หลานขวบเศษอยู่ดีๆ ร้องไห้ ยายช็อก "งูเห่าขี้เรื้อน" เลื้อยแผ่แม่เบี้ยอยู่ใต้เปล

หลานขวบเศษอยู่ดีๆ ร้องไห้ ยายช็อก "งูเห่าขี้เรื้อน" เลื้อยแผ่แม่เบี้ยอยู่ใต้เปล

หลานขวบเศษอยู่ดีๆ ร้องไห้ ยายช็อก "งูเห่าขี้เรื้อน" เลื้อยแผ่แม่เบี้ยอยู่ใต้เปล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(26 พ.ค. 62) นายสาโรจน์ ธัญญเจริญ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันฯ อบต.ยางนอน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี รับแจ้งจาก นางวรัทยา อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 6 ต.ทุ่งคลี อ.เดิมบางนางบวช ว่าขอให้ช่วยไปจับงูเห่า จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ อปพร.และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเสมอกันกู้ภัยเขต อ.เดิมบาง ไปตรวจสอบ

ที่บ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านปูนชั้นเดียวยกพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร พบนางวรัทยา ยืนอุ้มหลานชายวัย 1 ขวบเศษและ ยายลำจวน อายุ 77 ปี เจ้าของบ้านรออยู่ข้างเปลนอนที่อยู่หน้าบ้านสูงจากพื้นปูนประมาณ 20 เซนติเมตร ก่อนจะชี้ให้ดูงูพิษที่ซ่อนตัวอยู่ใต้กระเบื้องมุงหลังคาข้างบ้าน เจ้าหน้าที่จึงลงมือจับโดยใช้อุปกรณ์การจับงูพร้อมแว่นตาป้องกันงูพ่นพิษใส่ที่เตรียมมา จากนั้นจึงลงมือค้นหาโดยยกกระเบื้องขึ้น พบงูเห่าขี้เรื้อนซึ่งมีพิษร้าย ขดตัวซ่อนอยู่ใต้แผ่นกระเบื้องจึงใช้อุปกรณ์จับทันที แต่เจ้างูพิษไม่ยอมให้จับโดยง่าย พยายามต่อสู้ชูคอแผ่แม่เบี้ยอยู่ตลอดเวลา ก่อนจะเลื้อยออกมาที่ลานหน้าบ้าน เจ้าหน้าที่พยายามจับแบบละมุนละม่อมใช้เวลาประมาณ 15 นาที เจ้างูจึงยอมเข้าไปอยู่ในกระสอบ แต่กว่าจะเข้าไปอยู่อย่างสงบได้ เล่นเอาเจ้าของบ้านผวาไปหลายรอบเนื่องจากเจ้างูเห่า ได้พุ่งออกจากกระสอบหลายรอบ

นางวรัทยา เจ้าของบ้านเล่าว่าขณะที่ตนและยายลำจวน กำลังช่วยกันเลี้ยงหลานโดยเอาหลานนอนเล่นอยู่ในเปลญวน และนั่งคุยกันอยู่หน้าบ้าน ทันใดนั้นหลานชายที่นอนอยู่ในเปล ได้ส่งเสียงร้องดังขึ้นจนตกใจ เมื่อก้มลงดูหลานที่นอนอยู่ในเปล ก็แทบช็อกเมื่อสายตาเหลือบไปเห็นเจ้างูเห่าขี้เรื้อน กำลังเลื้อยลอดใต้เปลญวนและชูคอแผ่แม่เบี้ยและแลบลิ้น ตนจึงรีบอุ้มหลานขึ้นจากเปลก่อนจะวิ่งออกมาอยู่ที่ลานหน้าบ้าน เมื่อตั้งสติได้จึงโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาช่วยจับไว้ได้ นับว่าโชคดีที่หลานส่งเสียงร้องเหมือนจะเตือนให้รู้จึงรอดจากคมเขี้ยวพิษของเจ้างูเห่าขี้เรื้อนมาได้อย่างหวุดหวิด มิเช่นนั้นตนหรือหลานอีก 2 คนซึ่งเล่นกับเพื่อนอยู่ข้างบ้านอาจถูกงูกัดได้รับอันตรายก็เป็นได้ จากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้นำเจ้างูพิษไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในป่าที่ปลอดภัยต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook