สธ.เผยสามารถฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าได้มากกว่า 10 คนต่อขวด ขนาด WHO ยังเห็นด้วย

สธ.เผยสามารถฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าได้มากกว่า 10 คนต่อขวด ขนาด WHO ยังเห็นด้วย

สธ.เผยสามารถฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าได้มากกว่า 10 คนต่อขวด ขนาด WHO ยังเห็นด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลกเห็นว่าการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามากกว่าจำนวนโดสที่กำหนดไว้บนฉลากข้างขวด สามารถทำได้และเกิดประโยชน์ ประสิทธิภาพไม่ลดลง เพราะให้วัคซีนมาเกินจำนวน 10 โดส ใช้เทคนิคดูดวัคซีนอย่างประณีต Low Dead Space Syringes ด้วยไซริงค์พิเศษ ได้วัคซีนครบ 0.5 ซีซีแน่นอน และฉีดได้โดยไม่เหลือวัคซีนค้างในไซริงค์

วานนี้ (20 พ.ค.) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า ศบค.ได้อนุมัติแผนการกระจายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าซึ่งเป็นวัคซีนหลัก รัฐบาลมีนโยบายให้ทั้งคนไทยและต่างชาติจะต้องได้รับการฉีดเข็มที่ 1 ร้อยละ 70 ภายในเดือนกันยายน 2564 โดยในเดือนมิถุนายนมีวัคซีนประมาณ 6.3 ล้านโดส จัดสรรให้ กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดสูงจำนวน 2.5 ล้านโดส เพื่อควบคุมการระบาดให้สงบโดยเร็ว ส่วนที่เหลือจัดสรรไปยังจังหวัดต่างๆ เน้นในพื้นที่ระบาดสูงและพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศตามแผนที่กำหนด 

สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวดบรรจุ 6.5 ซีซี และกำหนดไว้สำหรับฉีดจำนวน 10 โดส โดสละ 0.5 ซีซี จะมีปริมาณวัคซีนในขวดที่เกินมาอีกประมาณ 1.5 ซีซี จะมีวัคซีนเหลือในขวดฉีดเพิ่มได้อีก 1 – 2 คน เมื่อดูดวัคซีนอย่างประณีตด้วยเทคนิค Low Dead Space Syringes และจัดสรรไซริงค์พิเศษที่ช่วยดูดวัคซีนได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้ได้วัคซีนครบ 0.5 ซีซี อย่างแน่นอน และฉีดได้โดยไม่เหลือวัคซีนค้างในไซริงค์ ประสิทธิภาพวัคซีนจึงไม่ลดลง ทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้นถึงร้อยละ10-20  ซึ่งองค์การอนามัยโลกเห็นว่าการฉีดได้มากกว่าจำนวนโดสที่กำหนดไว้บนฉลากข้างขวด สามารถทำได้และเกิดประโยชน์

สำหรับประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนนัดหมายฉีดวัคซีนได้ทั้งทางไลน์/ แอปพลิเคชัน หมอพร้อม โรงพยาบาล/ อสม.นัดหมาย หรือการลงทะเบียน On site โดยเริ่มการฉีดวัคซีนทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน เป็นต้นไป คือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ยังไม่ได้รับวัคซีน เจ้าหน้าที่ด่านหน้าและกลุ่มอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ รวมทั้งผู้มีอาชีพ/ กิจการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน และกลุ่มพิเศษที่ต้องเร่งดำเนินการคือ บุคลากรทางการศึกษาต้องได้รับการฉีดก่อนเปิดภาคเรียน ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ประชาชนทั่วไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook