร่างกาย และทางจิตใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไมเกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295
  • ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส มีโทษจำคุก 6 เดือน จนถึง 10ปี และมีโทษปรับ 10,000 จนถึง 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297
  • ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291

จากกรณีดังกล่าวข้างต้น หากอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยปล่อยปะละเลยให้มีการกระทำดังกล่าวแล้วต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook