อดีตที่หายไป : ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เหลือเพียงในความทรงจำของคนไทย

อดีตที่หายไป : ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เหลือเพียงในความทรงจำของคนไทย

อดีตที่หายไป : ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เหลือเพียงในความทรงจำของคนไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนที่ฟุตบอลไทย จะมีลีกอาชีพและโครงสร้างที่เป็นอาชีพอย่างทุกวันนี้ วงการลูกหนังไทยในอดีต ล้วนแล้วแต่มีเติบโต ได้ด้วยทัวร์นาเมนต์มากมายที่ถูกจัดขึ้น

แม้ในปัจจุบัน บางรายการจะล้มหายตายจาก หยุดจัดการแข่งขันไป ด้วยเหตุผลหลากหลายปัจจัย ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

แต่คุณค่า ความทรงจำดีๆ ที่รายการฟุตบอลเหล่านี้ได้เคยสร้างไว้กับวงการฟุตบอลไทย ยังคงอยู่ในความทรงจำของใครๆหลายคน เมื่อถึงวันวานที่ฟุตบอล ฟุตซอลไทย ยังไม่ได้มีโครงสร้างอาชีพที่แข็งแรง มูลค่าการตลาดที่สูง ดั่งเช่นทุกวันนี้

Main Stand จะพาไปย้อนวันวานกับ ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลไทย ที่หายไป ? ผ่านบทความชิ้นนี้

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน (ก. ข. ค. และ ง.)
นี่คือทัวร์นาเมนต์ที่เก่าแก่ที่สุดของวงการฟุตบอลไทยรายการหนึ่ง เพราะก่อตั้งในปีเดียวกับการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลฯ โดยได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ในยุคแรกเริ่มมีการแข่งขัน 2 ระดับ ที่ถูกเรียกว่า ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย เป็นการแบ่งระดับการแข่งขัน จนในปี พ.ศ.2505 ในหลวง ร.9 ได้พระราชทานถ้วยรางวัลเพิ่มอีก 2 ใบ

kor
ทำให้มีการปรับระดับชั้นการแข่งขันเป็น 4 ระดับ ประกอบไปด้วย ถ้วย ก. ถ้วย ข. ถ้วย ค. และ ถ้วย ง. ทุกทีมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ต้องเริ่มจาก ถ้วย ง.

กระทั่งในปี พ.ศ.2539 ได้เกิดการแข่งขันฟุตบอลระบบลีกอาชีพ (ไทยลีก) ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ก. ถูกปรับมาแข่งในรูปแบบแข่งนัดเดียว ที่จะนำเอาทีมแชมป์ไทยลีกมาพบกับทีมแชมป์ไทยเอฟเอคัพ ที่แข่งกันแบบนัดเดียวรู้ผล เหมือนกับฟุตบอล คอมมูนิตี ซิลด์ ประเทศอังกฤษ

ส่วนประเภท ข. ค. และ ง. ก็ยังถูกจัดการแข่งขันตามปกติ โดยเป็นการแข่งขันของทีมระดับสมัครเล่น  จากนั้นในปี พ.ศ.2550 การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ข. ค. และ ง. เป็นการแข่งขันของทีมสมัครเล่นอย่างเต็มตัว

โดยใช้เป็นทัวร์นาเมนต์ที่คัดเลือกสโมสรฟุตบอลที่จะก้าวมาเล่นในฟุตบอลลีกอาชีพ ที่ทุกทีมจะต้องเริ่มต้นในระดับ ถ้วย ง. ไต่ระดับมาถึง ถ้วย ข. ก่อนจะก้าวสู่ระดับอาชีพ

สุดท้ายในปี พ.ศ.2559 สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันโดยรวมการแข่งขันฟุตบอลลีกสมัครเล่นเข้าด้วยกันทั้งหมด

ภายใต้ชื่อว่า “ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก” หรือ TA สำหรับการคัดเลือกสโมสรฟุตบอลที่จะก้าวมาเล่นลีกอาชีพ นั้นก็ทำให้ การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ค. และ ง. ไม่ได้จัดการแข่งขันขึ้นจนถึงปัจจุบัน

ส่วนถ้วยพระราชทาน ประเภท ก. ถูกจัดการแข่งขันครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2559 โดยสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถูกจารึกชื่อว่าคือแชมป์ทีมสุดท้าย หลังจากเอาชนะ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 3-1 ก่อนที่การแข่งขันจะถูกปรับเปลี่ยนมาเป็น ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนคัพ จนถึงปัจจุบัน

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ
อีกหนึ่งทัวร์นาเมนต์ที่หายหน้าหายตาไปนาน สำหรับฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ ที่ว่างเว้นจากการจัดการแข่งขันไปนานเกือบสิบปี หลังจากครั้งสุดท้ายที่มีการแข่งขันก็ในปี พ.ศ.2553 โดยมีสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี เป็นเจ้าภาพ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ซึ่งเป็นการจัดขึ้นของภาคีสโมสร ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลฯ โดยได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อมอบให้กับทีมชนะเลิศในแต่ละปี

sssss
นอกจากสโมสรในเมืองไทยแล้ว ศึกชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ ยังมีการเชิญทีมจากต่างประเทศเข้ามาร่วมทำการแข่งขันอีกด้วย โดยจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปี เว้นแต่ในปีที่สโมสรภาคี ที่รับหน้าเสื่อไม่พร้อม และไม่มีสโมสรไหนรับเป็นเจ้าภาพแทน ก็จะเลื่อนไปในปีถัดไป

ในอดีตฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ จะจัดขึ้นก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ก. ถือเป็นทัวร์นาเมนต์เตรียมความพร้อมสำหรับทีมต่างๆ  จนมาถึงยุคฟุตบอลลีกอาชีพ ก็จะใช้ช่วงเวลาปิดฤดูกาล

กระทั่งในช่วงระยะหลังๆ การแข่งขันฟุตบอลลีก มีโปรแกรมหนาแน่นขึ้น รวมถึงทัวร์นาเมนต์ทีมชาติเข้ามาตลอดในช่วงปลายปี ที่สำคัญระยะหลังๆแทบไม่มีสโมสรภาคีไหนกล้าเสนอตัวเข้ามาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ด้วยปัจจัยหลายๆด้าน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขัน

แม้ว่าเมื่อปี พ.ศ.2560 ชลบุรี เอฟซี มีแผนที่จะอาสารับหน้าเสื่อจัดการแข่งขัน แต่สุดท้ายก็ล้มแผนไป ทำให้ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ ครั้งที่ 35 ยังคงถูกเลื่อนมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลาเข้าสู่ปีที่ 9 แล้ว

ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ
ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่โด่งดังแบบสุดๆเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ไม่มีคอลูกหนังบ้านเราคนไหนไม่รู้จักฟุตบอล ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ หรือแม้แต่ปัจจุบันเวลาที่มีการพูดถึงเรื่องราวของฟุตบอลไทยในอดีตก็มักจะมีฟุตบอลรายการนี้เข้ามาในวงเสวนาด้วยเสมอ

ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลไทย เมื่อการแข่งขันถูกกระจายออกไปจัดการแข่งขันตามภูมิภาคต่างๆ ไม่ได้กระจุกอยู่ในเขตเมืองหลวงเหมือนก่อน

27067224_2116824485002236_424
ที่สำคัญการแข่งขันในรอบสุดท้ายมีการถ่ายทอดสดไปสู่สายตาแฟนบอลทั่วทั้งประเทศ จนทำให้เกิดเป็นกระแสนิยมของผู้คนในจังหวัดให้ตื่นตัวกับฟุตบอลบ้านเกิดตัวเอง ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงด้านเศรษฐกิจ และสังคม ในจังหวัดนั้นๆอีกด้วย จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของ “ท้องถิ่นนิยม” อย่างแท้จริง

จุดเริ่มต้นของฟุตบอลรายการนี้ก็มาจากการจับมือกันของ 2 สื่อยักษ์ใหญ่ของประเทศอย่าง โทรทัศน์ช่อง 7 สี และ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของคนต่างจังหวัด ที่ให้การสนับสนุนทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวให้เกิดขึ้น

ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะได้ ยามาฮ่า จะเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ” แต่ทั้งสองสื่อยักษ์ก็ยังสนับสนุนพร้อมกับโปรโมทฟุตบอลรายการนี้อย่างเต็มที่

ความคึกคักของการแข่งขันก็เริ่มต้นตั้งแต่รอบภูมิภาค ที่มีแฟนบอลให้ความสนใจเข้าชมเกมจำนวนมาก ยิ่งหากเป็นทีมเจ้าภาพลงแข่งขันคนดูล้นสนามตลอด หากไม่อยากยืนเกาะรั้วดูก็ต้องมาก่อนเตะเป็นชั่วโมง ยิ่งเป็นการแข่งขันในรอบสุดท้ายทวีคูณความเร้าใจเพิ่มไปอีก

หลายทีมที่ผ่านมาเล่นในรอบสุดท้ายก็มีแฟนบอลติดตามมาเชียร์ถึงเมืองกรุง อย่างที่ จังหวัดสตูล เคยสร้างปรากฏการณ์เอาไว้ในการแข่งขันครั้งที่ 4 (พ.ศ.2531) แม้ว่าจะได้เพียงแค่รองแชมป์

แต่เกมนัดชิงชนะเลิศ มีแฟนบอลชาวสตูลเดินทางมาจากบ้านเกิดมากกว่า 2 พันคน หรือจะเป็นนัดชิงชนะเลิศที่โยกมาจัดที่สนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ระหว่าง จังหวัดเชียงใหม่ กับ จังหวัดนครสวรรค์ มีแฟนบอลเข้ามาจนเต็มความจุของสนาม

หลังจากเป็นทัวรนาเมนต์อันดับหนึ่งที่ครองใจแฟนบอลไทยมานานมากกว่า 10 ปี กระแสนิยมก็เริ่มลดลง ด้วยปัจจัยหลายๆด้าน ทั้งจำนวนทีมที่เพิ่มขึ้นจากเดิม และการถอนตัวจากช่อง 7 สีที่สนับสนุนเรื่องการถ่ายทอดสด

รวมไปถึงในช่วงเวลานั้นมีฟุตบอลรายการต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ “ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ” ปิดตัวลงไปในที่สุด โดยการแข่งขันปีสุดท้ายก็คือ ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2542)

ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ก่อนที่ฟุตบอลไทยลีก จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2539 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีการทดลองจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เห็นจะมีก็แต่ ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ที่ดูเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด

53762098_10214042254196341_18
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก เริ่มต้นจัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2534 ที่ปีแรกทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ทีม ประกอบไปด้วย ทหารอากาศ, ธ.กสิกรไทย, ตำรวจ, ทหารบก, การท่าเรือ และ ราชประชา โดยใช้สนามศุภชลาศัยและสนามธูปะเตมีย์ เป็นสังเวียนฟาดแข้ง ทำการแข่งขันแบบพบกันหมด 2นัด

นัดเปิดสนามระหว่าง ทหารอากาศ ที่มี “เดอะตุ๊ก” ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน พบกับ ธ.กสิกรไทย ในวันที่ 20 มิ.ย.2534 มีคนเข้าชมเกมการแข่งขันราวๆ 2 หมื่นคน เก็บค่าบัตรผ่านประตูได้ทะลุ 4 แสนบาท (บัตรราคา 20 บาท)  

ขณะที่เกมสัปดาห์อื่นๆก็มีผู้ชมราวๆ 4-5 พันคน เก็บค่าบัตรผ่านประตูได้หลักแสนในแต่ละสัปดาห์ โดยเป็น การท่าเรือ ที่คว้าแชมป์ไปครองในปีดังกล่าว พร้อมกับรับเงินรางวัลสูงถึง 2 ล้านบาท ที่ถือเป็นปรากฏการณ์ของวงการฟุตบอลไทยในเวลานั้น

เซมิโปรลีก จัดการแข่งขันได้เพียงไม่กี่ปี ก็ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากจำนวนทีมมีน้อยและส่วนใหญ่ก็เป็นหน้าเดิมๆ รวมไปถึงฝ่ายจัดการแข่งขันเริ่มขาดทุนจากจำนวนผู้ชมที่ลดลงในปีต่อมา

ฟุตบอลเยาวชนบอลพานาโซนิค
อีกหนึ่งรายการที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับ ฟุตบอล เซมิโปรลีก ก็คือ “ฟุตบอลเยาวชนควีนส์คัพ พานาโซนิค” ที่เป็นเวทีแจ้งเกิดของนักเตะเยาวชน จะเรียกว่านี่คือฟุตบอลระดับเยาวชนที่โด่งดังมาในอดีต ที่ใช้เวลาในช่วงปิดเทอม

48375168_345215152928626_6925
การแข่งขันครั้งแรกเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2535 โดยทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันก็คือสโมสรต่างๆในเมืองไทย บางทีมก็ใช้นักเตะเยาวชนของสโมสร หรือทีมไหนที่ไม่มีนักเตะเยาวชนก็จะไปผูกกับโรงเรียนต่างๆ เข้ามาเล่นให้กับทีม โดยในช่วงแรกก็เป็นทีมในเขตเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะเริ่มมีทีมจากต่างจังหวัดเข้ามาร่วมในระยะหลังๆ

นักเตะเยาวชนหลายคนที่โชว์ฟอร์มดีในทัวร์นาเมนต์นี้ก็จะได้รับการทาบทามจากสโมสรชั้นนำในเมืองไทยให้เข้าไปร่วมทีมในเวลาต่อมา รวมไปถึงทีมงานสตาฟโค้ชทีมชาติไทยก็จะมาซุ้มดูฟอร์มในรายการนี้ด้วย

“ฟุตบอลเยาวชนควีนส์คัพ พานาโซนิค” จัดการแข่งขันยาวนานเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะหยุดทำการแข่งขันไป เนื่องจากสปอนเซอร์หลักอย่าง “พานาโซนิค” ได้ถอนตัวจากผู้สนับสนุน อีกทั้งในระยะหลังๆ มีฟุตบอลระดับเยาวชนเพิ่มมากขึ้น นับได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งทัวร์นาเมนต์ในความทรงจำของใคร หลายๆคน

ชัยพงษ์คัพ
“ชัยพงษ์คัพ” อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูแฟนบอลในยุคนี้สักเท่าไหร่ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ20 ปีที่แล้ว ถือเป็นทัวร์นาเมนต์ดังระดับประเทศ ที่รู้จักกันในนาม “ฟุตบอลชิงถ้วยเปเล่”

54408473_10214041343493574_76
นี่คือฟุตบอลที่มีจุดเริ่มต้นมาจากรายการเล็กๆในจังหวัดพิจิตร ที่จัดโดย วิเชียร เธียรชัยพงษ์ นักการเมืองท้องถิ่น ที่ชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างมาก จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2534 โดยใช้ชื่อว่า “ชัญพงษ์คัพ” ที่ช่วงแรกก็มีแต่ทีมในจังหวัดพิจิตร เข้าร่วมการแข่งขัน และใช้เกณฑ์กำหนดความสูงในเรื่องคุณสมบัตของนักกีฬา ก่อนจะมีการปรับมาเป็นกำหนดอายุในการแข่งขันครั้งที่ 5

จากรายการเล็กๆที่จัดขึ้นแบบเงียบๆ ก็กลายเป็นที่สนใจทันที เมื่อ ฝ่ายจัดการแข่งขันได้รับถ้วยรางวัลจาก “เปเล่” ที่ส่งมาให้ฝ่ายจัดการแข่งขันสำหรับมอบให้ทีมชนะเลิศในแต่ละปี ซึ่งกว่าที่จะได้ถ้วยรางวัลนี้มา ก็ต้องทำเรื่องนานหลายปี โดยเฉพาะการประสานผ่านทางกระทรวงต่างประเทศไปยัง ราชาลูกหนังโลก

เมื่อได้ ถ้วย เปเล่ มาเป็นรางวัล การแข่งขันก็คึกคักขึ้น ได้มีการเชิญทีมชั้นนำในประเทศมาร่วมชิงชัย โดยเฉพาะปี 2540 ที่กรุงเทพคริสเตียนฯ มาคว้าแชมป์และมีการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ ทำให้รางการนี้เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง จนการแข่งขันในระยะหลังๆ มีทีมจากจังหวัดต่างๆพาเหรดเข้าร่วมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการเชิญทีมจากต่างประเทศมาร่วมการแข่งขันทั้งจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ยิ่งทำให้การแข่งขันเร้าใจมากยิ่งขึ้น

กระทั่งในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายสังเวียนแข้งมาจัดในเมืองกรุง ก็ทำให้ขาดมนต์เสน่ห์ไป ก่อนที่จะต้องล้มเลิกการแข่งขันไปหลังจากจัดครั้งสุดท้ายในปี 2551 สาเหตุหลักก็คือฝ่ายจัดการไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการแข่งขันได้ ทำให้ทัวร์นาเมนต์นี้เป็นอีกหนึ่งตำนานของฟุตบอลระดับเยาวชนเมืองไทย

โปรวินเชียลลีก
ในช่วงที่ฟุตบอล “ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ” ปิดตัวลงไปนั้น ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการก่อตั้งฟุตบอลโปรวินเชียลลีกขึ้นมา ที่ยังคงเป็นทีมตัวแทนจังหวัดต่างๆที่ทำการคัดเอาหัวกะทิเข้ามาแข่งขันในรอบสุดท้าย โดยใช้ระบบลีกในการจัดการแข่งขัน

pro_2007-004
โปรวินเชียลลีก เป็นรายการฟุตบอลนำร่องของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลในเวลานั้น ที่ช่วยสนับสนุนเรื่องงบประมาณในการจัดการแข่งขัน ที่เหมือนเป็นการทดลองระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพไปในตัว ทำให้การแข่งขันในแต่ละปี มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ทั้งรูปแบบการแข่งขันและจำนวนทีม

ในปี พ.ศ.2546 (ครั้งที่ 4) การกีฬาแห่งประเทศไทยยื่นมือเข้ามารับหน้าที่ดูแลต่อ พร้อมกับมอบหมายให้แต่ละจังหวัดทำการตั้งชื่อทีมให้มีความทันสมัย ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันของฟุตบอลรายการนี้ ที่ทุกทีมจะมีชื่อต่อท้าย เช่น เชียงใหม่ คาร์ลิเบอร์, ศรีสะเกษ สตีลร็อค, นครปฐม ฮันเตอร์, อุดรธานี ใจแอนท์และ สงขลา เลเกอร์ส รวมไปถึงให้แต่ละทีมตั้งโลโก้ของทีมขึ้นมาด้วย

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มดิวิชั่นของการแข่งขันขึ้นมาในปี พ.ศ.2547 ให้เหมือนกับฟุตบอลลีกในต่างประเทศ ด้วยการตั้งฟุตบอล โปรลีก 2 ขึ้นมา เพื่อกำหนดทีมเลื่อนชั้นตกชั้น

โปรวินเซียลลีก อาจจะดูไม่คึกคักเหมือนกับ “ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ” เนื่องจากไม่ค่อยมีนักเตะที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดแฟนบอล ส่วนหนึ่งก็เพราะถูกทีมจากไทยลีก มาดึงตัวไปเกือบหมด กระทั่งในปี พ.ศ.2549 ชลบุรี และ สุพรรณบุรี ถูกโยกไปเล่นในฟุตบอลไทยลีก ถือเป็นสองทีมนำร่อง ที่เริ่มมีการรวมลีกระหว่าง ไทยลีก และ โปรวินเซียนลีก

ปี พ.ศ.2551 เป็นฤดูกาลสุดท้ายที่มีการแข่งขันโปรวินเซียนลีก เมื่อสมาคมฟุตบอลฯ ได้ทำการปรับโครงสร้างการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพในประเทศ ด้วยการรวมฟุตบอลโปรวินเซียนลีกรวมกับฟุตบอลลีกอาชีพของสมาคม พร้อมกับตั้งฟุตบอลลีกภูมิภาค (ลีกระดับ 3) ขึ้นมาโดยเปิดรับทีมตัวแทนจังหวัดต่างๆเข้ามาร่วมการแข่งขัน ถือเป็นปีที่มีการก่อตั้งทีมเกิดขึ้นมากมาย และเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลไทย

ไทคัพ
นี่คือทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่จัดกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย พร้อมกับมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุดรายการหนึ่ง สำหรับการแข่งขันฟุตบอลท้องถิ่น “ไทคัพ” รายการที่เข้าถึงผู้คนระดับรากหญ้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

53794429_10214042270716754_17
จุดเริ่มต้นของรายการนี้ก็คือการจับมือกันของ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัดและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่จัดฟุตบอลระดับท้องถิ่นขึ้นมา โดยให้ทุกตำบลมีส่วนรวมกับการแข่งขัน ที่ใช้ระยะเวลาการแข่งขันนานเกือบปีในแต่ละครั้ง โดยเริ่มจากการแข่งขันระดับอำเภอ, ระดับจังหวัด, ระดับเขต จนไปถึงระดับประเทศที่ คัดเอาทีมฟุตบอลระดับตำบลที่ดีที่สุดของแต่ละภูมิภาคเข้ามาชิงชัยในรอบสุดท้าย

การเข้าถึงกลุ่มคนระดับรากหญ้าก็ทำให้ “ไทคัพ” เป็นทัวร์นาเมนต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ต่างจากงานบุญประจำปีของแต่ละพื้นที่ โดยมีกีฬาเป็นกิจกรรมหลัก ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จด้านฟุตบอลก็มีกีฬาชนิดอื่นๆตามมาด้วย

ไม่ว่าจะเป็น เซปักตะกร้อ, วอลเลย์บอล, เปตอง, กีฑา, กีฬาพื้นบ้าน รวมไปถึงการประกวดกองเชียร์ที่สร้างสีสันให้กับการแข่งขัน ว่ากันว่าในแต่ละปีมีนักกีฬาเข้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 2แสนคน

โดยการแข่งขันครั้งที่ 14 ในปี พ.ศ.2558 ถือเป็นปีสุดท้ายที่มีการแข่งขัน ก่อนที่จะว่างเว้นมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นทัวร์นาเมนต์ที่ใครหลายคนอาจให้ปัดฝุ่นจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ควิก จูเนียร์ ฟุตซอลแชมเปี้ยนชิพ
มากันศึกลูกหนังโต๊ะเล็กกันบ้าง นี่คือทัวร์นาเมนต์ฟุตซอลที่โด่งดังที่สุดของเมืองไทย แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันในระดับเยาวชน ที่ถือเป็นเวทีแจ้งเกิดนักฟุตซอลหลายคนให้ก้าวไปสู่ทำเนียบทีมชาติ สำหรับ “ควิก จูเนียร์ ฟุตซอลแชมเปี้ยนชิพ”

53255427_10214042256276393_63
ในปี 2000 ทีมชาติไทยผ่านเข้าไปเล่นฟุตซอลชิงแชมป์โลกได้เป็นครั้งแรก นั้นก็ทำให้วงการลูกหนังโต๊ะเล็กบ้านเราตื่นตัวขึ้น และปีดังกล่าวก็เกิดทัวร์นาเมนต์ฟุตซอลระดับมัธยมศึกษา ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยมอบหมายให้ บริษัทสยามสปอร์ต ดูแลเรื่องการจัดการแข่งขัน ที่ได้ ผลิตภัณฑ์บะหมื่กึ่งสำเร็จรูป “ควิก” เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก

การแข่งขันก็เริ่มจากการคัดหาตัวแทนจากภาคต่างๆสำหรับการเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายที่มีทีมโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วย โดยในรอบสุดท้ายก็จัดขึ้นที่ ที่ได้รับความสนใจจากแฟนฟุตซอลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในรอบสุดท้ายมีการถ่ายทอดสดทางช่อง 7 สีให้ได้ชมกันอีกด้วย

402829_493565433989406_992769
หลังจาก “ควิก” ถอนตัวจากผู้สนับสนุนหลัก ก็ได้  "เจ.เพรส" เข้ามารับช่วงต่อก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เจ.เพรส จูเนียร์ ฟุตซอลแชมเปี้ยนชิพ”

จนถึงปี พ.ศ.2555 ที่เป็นครั้งสุดท้ายที่จัดการแข่งขันขึ้น หลังจาก “เจ.เพรส” ได้ถอนตัวจากการเป็นสปอนเซอร์หลัก และไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ยื่นมือเข้ามาสนับสนุนต่อ ทำให้การแข่งขันฟุตซอลรายการที่โด่งดังที่สุดของเมืองไทยต้องหยุดจัดการแข่งขันไปจนถึงปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook