เทคนิคการจดโน้ตสไตล์คนเรียนเก่งฉบับนักเรียนญี่ปุ่น

เทคนิคการจดโน้ตสไตล์คนเรียนเก่งฉบับนักเรียนญี่ปุ่น

เทคนิคการจดโน้ตสไตล์คนเรียนเก่งฉบับนักเรียนญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งแต่ประถมถึงมหาวิทยาลัย หลายๆคนใช้วิธีฟังครูหรืออาจารย์บรรยายและจดสิ่งที่เขียนบนกระดานลงสมุดใช่มั้ยคะ แต่ทราบมั้ยคะว่า “การจดโน้ตที่ถูกต้อง” นั้นเป็นอย่างไร เวลาเห็นเพื่อนร่วมห้องที่เรียนเก่ง คงคิดว่าพวกเขากลับบ้านไปคงขยันและมีความพยายามมากกว่าใครสินะ

1

แต่ถ้าได้ถามพวกเขาเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนสอบ ก็จะได้คำตอบมาง่ายๆว่า “แค่อ่านหนังสือผ่านๆแล้วทบทวน” เพราะว่าพวกเขาใช้ “เทคนิคการจดโน้ตของคนเรียนเก่ง” นี่เอง ซึ่งการจดโน้ตนั้นไม่ได้ใช้วิธีพิเศษหรือจดสิ่งอื่นนอกเหนือจากบนกระดานอะไรเลย ช่วงนี้จะเห็นหลายคนพูดถึง เทคนิคการจดโน้ตของนักเรียนโทได ถึงแม้เนื้อหาในสมุดที่จดจะเหมือนกัน แต่การจดโน้ตของคนที่ทำได้กับไม่ได้นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ลองดูภาพด้านล่างนี้นะคะ

คนที่เรียนไม่เก่งจะจดในสิ่งที่อยู่บนกระดานลงในสมุด (A)

คนที่เรียนไม่เก่งนั้น เพียงแค่จดสิ่งที่อาจารย์เขียนบนกระดานลงสมุดเท่านั้น ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องเข้าเรียนก็ทำได้ ถึงแม้เวลาเรียนจะคิดเรื่องอื่นอยู่ตลอด แต่เมื่ออาจารย์เขียนบนกระดานก็แค่ลอกลงสมุด ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไม่ได้มีการนำข้อมูลใส่สมอง นอกจากนี้ถ้ามัวแต่จดโน้ตให้สวยจะทำให้เกิดการมโนไปเองว่า “ตั้งใจเรียน”

คนที่เรียนเก่งจะ input ใส่หัวก่อนแล้วค่อยเขียนบนกระดานลงสมุดเป็น output (B)

สำหรับคนที่เรียนเก่ง จะนำสิ่งที่อาจารย์พูดมา input ใส่สมองครั้งนึงก่อน แล้วค่อยเขียนสิ่งที่อยู่บนกระดานเป็น output ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก อันดับแรกต้องใช้สมาธิตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด และเนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมตัว จำเป็นต้อง input สิ่งใหม่ๆเข้าสมองทันทีและกลั่นกรองเนื้อหาออกมา

อาจจะดูเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าฝึกทำทุกครั้งที่เรียนจะชำนาญขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีนี้จดโน้ตแล้วเพียงแค่เข้าเรียนเนื้อหาก็จะเข้าสมองได้ดีทีเดียว

ความต่างที่เห็นชัดเมื่อทบทวนเนื้อหา

สิ่งที่แตกต่างอย่างเด่นชัดกับวิธีการจดโน้ตแบบนี้คือตอนที่ทบทวนเนื้อหา คนที่เรียนไม่เก่งจะไม่ได้ทำความเข้าใจในระหว่างการเรียนจึงเป็นการทบทวนสิ่งใหม่เกือบทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามคนที่เรียนเก่งนั้นได้ทำการ input ใส่สมองไว้แล้วครั้งนึงในชั่วโมงเรียน เพียงแค่อ่านหนังสือทวนอีกครั้งหรือแก้โจทย์ก็ทำให้นึกออกแล้ว

เป็นเรื่องปกติกับการที่นึกสิ่งที่ลืมไปแล้วครั้งนึงนั้นอยู่นานกว่าสิ่งที่เคยจำไปแล้ว การที่คนสองคนนี้ใช้วิธีเรียนแบบเดียวกัน คงจะเดากันไม่ยากว่าใครจะได้คะแนนมากกว่ากัน

วิธีนี้จำเป็นสำหรับการทำงาน

ใครที่ใช้วิธีจดโน้ตแบบคนเรียนไม่เก่งจะลำบากมากช่วงก่อนสอบ เพราะจะต้องเริ่มเรียนใหม่ตั้งแต่แรก ถ้าได้ใช้เทคนิคที่กล่าวมาแล้วจะทำให้สนุกกับการเรียนมากขึ้น

นอกจากนี้วิธีนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตการทำงาน ในการทำงานจะมีการจดโน้ตในที่ประชุมอยู่บ่อยครั้ง ถ้าไม่ได้ทำความเข้าใจ เมื่อกลับมาดูโน้ตที่จดทีหลังจะไม่รู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ยิ่งถ้าเป็นนักธุรกิจที่มีข้อจำกัดด้านเวลาแล้วจะยิ่งทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของเทคนิคการจดโน้ตนี้

การเรียนแบบบรรยายของญี่ปุ่นดีแล้วเหรอ

พูดถึง “ข้อจำกัดการเรียนแบบบรรยาย” ไม่ว่าจะเป็นวิธีปัจจุบัน คนไหนเรียนได้ก็ได้ แต่คนไม่ได้ก็จะไม่ได้เลย นั่นเป็นเพราะลักษณะการบรรยายเป็นการเรียนแบบนั่งฟังอย่างเดียว คือจะทำให้มีนักเรียนที่กระตือรือร้นและเฉื่อยชาได้ นักเรียนที่ไม่เข้าใจก็จะพอใจกับการที่ลอกสิ่งที่อยู่บนกระดานลงสมุด (หรือไม่จดเลย) และนักเรียนที่ไม่ทันก็จะถูกทิ้งไว้แบบนั้น

การเรียนที่ประเทศอเมริกาจะมีอาจารย์เป็นศูนย์กลางและนักเรียนจะตั้งคำถามถกเถียงกัน ทุกคนมีส่วนร่วมแบบนี้คิดว่าน่าจะได้ผลมากกว่า แต่ตามลักษณะนิสัยคนญี่ปุ่นอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่น่าจะทำให้เป็นลักษณะที่อิสระมากขึ้น พูดง่ายๆคืออ่านหนังสือด้วยตัวเองแล้วลองแก้โจทย์ ข้อไหนไม่เข้าใจก็ถาม อย่างน้อยน่าจะได้ผลกว่าการฟังเฉยๆ วิธีนี้น่าจะเหมาะตั้งแต่มัธยมต้น

ถึงแม้ลักษณะการสอนจะให้ความรู้สึกว่า “กำลังเรียน” แต่ควรจะลองเปลี่ยนวิธีการสอนให้หลากหลายขึ้น อาจจะทำให้ลดช่องว่างระหว่างคนที่เรียนเก่งกับไม่เก่งได้ไม่มากก็น้อย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook