กลุ่มเพื่อชัชชาติตั้งศูนย์มอบสิ่งของช่วยเหลือชุมชนทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 9 ศูนย์ สู้วิกฤติโควิด-19

กลุ่มเพื่อชัชชาติตั้งศูนย์มอบสิ่งของช่วยเหลือชุมชนทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 9 ศูนย์ สู้วิกฤติโควิด-19

กลุ่มเพื่อชัชชาติตั้งศูนย์มอบสิ่งของช่วยเหลือชุมชนทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 9 ศูนย์ สู้วิกฤติโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจเฟซบุ๊ก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับทุนทางสังคม องค์ประกอบสำคัญของการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 พร้อมกับได้มอบสิ่งของจำเป็นช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนต่างๆ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ทุนทางสังคม (Social Capital) องค์ประกอบสำคัญของการต่อสู้กับวิกฤติโควิด

กลุ่ม #เพื่อนชัชชาติ ได้จัดตั้งศูนย์เพื่อส่งต่อสิ่งของต่างๆที่มีผู้ต้องการมอบให้กับชุมชนต่างๆใน กทม.จำนวน 9 ศูนย์ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้มอบสิ่งของให้เรานำไปมอบกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

บริษัท Gulf และ โครงการ Gulf Spark มอบข้าวกล่องวันละ 1,000 กล่อง (จนถึงวันที่ 9 กย.รวม 60 วัน) ในโครงการกัลฟ์ส่งพลังให้ชุมชนปีที่ 2 และ มอบกล่อง Gulf Care เป็นอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยโควิด จำนวน 800 กล่อง

บริษัท Syntech กลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง the Eight Thonglor JWD Group ร่วมกันบริจาค Oxygen Concentrator จำนวน 20 เครื่องให้กับ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

กลุ่มอาสาเมือง ร่วมบริจาคชุด PPE 200 ชุดสำหรับทีมภาคสนาม oximeter 50 เครื่อง เมล็ดพันธุ์ผักสำหรับเพาะปลูกในพื้นที่ส่วนกลางชุมชน ไข่ไก่ 100 แผง วัตถุดิบครัวกลาง อุปกรณ์ครัวกลาง ยาสามัญ ถุงยังชีพ 180 ชุด ยาสีฟันแปรงสีฟันและสบู่ล้างมือของเด็ก ตลอดจนข้าวกล่องที่อุดหนุนจากร้านค้าเล็กๆใกล้ย่านชุมชน 1,000 กล่อง ความร่วมมือร่วมใจกันของภาคประชาชน ทำให้ผมนึกถึงเมื่อปีที่แล้ว ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ Dr.Vivian Balakrishnan ได้พูดไว้ว่า ในการรับมือกับวิกฤติโควิด มีองค์ประกอบที่สำคัญสามส่วนคือ

  1. ระบบสาธารณสุข
  2. การบริหารจัดการภาครัฐ
  3. ทุนทางสังคม

ถ้าองค์ประกอบใดมีปัญหา โควิดจะแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนนั้นโดยไม่มีความปรานีเลย ข้อ 1 และ ข้อ 2 นั้น ภาคประชาชนคงไปทำอะไรมากไม่ได้ นอกจากตรวจสอบ แนะนำทุนทางสังคม (Social Capital) คือ เครือข่ายของประชาชน เอกชน ที่มีความผูกพันกัน ช่วยเหลือดูแลกัน มีค่านิยมร่วมกัน มีความไว้วางใจซี่งกันและกัน และร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (และของตัวเองด้วย) ในช่วงวิกฤตินี้ เราเห็นการร่วมมือกันของกลุ่มต่างๆอย่างเข้มแข็งทั้งในสนามเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์ เช่น กลุ่มเส้นด้าย กลุ่มเราต้องรอด กลุ่มแพทย์ชนบท โครงการต้องรอด Drama-Addict หมอแล็บแพนด้า นี่คือทุนทางสังคม (Social Capital) ที่มีค่า ภาครัฐควรที่จะให้ความสำคัญกับทุนทางสังคมนี้ ร่วมมือกันและเรียนรู้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหน้างานจริง จะช่วยประคองให้เราผ่านวิกฤตินี้ไปได้ครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook