พบรายงานระบุระดับสติปัญญาเด็กไทยต่างกับประเทศกำลังพัฒนามากถึง 6 ปี

พบรายงานระบุระดับสติปัญญาเด็กไทยต่างกับประเทศกำลังพัฒนามากถึง 6 ปี

พบรายงานระบุระดับสติปัญญาเด็กไทยต่างกับประเทศกำลังพัฒนามากถึง 6 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากเวทีเสวนาด้านการศึกษาของเอ็นคอนเส็ปท์ ทำให้พบหลากหลายสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบการศึกษา ที่เผยเทรนด์อนาคต ชี้จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสของเด็กเจเนอเรชั่น Z ท่ามกลางกระแส Disruption โดยพบว่าคะแนน Pisa ซึ่งใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กอายุ 15 ในแต่ละประเทศนั้นระบุชัดเจนถึงระบบสติปัญญาของเด็กไทยที่ล้าหลังห่างจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมากถึง 6 ปี

istock

ครองเวทีเสวนาด้านการศึกษาที่มีข้อมูล สถิติ และมุมมองที่ดีที่สุดในวงการการศึกษาไทยอีกครั้ง สำหรับเอ็นคอนเส็ปท์ โดยครั้งนี้ นายธานินทร์ เอื้ออภิธร ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์และภาพรวมของการศึกษาว่ามีการเคลื่อนไหวที่ควรตระหนักถึงใน 3 ปัจจัย ได้แก่การศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเรียนรู้ที่มากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 6 เท่า วัดจากผลการสอบ Pisa ซึ่งแสดงว่าเด็กชั้นประถม 3 ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ฟินแลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มีระดับสติปัญญาเท่ากับเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของไทย ปัจจัยต่อมาคือการแข่งขันในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไทยมีข้อเสียเปรียบทั้งทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและแรงงาน นอกจากนี้การสอบ Pisa ยังระบุว่าประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ยังมีค่าวัดระดับสติปัญญาที่สูงกว่าไทยอีกด้วย ปัจจัยสุดท้ายคือเทคโนโลยี AI ที่มีศักยภาพมากกว่ามนุษย์ถึง 30,000 เท่า ซึ่งในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามามีบทบาทกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเป็นเหตุให้เราต้องเพิ่มสติปัญญาและศักยภาพเพื่อแข่งขันกับเทคโนโลยี

istock

ทั้งนี้ นายธานินทร์เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การศึกษาของโลกในปัจจุบันกำลังถูก Disruption และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จนเกิดเทรนด์ใหม่ของการศึกษาได้แก่ Highly Actively Learn – คือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้, Highly Adaptive – ผู้เรียนปรับตัวเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ , Highly Globalized - การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และหลักสูตรในระดับประเทศ, Highly Personalized – การเลือกเรียนและปรับเปลี่ยนตามรูปแบบความสนใจของแต่ละบุคคล และสุดท้าย Highly Focused yet Flexible – การเรียนแบบโฟกัสแต่ยังยืดหยุ่น ส่วนสถานการณ์การศึกษาไทยเองก็ยังคงน่าจับตามองในด้านของความนิยมของบางกลุ่มอาชีพซึ่งทำให้โครงสร้างของการศึกษานั้นตอบโจทย์กับเด็กเฉพาะกลุ่ม ในขณะที่รูปแบบของการสอบ TCAS ก็ยังคงต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายคือความนิยมในกลุ่มผู้ปกครองยุคใหม่ที่เลือกให้ลูกเรียนในโรงเรียนอินเตอร์เนื่องจากต้องการยกระดับสิ่งแวดล้อมและระบบการศึกษาที่ดีที่สุดให้กับลูกของตน

istock

พร้อมชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของเด็กไทยอย่างชัดเจน ว่า เด็กไทยนั้นขาดประสบการณ์ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด เช่น เด็กที่อยากเรียนหมอ ก็ยังไม่รู้เลยว่าหมอคืออะไร รู้แค่ว่ามีรายได้สูง ได้รับการยอมรับ แต่เด็กไม่มีประสบการณ์จริง ๆ ว่าหมอต้องเรียนอะไร ต้องมีคุณสมบัติแบบไหน ซึ่งโลกสมัยใหม่นี้ จุดที่สำคัญสำหรับเด็กจะต้องให้เด็กมีประสบการณ์กับสิ่งที่จะทำ ซึ่งช่วงม.ต้นจะต้องเจอประสบการณ์เหล่านั้นได้แล้ว ไม่อย่างนั้นเด็กจะเสียเวลา เพราะจุดที่พัฒนาศักยภาพทางสติปัญญา หรือ IQ ที่ดีที่สุดของเด็กคือช่วงอายุ 15 ปี จุดอ่อนต่อมา คือเด็กไทยมีสิ่งที่ต้องโฟกัสมากเกินไป ทั้งเรื่องวิชาเรียนที่มีมากเกินจำเป็น และชั่วโมงเรียนจำนวนมากแต่ขาดคุณภาพ จุดอ่อนที่สาม คือเด็กไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งแวดล้อม อย่าง พ่อแม่ที่ไม่ปล่อยให้ลูกเห็นโลกตามความเป็นจริง

การมองเห็นถึงปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงได้ตั้งรับด้วยแผนงานที่มุ่งเน้นกระจายความเท่าเทียมกันทางการศึกษา และสร้างความเคลื่อนไหวในระบบการศึกษาเพื่อให้เด็กไทยได้พัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้องและก้าวตามทันยุคสมัยอย่างเหมาะสม ดังจะเห็นได้จาก 2 แผนงานที่ร่วมมือกับภาครัฐ ได้แก่ ติวฟรีดอทคอม และ Echo English ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี Edtech มาปรับใช้กับรูปแบบการศึกษาไทย และยังจะมีนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาวงการการศึกษาไทย ซึ่งจะอัพเดตและเปิดตัวให้ทราบกันในอนาคต

ด้านครูพี่กิ๊บ Oxford วลีรัตน์ หาญเมธีคุณา ได้ให้รายละเอียดถึงเจเนอเรชั่น Z ซึ่งเป็นช่วงวัยของเด็กในยุคปัจจุบัน ที่เน้นการค้นหาตัวตนและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ไม่ใช่แค่การขยันหรือทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเหมือนกับคนในเจอเนอเรชั่น X และ Y โดยเด็กในเจเนอเรชั่น Z จะเน้นค้นหาความเป็นตัวเอง (Self-searching) ซึ่งต้องควบคู่ไปกับทักษะในการรับมือกับ Disruption ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง จึงต้องมี 4C ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับตัวที่ต้องปลูกฝังในเด็กเจเนอเรชั่น Z ได้แก่ C- Competition ทักษะของการปรับตัวไปกับการแข่งขันและความไม่แน่นอนที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้นในอนาคต, C-Copy เรียนรู้และต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว, C-Challenge การทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถของตนเอง และ C-Confirm คือการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง นำไปสู่การเป็น Find Generation หรือการค้นพบความสำเร็จในรูปแบบของตัวเอง ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็น BE 1 in a million (บี วัน อิน อะ มิลเลียน) ซึ่งจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้ในศตวรรษที่ 21

istock

ทั้งนี้ การเป็น 1 ใน ล้าน อาจจะฟังดูยากและเป็นไปไม่ได้ แต่อยากให้คิดว่า ถ้าเราสามารถเป็นที่ 1 ของคน 100 คน ใน 3 ด้าน ก็จะทำให้เราสามารถเป็น 1 ในล้านได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เราทำอาหารไทยเก่งเป็นที่ 1 ของคน 100 คน และมีความสามารถในการถ่ายรูปสวยเป็นที่ 1 ของคน 100 คน ทั้งยังสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นที่ 1 ของคน 100 คน เมื่อเรามองเช่นนี้ เราก็สามารถเป็นบล็อกเกอร์ด้านอาหารที่ถ่ายทอดความรู้การทำอาหารไทยด้วยภาษาอังกฤษให้คนทั่วโลกสามารถเข้ามาชมได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความสามารถระดับ 1 ใน ล้านอย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook