นิสิต และ นักศึกษา แตกต่างกันอย่างไร แล้วใช้กับสถาบันไหน มาหาคำตอบกัน

นิสิต และ นักศึกษา แตกต่างกันอย่างไร แล้วใช้กับสถาบันไหน มาหาคำตอบกัน

นิสิต และ นักศึกษา แตกต่างกันอย่างไร แล้วใช้กับสถาบันไหน มาหาคำตอบกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายๆ คนอาจจะเคยสงสัย และใช้คำผิดกันมาบ้าง สำหรับคำว่า นิสิต และ นักศึกษา แตกต่างกันอย่างไร และรวมไปถึงแต่ละคำนั้นต้องใช้กับผู้เรียนในสถานศึกษาไหนบ้าง ถ้าใครสงสัย ในครั้งนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อนๆ กัน จะเป็นเพราะอะไร เรามาดูกันเลย

นิสิต

 istock-871980800

"นิสิต" เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยที่แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยทักษิณ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังใช้ในมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งเช่น มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นต้น โดยในสมัยก่อนมีการใช้คำว่า "นิสิต" สำหรับผู้ชาย และ "นิสิตา" สำหรับ ผู้หญิง

โดยคำว่า "นิสิต" มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัย" สืบเนื่องมาจากในช่วงที่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยถือว่าอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และก็เรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการว่านิสิตเช่นเดียวกันด้วย ซึ่งในภายหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เปิดอยู่นอกเมือง และผู้ที่มาศึกษาก็จำเป็นต้องอยู่หอพักเช่นเดียวกัน จึงได้ใช้คำว่า "นิสิต" เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า ผู้ที่มาเรียนจะไม่ได้พักในหอพักเหมือนในสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า "นิสิต" สำหรับมหาวิทยาลัยดังกล่าว

นักศึกษา

 istock-938265736

เมื่อได้มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ขึ้น เป็นแห่งที่สองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2477 ได้เรียกผู้มาเล่าเรียนว่า "นักศึกษา" เป็นมหาวิทยาลัยแรก เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป หรือ เป็นมหาวิทยาลัย "เปิด" แห่งแรกของไทย และอยู่ในเมือง ผู้มาศึกษาเล่าเรียนไม่จำเป็นต้องพักในมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในประเด็นคำว่า "นักศึกษา" นี้ ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2506-2514) ทรงเคยประทานคำอธิบายไว้ว่า มธก. ควรเรียกผู้ เข้ามาศึกษาว่า "นักศึกษา" ไม่ควรใช้ "นิสิต" เพราะคำว่า "นิสิต" ตรงกับ "undergraduate" ส่วนคำว่า "นักศึกษา" ตรงกับ "student" ซึ่งเหมาะสมกว่า ตามระเบียบของ มธก. ฉบับแรก เป็นที่น่าสังเกตว่า ใช้คำ "นิสิต" และ "นักศึกษา" ทดแทนกันไปมา จากการบอกเล่า ก่อนหน้านี้ก็มีการใช้คำว่า "นักศึกษา" อยู่ในหมู่ผู้มาเรียนที่ มธก. อยู่ก่อนแล้ว และคณะกรรมการมหาวิทยาลัยได้มีมติรับรองให้ใช้คำว่า "นักศึกษา" อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่การประชุมคณะ กรรมการมหาวิทยาลัยครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2477 เป็นต้นไป

ชั้นปีของนักศึกษา

 istock-464410900

ในประเทศไทยนักศึกษาแต่ละชั้นปีจะมีชื่อเรียกเฉพาะ[ต้องการอ้างอิง] โดยชื่อเรียกต่าง ๆ นำมาจากชื่อเรียกของชั้นปีในสหรัฐอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]

  • เฟรชแมน (freshman) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หรือในบางที่จะเรียก น้องใหม่ เพื่อนใหม่ เฟรชชี โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียกตามชื่อเช่น กีฬาเฟรชชี งานรับน้องใหม่ งานรับเพื่อนใหม่ โดยรวมจะเรียกสั้น ๆ ว่า เฟรชชี (freshy)
  • โซโฟมอร์ (sophomore) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาจากรากศัพท์ภาษากรีก "โซโฟส" (sophos) ที่แปลว่า ฉลาด และ "มอรอส" ที่แปลว่า โง่ ซึ่งกล่าวเป็นนัยว่าเป็นช่วงปีที่มีการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก
  • จูเนียร์ (junior) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 3
  • มิดเลอร์ (middler) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของบางประเทศ ที่ระดับมหาวิทยาลัยมีสอน 5 ปี
  • ซีเนียร์ (senior) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือชั้นปีสุดท้าย
  • ซูเปอร์ซีเนียร์ (super senior) หรือ ซูเปอร์ เป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาการเรียนมากกว่าปกติ (มากกว่า 4 ปีปกติ) เรียกกันอีกอย่างว่า เด็กโค่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook