ฟังเพลงคลาสสิคไม่ยากอย่างที่คิด (เหรอ?)

ฟังเพลงคลาสสิคไม่ยากอย่างที่คิด (เหรอ?)

ฟังเพลงคลาสสิคไม่ยากอย่างที่คิด (เหรอ?)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ท้องฟ้าสีเทา

ว่าด้วยเรื่องเพลงคลาสสิคกับคนธรรมดาสามัญอย่างเรามันช่างเป็นอะไรที่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่เคยได้ยินคนมากมายพูดกันมาตลอดว่า“เพลงคลาสสิคฟังยากต้องปีนบันไดฟัง”ซึ่งเราก็เห็นด้วยตามนั้นว่าฟังยากจริง ๆ

ฟังยากในที่นี้คงไม่ได้หมายความว่ารับเข้าไปในโสตประสาทไม่ได้เพราะส่วนมากเพลงคลาสสิคก็เบาสบายเปิดเพลินๆไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่หมายถึงว่าฟังแล้วไม่เข้าใจไม่รู้ว่าเขาจะสื่ออะไร ไม่รู้ที่มาที่ไป และแต่ละเพลงยาวมาก แค่ฟังให้รู้ว่าตรงนี้จบเพลงหรือยังขึ้นเพลงใหม่หรือยัง หรือแค่ขึ้นท่อนใหม่ ก็ยากแล้ว

ก่อนหน้านี้ เพลงคลาสสิคเพลงเดียวในชีวิตที่ได้ยินแล้วบอกได้ว่าชื่อเพลงอะไรก็คือเพลงโฟร์ซีซั่น (Four Seasons) ของอันโตนีโอวิวัลดี (Antonio Vivaldi) ที่อาจารย์สอนวิชาดนตรีตะวันตกวิจักษ์เปิดให้ฟังเสี้ยวหนึ่งตอนเรียนมหา’ลัย จริง ๆ อาจารย์ก็เปิดเพลงของศิลปินดังให้ฟังหลายคน ทั้ง บาค (Bach),โมสาร์ท (Mozart), บีโธเฟ่น(Beethoven), ไชคอฟสกี (Tchaikovsky) แต่ชอบเสียงไวโอลินที่สุด ก็เลยประทับใจวิวัลดีมากกว่าคนอื่น

หลังจากเรียนวิชานั้นจบก็จบไป ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับเพลงคลาสสิคอีกเลยจะมีก็แต่โฟร์ ซีซั่น นี่แหละที่เปิดฟังบ้างเวลาต้องการพักหู แต่ไม่ได้ฟังรู้เรื่องอะไรเลยฟังเอาเพลินอย่างเดียว

จนกระทั่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีโอกาสได้ไปเข้าคอร์สศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พบกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคหลายคนทำให้มีกำลังใจในการฟังเพลงคลาสสิค

อ.สุกรี เจริญสุข คณบดี ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า โดยส่วนตัวอาจารย์นั้นสอนนักศึกษาว่า คลาสสิคคือเบสิค ความเป็นคลาสสิคไม่ได้อยู่ที่ว่าใช้เครื่องดนตรีอะไรแต่อะไรก็ตามที่เป็นของดีถือว่าเป็นคลาสสิค และการฟังดนตรีคลาสสิคไม่จำเป็นต้องเข้าใจแต่ถ้าอยากเข้าใจต้องหาข้อมูลก่อนฟังหรือก่อนไปชมการแสดงซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งที่มีคนเขียนไว้อยู่แล้วไม่ยากที่จะค้นหาแต่สิ่งสำคัญคือฟังแล้วรู้สึกอย่างไร

เช่นกัน อ.ณรงค์ ปรางค์เจริญ Composer (นักแต่งเพลง) ดนตรีคลาสสิคซึ่งเป็นคนไทยเดียวที่ยึดอาชีพนักแต่งเพลงคลาสสิคที่สหรัฐอเมริกาก็ยืนยันว่า “ดนตรีเป็นยูนิเวอร์แซลฟังแล้วเหมือนถูกดึงเข้าไป โดยไม่ต้องมีเนื้อร้อง การฟังดนตรีคลาสสิคไม่มีอะไรต้องรู้เรื่องไม่มีอะไรต้องเข้าใจ ตราบใดที่เรายังมีความรู้สึก ความรู้สึกคอมมอนปกติ รัก โลภโกรธ หลง ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องเข้าใจอะไรเลยว่าเพลงจะเป็นยังไง”

ถ้าสรุปตามที่อาจารย์ทั้งสองบอกก็คือว่าการฟังเพลงไม่มีถูกมีผิดฟังแล้วรู้สึกก็พอไอ้ฟังให้รู้สึกน่ะมันไม่ยากใครรู้สึกยังไงก็เอาตามนั้นไม่ต้องรู้สึกเหมือนกันแต่ถ้าฟังแบบอยากเข้าใจก็ต้องศึกษากันสักหน่อย เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปว่าถ้าอยากเริ่มฟังเพลงคลาสสิคจะต้องศึกษาอะไรบ้างในเบื้องต้น

ภาพจากhttp://singingintune.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook