เผย7สาระสำคัญปฏิรูปการศึกษา ขจัดความเหลื่อมล้ำ-เรียนรู้เป็นสากล

เผย7สาระสำคัญปฏิรูปการศึกษา ขจัดความเหลื่อมล้ำ-เรียนรู้เป็นสากล

เผย7สาระสำคัญปฏิรูปการศึกษา ขจัดความเหลื่อมล้ำ-เรียนรู้เป็นสากล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 3 ธันวาคม ที่รัฐสภา นายอมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แถลงถึง เนื้อหาด้านการศึกษาที่จะเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้บรรจุในรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ผ่านมากระบวนการศึกษาของชาติประสบปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึง และคุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ แม้จะมีการอุดหนุนงบประมาณปีละหลายแสนล้านบาท จึงเสนอปรับโครงสร้างเพื่อปฏิรูปการศึกษาเพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งถือเป็นความหวังของการปฏิรูปครั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญทั้ง 7 ประการดังนี้

1.การศึกษาคือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ รัฐจึงต้องกำหนดให้เป็นนโยบายระดับชาติที่มีความสำคัญสูงสุด และต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายการพัฒนาในทุกๆด้าน

2.รัฐต้องปรับเปลี่ยนและลดบทบาทจากศึกษามาเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงกำกับนโยบายแผนมาตราฐานและติดตามประเมินผล ให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วม

3.รัฐต้องส่งเสริมความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา โดยต้องรับผิดชอบผลของการเรียนการสอน ประสิทธิภาพ คุณภาพ ของการจัดการศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนนั้นๆ

4.ต้องขจัดความเหลื่อมล้ำให้โอกาสการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยรัฐต้องจัดเตรียมค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานแก่ผู้ศึกษา ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงภาคบังคับ

5.ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นสากล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความแตกต่างของสังคมแต่ละพื้นที่ ให้ประกอบอาชีพการงานได้ตลอดชีวิต

6.ต้องส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และสื่อสาธารณะ ทั้งด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ และจริยธรรม

7.นโยบายการศึกษาต้องต่อเนื่อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปราศจากการแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ใด รวมถึงฝ่ายการเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook