ใครกันมันช่างคิด? : "ล้ำหน้า" กติกาที่เหนื่อยจะอธิบายให้เหล่ากวางน้อยหัดดูบอลเข้าใจ

ใครกันมันช่างคิด? : "ล้ำหน้า" กติกาที่เหนื่อยจะอธิบายให้เหล่ากวางน้อยหัดดูบอลเข้าใจ

ใครกันมันช่างคิด? : "ล้ำหน้า" กติกาที่เหนื่อยจะอธิบายให้เหล่ากวางน้อยหัดดูบอลเข้าใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราเชื่อว่าบางครั้งผู้หญิงก็อยากที่จะเข้าใจในสิ่งที่คนรักของเธอคลั่งไคล้ และหนึ่งในเรื่องที่ชายหนุ่มแทบทุกเพศทุกวัยมอบใจให้ก็คือ กีฬาฟุตบอล

หลายครั้งพวกเธอพยายามที่จะก้าวข้ามโลกแห่งของเซลส์ 50% และลองเปิดใจเพื่อดูฟุตบอลพร้อมๆกับสามีหรือแฟน แรกๆก็สนุกดี เพราะอาจจะมีการยิงประตู เสียบสกัด ทำฟาวล์ ล้วนเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายๆ จนกระทั่งเมื่อมีคนวิ่งหลุดเดี่ยวเข้าไปในกรอบเขตโทษแล้วกรรมเป่าหยุดเกม พร้อมกับไลน์แมนยกธง นั่นแหละคำถามเริ่มจากตรงนั้น

 

"ตัวเองทำไมมันไม่เล่นกันต่อล่ะ?" และเมื่อมีคำถามก็ถึงเวลาที่คุณพ่อบ้านจะต้องหาคำตอบและอธิบายให้เข้าใจว่าการล้ำหน้ามันคืออะไร ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะอธิบายให้เห็นภาพจนเหล่ากวางน้อยจะพูดว่า "อ๋อ เข้าใจแล้ว" ได้อย่างเต็มปาก

กฎล้ำหน้าที่แสนซับซ้อนของเหล่าคอบอลหน้าใหม่นี้มาจากไหน? Main Stand จะช่วยหาที่มาและคำอธิบายให้ชัดเจนและง่ายสำหรับคุณ!

กฎล้ำหน้าเกิดขึ้นเมื่อไหร่

มักมีความเข้าใจผิดๆ เกิดขึ้นเกี่ยวกับกฎล้ำหน้า หลายคนคิดว่าการล้ำหน้านั้นเพิ่งมามีในฟุตบอลสมัยใหม่ และมักจะมีคำกล่าวกันว่า "ยุค เปเล่ ไม่มีล้ำหน้าเขาจึงยิงประตูได้เยอะ" แต่จริงๆ แล้วกฎการล้ำหน้านั้นถือว่ามีอายุมากกว่า 200 ปีเข้าไปแล้ว

 1

กฎล้ำหน้าเกิดขึ้นในโลกฟุตบอลครั้งแรกตั้งแต่ปี 1863 หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ตั้งแต่ยุคแรกของกีฬาฟุตบอลเลยทีเดียว ทว่ากฎดังกล่าวในยุคแรกเริ่มนั้นแตกต่างจากกฎล้ำหน้าในปัจจุบันมาก เพราะสมัยนั้นมีกฎง่ายๆ ว่า ผู้เล่นที่ยืนสูงเหนือกว่าลูกฟุตบอลถือว่าอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าทั้งหมด หากจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือเกมบุกของฟุตบอลเมื่อสัก 200 ปีก่อนหน้านี้ จะเดินเกมเรียงแถวหน้ากระดานเหมือนกับวิธีการเล่นรักบี้ในปัจจุบันนั่นเอง

ทว่าเพียงไม่กี่ปีให้หลัง ก็เริ่มมีกฎเพิ่มขึ้นนั่นคือหากผู้เล่นของทีมบุก รับบอลในพื้นที่ที่มีผู้เล่นทีมคู่แข่งอยู่ต่ำกว่า 3 คน (รวมผู้รักษาประตู) จะถือว่าเป็นการล้ำหน้า เพื่อป้องกันการห้อยกองหน้าไว้หน้าประตูเพื่อรอยิงอย่างเดียว ก่อนจะมาปรับเพิ่มเติมในปี 1925 โดยกฎแทบจะเหมือนเมื่อตอนที่แก้ไขครั้งแรกเลย เพียงแต่ว่าการล้ำหน้าจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ ผู้เล่นของทีมบุก รับในพื้นที่ที่มีผู้เล่นทีมคู่แข่งอยู่ต่ำกว่า 2 คน (รวมผู้รักษาประตู)

กระทั่งกฎล้ำหน้าล่าสุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นในปี 1990

กฎล้ำหน้าปัจจุบันอธิบายอย่างไรให้เข้าใจง่ายๆ?

จริงๆ แล้วกฎกติการการล้ำหน้าในปัจจุบันมันมีข้อยิบย่อยพอสมควร มันอาจจะไม่ยากสำหรับเราๆ ท่านๆ ที่ดูฟุตบอลกันเป็นอยู่แล้ว ทว่าการจะบอกให้มือใหม่หัดดูเข้าใจภายในระยะเวลาสั้นๆ แล้ว มันคือการเรียบเรียงข้อมูลที่ค่อนข้างน่าปวดหัว

 2

สรุปแบบง่ายๆ ที่น่าจะเพียงพอสำหรับมือใหม่และการแนะนำเหล่าสาวๆ ถึงกฎนี้คือ ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าต่อเมื่อเขาอยู่ในแดนของคู่แข่ง และอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้มากกว่านักเตะทีมคู่แข่งรวมถึงลูกบอล แต่ถ้าจะให้สั้นกว่านั้นเคลียร์กว่านั้นคือ "คนที่ล้ำหน้า = คนที่อยู่ใกล้เส้นปากประตูของคู่แข่งยิ่งกว่านักเตะทีมคู่แข่งเอง" และถ้าจะใช้คำแบบบ้านๆ ไปอีกก็ควรจะใช้คำว่า "นักเตะคนนี้ขึ้นกางมุ้งรอคนเดียว" น่าจะยิ่งทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นไม่มากก็น้อยล่ะครับ

อย่างไรก็ตาม กฎในปัจจุบันได้เพิ่มข้อแม้เล็กๆ แต่สำคัญไว้ประการหนึ่งก็คือ “คนที่ล้ำหน้านั้น จะต้องแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการเล่นด้วย” นั่นหมายความว่า ถ้าอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าแล้วเผลอตัววิ่งตามไปรับบอล หรือแม้แต่เอี้ยวตัวหลบลูกบอลให้คนที่ไม่ล้ำวิ่งตามมาเก็บงานแล้วล่ะก็ อันนี้ถือว่าล้ำเต็มๆ แต่หากรู้ตัวว่าล้ำแล้วก็อยู่เฉยๆ ให้คนที่ตามมาได้เล่นบอล แบบนี้ไม่ถือว่าล้ำแต่ประการใด

กฎล้ำหน้า "เครื่องวัดความรู้คนดูบอล"

เราพยายามจะอธิบายให้มันดูง่ายที่สุดตามที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ทว่าเมื่อได้ลองเอาไปอธิบายกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่เคยดูฟุตบอลแบบจริงๆ จังๆ เลยแม้แต่ครั้งเดียวเธอก็ยังบอกอยู่ดีว่า "คือไร? ไม่เข้าใจ?"

 3

ถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็คงเหลือทางเดียวแล้วล่ะครับ นั่นคือการดูบ่อยๆ ดูซ้ำๆ รับรองไม่เกิน 3-4 เกมก็น่าจะพอเข้าใจและเห็นภาพชัดกว่าที่เราพยายามจะอธิบายจนปากเปียกปากแฉะแน่นอน

ดังนั้นมันจึงต้องวนเข้าที่สัจธรรมข้อหนึ่งคือ อยากรู้สิ่งไหน จงศึกษาสิ่งนั้นด้วยตนเอง กฎการล้ำหน้าเป็นอะไรที่ง่ายมากๆ สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่ดูฟุตบอลกันมาหลายปี บางทีสายตาของเราคนดูยังแม่นกว่าไลน์แมนเลยด้วยซ้ำไป สิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมันได้อย่างง่ายได้และตัดสินได้ภายในระยะเวลาแค่ไม่กี่วินาทีว่าลูกนี้ "ล้ำหรือไม่ล้ำ" มีเหตุผลมาจากการดูฟุตบอลซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมันเป็นปฎิกิริยาตอบโต้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีใครมาอธิบายให้ยุ่งยาก เห็นได้ชัดว่ากฎล้ำหน้าที่ดูเหมือนง่ายๆ นี้นี่เองที่ช่วยวัดได้ว่าคนๆ นั้นมีความรู้และดูฟุตบอลมามากแค่ไหน

"คุณรู้จักกฎล้ำหน้าหรือเปล่า?" เอมี่ ลอว์เรนซ์ นักเขียนเกี่ยวกับฟุตบอลของ เดอะ การ์เดี้ยน ซึ่งเป็นสุภาพสตรี ถามเหล่าผู้เข้าสำรวจ เธอใช้คำถามนี้เพราะว่ามันง่ายมากที่จะวัดว่าผู้เข้าทำบทสำรวจคนไหนดูบอลเป็น หรือไม่เป็น มันเป็นคำถามสั้นๆ แต่ได้ผลมากที่สุด

 4

"สำหรับคำถามเรื่องนี้มันเหมือนเครื่องชี้วัดว่าใครดูฟุตบอลมาก-น้อยแค่ไหน บางคนตอบได้เร็วและคิดว่ามันไม่ใช่คำถามที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าคุณรู้จริงมันแทบจะไม่ต้องใช้เวลาคิดหาคำตอบเลยสำหรับคำถามนี้นั่นเองแหละค่ะ"

ว่าแต่คุณๆ ทั้งหลาย เห็นด้วยกับเหตุผลของนักเขียนสาวคนนี้รึเปล่าล่ะ?

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ ใครกันมันช่างคิด? : "ล้ำหน้า" กติกาที่เหนื่อยจะอธิบายให้เหล่ากวางน้อยหัดดูบอลเข้าใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook