9 วิธีที่ทำให้คุณเป็นคนไม่โกรธง่าย

9 วิธีที่ทำให้คุณเป็นคนไม่โกรธง่าย

9 วิธีที่ทำให้คุณเป็นคนไม่โกรธง่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“เมื่อมีบางคนทำให้เราอารมณ์เสีย ไม่พอใจ หรือผิดหวังบ่อยๆ สาเหตุเกิดจากอะไร? เกิดจากการที่พวกเขาไม่ได้ประพฤติตัว ตามอย่างที่เราคาดหวังว่าพวกเขาควรปฏิบัติ ซึ่งถ้าหากเรามองดูดีๆแล้วสาเหตุหลักไม่ใช่ว่าคนเหล่านั้นประพฤติตัวไม่ดี แต่เกิดจากความคาดหวังของเราเอง ซึ่งเราควรที่จะ Let it go (ปล่อยมันไป) และการทำจิตใจให้สงบ เพื่อที่เราจะได้เป็นคนที่ไม่โกรธง่าย”

พอเรารู้ถึงสาเหตุของการที่เราอารมณ์เสียแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ซึ่งทาง Y – Hub ได้มีบทความเกี่ยวกับการจัดการความทุกข์ การทำจิตใจให้สงบและการรับมือกับปัญหาในชีวิตประจำวัน ทั้งหมด 9 ข้อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

76602214_466158157583102_8827

1. เพียงแค่หยุดคิด ก็ดูสบายขึ้นเยอะ

อย่าเป็นคนที่มองโลกในแง่ลบมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีคนมาทำให้เราไม่สบายใจ อย่าแสดงออกกับพวกเขาด้วยการโจมตีหรือ การพูดในเชิงลบ ลองหยุดคิดและหายใจเข้าลึกๆ โดยการที่เราหยุดคิดหรือตัดสินเขาในแง่ลบ แล้วให้เวลากับตัวเองในการทบทวนว่าสิ่งที่เขาทำนั้นผิดจริงไหม เขาเป็นคนแบบนั้นจริงๆหรือเปล่าหรือแค่ในสถานการณ์ที่รู้สึกกดดันจึงทำให้เขาแสดงออกแบบนี้ โดยการหยุดคิดจะทำให้เรารู้สึกโกรธน้อยลง และจิตใจสงบมากขึ้น ซึ่งไม่ใช้แค่ตัวเราเท่านั้นแต่ยังหมายถึงคนอื่นๆที่กำลังรู้สึกโกรธด้วย

ซึ่งคนส่วนใหญ่นั้นต้องการเวลาและพื้นที่ส่วนตัวในการคิดทบทวน

2. เคารพในความแตกต่างของแต่ละคน

คนที่คิดแตกต่างจากเราไม่ได้เป็นคนที่ผิด ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเป็นของตัวเอง ดังนั้นเราจึงควรพยายามเรียนรู้ และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น โดยอาจจะมีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวบ้างในบางครั้ง ซึ่งในชีวิตจริงนั้นเราจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา บางครั้งเราก็รู้สึกเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับบางคน แต่เราก็ต้องพึงนึกคิดไว้เสมอว่าเราจะเป็นกลาง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือในกรณีที่เรารู้สึกว่าคิดเห็นไม่ตรงกันก็ควรพูดโต้ตอบอย่างสุภาพ ซึ่งก็จะทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกโกรธและงานนั้นก็สามารถดำเนินต่อไปได้

เมื่อกำลังรู้สึกเหมือนกับว่า กำลังโกรธ หรืออารมณ์เสีย ลองหายใจยาวๆ สูดหายใจลึกๆจะช่วยลดความตึงเครียด ลดการปะทะคารม และทำให้รู้สึกผ่อนคลายลดความกังวลลงไป และเราควรที่จะหันมาสนใจเอาใจใส่กับผู้อื่น และปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในทางที่ดี ในทุกๆสถานการณ์

3. มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ยุคสมัยแห่งความวุ่นวายในปัจจุบัน ประชาชนเริ่มมีแนวโน้มที่มีความกังวล ความกลัว ความเจ็บปวด และการไขว้เขวต่อสิ่งต่างๆรอบตัว และหากจะต้องมีการพูดคุย หรือปฏิสัมพันธ์กันบุคคลอื่นในสถานการณ์ที่ตึงเครียด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความโกรธ ความไม่พอใจ หรือขั้นปะทะกันได้ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะในความเป็นจริงแล้วเราไม่รู้เลยว่าแต่ละคนนั้นเจออะไรมาบ้างในชีวิต ให้พื้นที่ส่วนตัวเพื่อที่ว่าเขาจะได้มีเวลาคิดและไม่ไปกดดัน รวมทั้งบอกกับตัวเองว่าอย่าไปคาดหวัง ตัดสิน หรือต้องการให้คนอื่นเป็นอย่างที่เราต้องการ

4. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเมตตากรุณา

ทุกๆคนมักจะอารมณ์เสีย หรือขาดการควบคุมอารมณ์ของตัวเองในบางครั้ง ซึ่งนั่นเป็นการเตือนตัวเองว่าทุกๆคนก็เหมือนกันตรงที่ก็เคยอารมณ์เสีย ซึ่งหากต้องการที่จะให้การตัดสินใจนี้ง่ายขึ้น ก็แค่เติมคำว่า “เหมือนกับฉันในบางครั้ง” ในตอนท้ายของประโยค ยกตัวอย่างเช่น คนคนนั้นขี้บ่น เหมือนกับฉันในบางครั้ง หรือ เขาดูไม่มีความอดทนเลย เหมือนกับฉันในบางครั้ง เป็นต้น

5. อย่าไปนำคำพูด การกระทำต่างๆ หรือนิสัยของคนอื่นมาใส่ใจ

ซึ่งหากเราคิดมากเกี่ยวกับทุกๆสิ่งที่เข้ามาในชีวิตของเรา ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุข ซึ่งมันไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลยเพราะในบางครั้งเขาก็ทำเพื่อเรา และบางครั้งเขาก็ทำเพื่อตัวเขาเอง ซึ่งเราไม่สามารถที่จะไปควบคุมให้เขาคิดหรือทำในแบบที่เราต้องการได้ แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองได้ โดยการปล่อยมันไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากที่สุด โดยการที่เราไม่เอาตัวเองไปยึดติดกับนิสัยหรือการกระทำของคนอื่น

6. เรียนรู้ที่จะไม่พูดตอบโต้

พยายามอย่าไปอยู่ในสถานการณ์ที่มีการโต้เถียงโดยไม่จำเป็น เพียงเพราะแค่รู้สึกอยากจะพูด พยายามหายใจเข้า – ออกลึกๆ เพราะในความเป็นจริงความเงียบของเราในช่วงเวลาที่โกรธนั้น สามารถทำให้เราเป็นเหมือนผู้ชนะในการโต้เถียงครั้งนี้ได้เลย เพราะว่าคนที่เราโต้เถียงด้วยนั้นมักจะทำให้เรารู้สึกถึงความเสียใจ ก้าวร้าว และแสดงพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสม แต่ถ้าหากเราเงียบและไม่ตอบโต้ ก็จะทำให้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น

7. หากิจกรรมทำในยามเช้าให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

ตื่นเช้าขึ้นมาอย่าเพิ่งรีบจับโทรศัพท์หรือเช็กอีเมล เพราะว่าจะเป็นการที่พาตัวเองไปสู่ความวุ่นวายตั้งแต่ตื่นนอน ซึ่งเป็นช่วงที่เรายังไม่สามารถจัดการอารมณ์ตัวเองดี หากเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้เราเครียด ก็อาจจะทำให้เราเครียดทั้งวัน ลองให้ช่วงเวลาเช้ากับตัวเองในสถานที่ที่เงียบสงบ ก็จะพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ยกตัวอย่าง สูตรหายใจลึกๆก่อนที่จะลุกจากเตียง และลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย และทำสมาธิเป็นเวลา 10 นาที เป็นต้น

8. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองในการรับมือกับปัญหา

หากเราเผชิญกับความเครียดผู้คนส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาด้วยการเลือกทำในสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อตัวเอง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น แต่หากเราลองเปลี่ยนเป็นการไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ ชงชา กาแฟและนั่งอยู่กับตัวเองเงียบๆ ฟังเพลงที่ชอบ เขียนบันทึกประจำวันของตัวเอง หรือการพูดปัญหาของตัวเองกับเพื่อนสนิท

9. พยายามเตือนตัวเองให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

นึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่ตัวเองได้ทำ โดยนึกถึงเหตุการณ์ดีๆอย่างน้อยสามข้อที่ได้เจอ หรือทำในแต่ละวัน เช่น วันนี้ได้หัวเราะแล้ว วันนี้ได้กลับบ้านเจอคนในครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา ได้ทานอาหารเต็มอิ่ม เป็นต้น และถ้าหากมีโอกาสก็ควรที่จะแบ่งปันความรู้สึกดีๆของเราให้กับผู้อื่นด้วย โดยการคิดดี พูดจาไพเราะ และการทำดีกับผู้อื่น เพราะว่าการมีความเมตตากรุณา หรือการเป็นมิตรกับผู้อื่นนั้นจะทำให้เราและคนรอบข้างเรารู้สึกสบายใจและมีความสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook