สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี เรียนแล้วไม่ตกงานในศตวรรษที่ 21

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี เรียนแล้วไม่ตกงานในศตวรรษที่ 21

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี เรียนแล้วไม่ตกงานในศตวรรษที่ 21
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวัสดีทุกคนครับ กลับมาพบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งนะครับ ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์มาสู่โลกของออนไลน์นั้น

ทำให้วิชาชีพหลายอาชีพมีการปรับตัวเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำเนิดของ Smart TV, Laptop รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Twitter, YouTube และ Facebook ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้สร้างอาชีพใหม่ๆขึ้นมามากมายเพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี


Robb Lifferth ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรมนุษย์แห่งบริษัทระบบคอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง Fusion-io ได้ทำการศึกษาวิจัยอัตราการจ้างงานและแนวโน้มของสาขาวิชาชีพใหม่ๆที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเขาได้พบว่า มี 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยีที่จะสามารถดำรงอยู่และมีโอกาสตกงานได้น้อย ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการสูงและเป็น 1 ในทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าครับกับ สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี เรียนแล้วไม่ตกงานในศตวรรษที่ 21

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี

สาขาอาชีพที่ 1 วิทยาการสารสนเทศ (Information Science)

วิทยาการสารสนเทศ หรือ สารสนเทศศาสตร์ หรือ สารนิเทศศาสตร์ หรือ สนเทศศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การเก็บ, การค้นคืน, การสื่อสาร สารสนเทศอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศ

บางครั้งการศึกษาด้าน วิทยาการสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับการส่งสารสนเทศไปยังผู้รับสารจะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาด้านนิเทศศาสตร์ด้วย

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี

สาขาอาชีพที่ 2 วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่ง

วิทยาการคอมพิวเตอร์ นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่ายครับ

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี

สาขาอาชีพที่ 3 วิศวกรรมซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์ (Computer Software Engineering)

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์ เป็นต้น

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้อีกทั้งยังมีการทบทวนและตรวจสอบ

ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี

สาขาอาชีพที่ 4 การบริหารจัดการด้านเครือข่าย (Network Administration)

อาชีพ บริหารจัดการเครือข่าย เป็นการดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และจัดการทรัพยากรในเครือข่ายหนึ่ง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการดูแลปริมาณของข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ให้มากจนเกินไปเพื่อนำมาตัดสินใจต่อการจัดการเครือข่าย

สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี สุดยอด 5 สาขาอาชีพด้านเทคโนโลยี

สาขาอาชีพที่ 5 วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical Engineering)

สาขาอาชีพด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เดิมเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมไฟฟ้าที่ถูกแยกออกมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างของงานทางด้านไฟฟ้ากำลัง กับงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันขอบเขตของวิศวกรรมอิเล็กโทรนิคส์ถูกขยายออกไปเป็น subfield ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์แอนะลอก, อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล, อิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภค, ระบบการฝังตัว และอิเล็กทรอนิกส์กำลัง วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังเข้าไปทำงานร่วมกับงาน implement ของ application, งานด้าน หลักการและ algorithm เกี่ยวกับฟิสิกส์ของ solid state, โทรคมนาคม, ระบบควบคุม, การประมวลผลสัญญาณ, วิศวกรรมระบบคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมเครื่องมือ,วิศวกรรมควบคุมพลังงานไฟฟ้า, หุ่นยนต์, และอื่น ๆ อีกมากมาย


บทความโดย : ต้นซุง eduzones
แปล/เรียบเรียง : Degrees That Prepare You For the 21st Century
Photo Credit: work.chron.com, rose-hulman.edu, blog.allstream.com, calstate.fullerton.edu, media.cnbc.com, gatech.edu

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook