ก่อนมี "กฎอเวย์โกล" : ฟุตบอลยุคก่อนถ้าเสมอกัน...หาผู้ชนะอย่างไร?

ก่อนมี "กฎอเวย์โกล" : ฟุตบอลยุคก่อนถ้าเสมอกัน...หาผู้ชนะอย่างไร?

ก่อนมี "กฎอเวย์โกล" : ฟุตบอลยุคก่อนถ้าเสมอกัน...หาผู้ชนะอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จุดโทษท้ายเกมของ มาร์คัส แรชฟอร์ด กลายเป็นประตูตัดสินหาผู้เข้ารอบที่ ปาร์ค เดอ แพร็งส์ สำหรับศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย ทำให้ ปีศาจเเดง เป็นฝ่ายที่ได้ยิ้มร่าทั้งๆ ที่สกอร์รวม 2 นัด เสมอกัน 3-3 และเป็นผ่านเข้ารอบไปด้วยกฎที่เรียกว่า "กฎอเวย์โกล" หรือ "กฎประตูทีมเยือน"

กฎที่ว่านี้มีไว้เพื่อตัดสินในเกมที่สกอร์รวม 2 เลกเสมอกัน โดยการวัดกันว่าทีมไหนยิงประตูในเกมที่ลงเล่นเป็นทีมเยือนมากกว่าทีมนั้นจะกลายเป็นฝ่ายเข้ารอบไป ซึ่งดูจะเป็นทางออกที่ไม่ค่อยมีปัญหาและถกเถียงกันมากนักตลอดระยะเวลาที่เริ่มใช้กฎนี้ขึ้นมา  

อย่างไรก็ตามกว่าจะหากฎที่ลงตัวแบบนี้ได้ รู้หรือไม่ว่าฟุตบอลยุคเก่าใช้วิธีไหนตัดสินหาผู้ชนะในกรณีที่เเข่งกันอย่างไรก็หาข้อยุติไม่ได้เสียที … นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 50 กว่าปีที่เเล้วโดยมี "ลิเวอร์พูล" เป็นตัวละครเอกของเรื่อง  

ร่วมหาคำตอบในอดีตสำหรับกฎอเวย์โกลร่วมกับ Main Stand ได้ที่นี่

ทำไมต้องมีอเวย์โกล
ย้อนกลับไปในโลกฟุตบอลเมื่อ 50 กว่าปีที่เเล้วการขาดมาตรฐานในหลายๆ ด้านของยุคนั้นทำให้กฎ อเวย์โกล ได้กำหนดคลอดออกมา เนื่องจากยุคก่อนๆหน้านั้นหากเสมอกัน 2 เลก จะต้องมีการเลือกสนามกลางและลงเตะกันใหม่ในแมตช์ที่ 3 ... ทว่าหากลงเล่นเลกที่ 3 ก็แล้วแต่ยังหาผู้ชนะไม่ได้ล่ะจะทำอย่างไร  

แม้ประวัติศาสตร์ในการดวลจุดโทษนั้นอาจจะมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ยุค '50 แล้ว แต่ไม่ได้เป็นที่รับรองของ ยูฟ่า และ ฟีฟ่า แต่อย่างใด การดวลจุดโทษที่ถูกบันทึกไว้ในยุคนั้นคือเกมฟุตบอลมในประเทศยุโรปอย่างรายการ ยูโกสลาเวียคัพปี 1952 และ โคปปาอิตาเลียจากปี 1958–59 เป็นต้น หลังจากนั้นจึงค่อยมาเริ่มใช้ใน โอลิมปิก เกมส์ ปี 1968 และที่สุดเเล้วก็มีการยิงจุดโทษครั้งแรกอย่างเป็นทางการในทัวร์นาเม้นต์ระดับเมเจอร์ คือศึก ยูโรเปี้ยน คัพ ปี 1970

000_719tb
ดังนั้นในช่วงปี 1960 ทางยูฟ่าจึงต้องร่วมหาทางออกและสร้างกฎที่เรียกว่า "กฎอเวย์โกล”

ตัดภาพของฟุตบอลสมัยใหม่ในหัวของคุณออกไปเสียให้หมด ไม่มีทางเสียหรอกที่ทุกสโมสรในโลกจะมีสนามฟุตบอลในสภาพที่ยอดเยี่ยม หญ้าเขียวชะอุ่ม คุณภาพระดับสากล ไม่มีทีมไหนมาเล่นตามรูปแบบสบายๆ เหมือนในทุกวันนี้ได้ในทุกๆ เกมเยือนอย่างแน่นอน  

000_1dd5ip
ดังนั้นการได้เล่นเป็นเจ้าบ้านต้องถือว่าได้เปรียบหลายด้านยิ่งกว่าทุกวันนี้แน่นอน เพราะคุ้นกับสภาพสนาม สภาพเเวดล้อมโดยรวม เสียงเชียร์จากแฟนบอล และที่สำคัญที่สุดมาตรฐานของกรรมการที่ไม่เถรตรงจนกลายเป็น "นกหวีดหวาน" ให้กับเจ้าบ้านได้ง่ายๆ ด้วยเหตุผลหลายอย่างทั้งแฟนบอลกดดันเป่าผิดหูผิดตาเมื่อไรมีโอกาสที่จะออกจากสนามไม่ได้ อีกทั้งเรื่องทุจริตของฟุตบอลในอดีตที่มากกว่าทุกวันนี้เยอะ

ทั้งนี้อาจจะรวมถึงปัจจัยของฝั่งทีมเยือนเองด้วยที่นอกจากจะเจอกับสภาพที่ไม่คุ้นเคยเเล้ว แฟนๆ ของพวกเขายังตามไปเชียร์ได้ไม่มากนักด้วยปัญหาทางการคมนาคม ที่สำคัญคือเหล่านักเตะและสต๊าฟที่ลงสนามอาจจะต้องพบกับการเดินทางที่ยากลำบากและกินเวลานานจนอาจจะมีความเหนื่อยล้าจนส่งผลถึงฟอร์มในสนาม ดังนั้นยูฟ่า จึงตัดสินใจให้ประตูทีมเยือนเป็นสิ่งที่มีค่ากว่าประตูปกติ แม้จะเล็กน้อยก็ตาม อีกทั้งจะเป็นการง่ายอีกด้วยเพราะเมื่อสกอร์รวม 2 เลกเสมอกัน ก็แค่ดูว่าทีมไหนยิงประตูทีมเยือนได้มากกว่าเท่านั้น นอกจากนั้นวิถีคิดอเวย์โกลนี้จะทำให้ลดปัญหาเรื่องเงินทุนในการจัดเเข่งเกมที่ 3 เหมือนกับอดีต

liverpool_inter_1965_hulton_a
แต่...ก่อนหน้านั้นตัดสินกันอย่างไร?
มีการบันทึกไว้ว่าเกมแรกที่เริ่มใช้กฎอเวย์โกลนัดแรกคือการแข่งขัน "ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์ส คัพ" ในฤดูกาล 1965-66  เกมคู่ระหว่าง ฮอนเว็ด เจอกับ ดูกล่า ปราค ที่เสมอกันไป 4-4 และหากย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นล่ะ ตัดสินกันอย่างไร?

ไม่น่าเชื่อว่าทางออกสำหรับการหาผู้ชนะของการแข่งขันระดับทวีปจะใช้วิธีที่แสนคลาสสิก นั่นคือการจบปัญหาง่ายๆ ด้วยการ "โยนหัว-ก้อย" และ "การจับฉลาก"  ใช่เเล้วคุณอ่านไม่ผิดหรอก การโยนเหรียญนี่แหละคือวิธีที่ฮิตที่สุดในฟุตบอลยุค '60

000_1eb1c4
มีเหตุการณ์ยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจน และเกิดขึ้นกับทีมใหญ่แห่งยุคนั้นอย่าง ลิเวอร์พูล อีกด้วย มันเป็นการแข่งขัน ยูโรเปียน คัพ ฤดูกาล 1964-65 ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายที่ หงส์เเดง เจอกับ เอฟซี โคโลญจน์ ตัวแทนจากเยอรมัน  

เกมเลกแรกเล่นกันก่อนที่แอนฟิลด์ และเสมอกันไป 0-0 ขณะที่เกมที่ 2 ก็ที่เยอรมันก็ยังทำอะไรกันไม่ได้ จบ 0-0 ไปอีก 1 เกม จึงทำให้เล่นนัดพิเศษอีก 1 นัดโดยเลือกสนามกลางอย่าง เฟเยนูร์ด สเตเดียม เพื่อหาผู้ชนะในซีรี่ส์อันยาวนานนี้
sssd

ทว่าสกอร์ยังอุตส่าห์จบที่ 2-2 เท่ากับว่า เท่ากับว่าซัดกันมา 270 นาทีเต็มๆ แต่ยังหาผู้ชนะไม่ได้ ดังนั้นเมื่อลองวิธียากๆอย่างการเตะเหย้า-เยือน และ เตะสนามกลาง ไม่ได้ผล ยูฟ่า จึงมาแนวหมดมุกและใช้การโยนหัวก้อยตัดสินให้จบๆกันไปง่ายๆ แบบนั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้ทำเอานักข่าวสาย ลิเวอร์พูล อย่าง โฮเรซ เยสต์ ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งที่สุดที่เขาเคยเห็นในโลกฟุตบอลเลยทีเดียว

มาถึงช่วงเวลาแห่งการตัดสินด้วยเหรียญ … รอน เยตส์ กัปตันทีมลิเวอร์พูลเลือก "ก้อย" ก่อน ขณะที่ โวล์ฟกัง โอเวอร์ราธ กัปตันโคโลญจน์ต้องเลือก "หัว" ไปตามระเบียบ จากนั้นผู้ตัดสินก็โยนเหรียญขึ้นฟ้า เมื่อมันตกกระทบกับพื้นและหยุดนิ่งปรากฎว่ามันออก "ก้อย" ก็เป็นอันสรุปได้ว่า ลิเวอร์พูล เป็นฝ่ายเข้าไปสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายไปโดยปริยาย (ก่อนจะตกรอบด้วยน้ำมือของ อินเตอร์ มิลาน ด้วยสกอร์รวม 3-4)

fc_koln_tegen_liverpool_2-2,_
3 เกม, 3 สนาม, 270 นาที แทบไม่มีความหมายเมื่อสุดท้ายเจอกับเหรียญแห่งโชคชะตา ดังนั้นจึงทำให้หลายทีมในยุโรปเกิดความไม่พอใจและพยายามหันหน้าเข้าหากันอีกครั้งเพื่อระดมสมองหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้แทนเพื่อหาผู้ชนะที่สามารถยอมรับกันได้

ในที่สุดก็ได้เกิด “กฏประตูทีมเยือน" ที่ยูฟ่านำมาประกาศใช้ทันทีหลังจากฤดูกาล 1964-65 จบลง และกฎอเวย์โกลยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook