เล่าผ่านแฟนพันธุ์แท้ NBA : วิวัฒนาการผู้เล่นยุโรปที่ลบภาพลักษณ์ “ไม่เก่งจริง”

เล่าผ่านแฟนพันธุ์แท้ NBA : วิวัฒนาการผู้เล่นยุโรปที่ลบภาพลักษณ์ “ไม่เก่งจริง”

เล่าผ่านแฟนพันธุ์แท้ NBA : วิวัฒนาการผู้เล่นยุโรปที่ลบภาพลักษณ์ “ไม่เก่งจริง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

NBA หรือลีกบาสเกตบอลที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลกนี้ ถ้าย้อนไปเมื่อในอดีตในลีกบาสเกตบอลลีกนี้จะเต็มไปด้วยผู้เล่นในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้เล่นผิวขาว หรือผิวดำ และไม่มีพื้นที่ให้กับชาติอื่นเลย  แม้กระทั่งผู้เล่นจากทวีปยุโรป

แน่นอนว่ามันไม่ได้มีข้อห้ามว่าไม่สามารถที่จะใช้ผู้เล่นจากยุโรป หรือทวีปอื่นๆมาเล่นได้  หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะชาตินิยม หรือเป็นเพราะว่า NBA ไม่ต้อนรับชนชาติอื่นสักเท่าไร แต่ในความเป็นจริงคือ ผู้เล่นจากทวีปอื่นๆเหล่านั้นไม่ได้มีความสามารถมากเพียงพอที่จะเข้ามาเล่นในลีกที่แข็งแกร่งที่สุดอย่าง NBA ได้

โครงสร้างที่แตกต่าง
ยุโรปเป็นทวีปที่เราทราบกันดีว่ากีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ “ฟุตบอล” หรือ “ซ็อคเกอร์” ซึ่งเล่นกันตั้งแต่เด็กๆ จนเล่นเป็นอาชีพแทบจะทุกประเทศในทวีป ดังนั้นกีฬาอื่นจึงได้รับความนิยมรองลงมา

สิ่งสำคัญที่สุดคือบริบททางสังคมกีฬาอันดับหนึ่งคือ ซ็อคเกอร์  คือกีฬาช่วยสร้างความหวังให้พ่อ-แม่ และครอบครัวพวกเขามีธงที่ตั้งไว้คล้ายกันนั่นคือการมีได้เป็นนักเตะอาชีพภายใต้สโมสรใหญ่ให้ค่าตอบแทนสูง..ส่วนบาสเก็ตบอลนั้นถึงแม้จะมีความสนใจเฉพาะกลุ่มอยู่บ้างก็ต้องถือว่าเป็นรื่องที่ไกลตัวอยู่ดี

อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่ว่า NBA กับยุโรปเป็นสิ่งที่ไกลกันจนไม่มีโอกาสได้ “ลองคบกันดู” เพื่อเปิดตาและตัดอคติ ทั้งสองฝั่งจะได้รู้ว่ามุมมองและบาสเก็ตบอลของอีกฝั่งเป็นเช่นไร เพราะถ้าตลาดบาสเก็ตบอลใหญ่ขึ้นเมื่อไหร่นั่นเท่ากับว่า Win Win กันทั้งหมดไม่ว่าจะฝั่งยุโรปหรืออเมริกาก็ตาม

ddio9
NBA ในยุคของเดวิด สเติร์น(ประธานลีกบาสเก็ตบอล "เอ็นบีเอ" สหรัฐฯ จนถึงปี 2014)  เริ่มขยับโลกสองฝั่งให้ชิดกัน เขารู้อยู่แก่ใจว่ายุโรปนั้นเป็นตลาดที่น่าสนใจ หลังจากที่มีการไปแข่งต่างประเทศคือที่อิสราเอลครั้งแรกในปี 1984 โดยเป็นการแข่งกระชับมิตร และตามมาด้วยการแข่งกระชับมิตรที่เยอรมันนีกับอิตาลี โดยเอาทีมซีแอตเทิล ซุปเปอร์โซนิคนั้นไปแข่งกับทีมในลีกประเทศนั้นๆ  

การเปิดใจก็เหมือนเปิดตามองเห็นโลกที่กว้างขึ้น  เดวิด สเติร์น พบว่าผู้เล่นจากยุโรปหลายคนต่างก็มีฝีมือ และมีดีพอที่จะเข้าดราฟมาใน NBA ได้ในอนาคต

เหล่าตำนานผู้กรุยทางข้ามทวีป
ถ้าย้อนไปเมื่อปี 1945 นักบาสจากยุโรปที่มาเล่นใน NBA คนแรกเลยคือ ฟริโด เฟรย์ จากเยอรมันนี ซึ่งตอนนั้นคุณปู่เฟรย์มาเล่นให้กับนิวยอร์ค นิกส์ในช่วงเวลาสั้นๆเพียงแค่  28 เกมส์ (รวมในรอบเพลย์ออฟ) แต่หลังจากที่คุณปู่เฟรย์ได้เปิดทางมาแล้ว ต่อมาก็มีนักบาสเกตบอลจากยุโรปพยายามที่จะเข้ามาเล่นใน NBA มากขึ่้นเรื่อยๆ

แม้ว่าในทุกๆปีย้อนไปในยุค 80’ 90’ จะมีนักบาสจากยุโรปเดินทางมาเล่นใน NBA ทั้งขอคัดฝีมือจากการเข้าแคมป์ซัมเมอร์ลีก  และ เข้าแคมป์การดราฟ แต่ในช่วงแรกนั้นนักบาสยุโรปต่างไม่มีใครประสบความสำเร็จเลย แม้ในสายตาคนภายนอกจะมองว่าเหตุผลเช่นนั้นเพราะเรื่องของการปิดกั้นและชาตินิยมของชาวอเมริกัน ทว่า เดเลท ชรัมป์ ยอดฟอร์เวิร์ดจากเยอรมันนี ที่โด่งดังกับทีมซีแอตเทิล ซุปเปอร์โซนิค ไม่คิดอย่างนั้น

ddio4
เขามาลองด้วยตัวเอง ผ่านเรื่องราวและประสบการณ์มากมายจนได้คำตอบถึงกำแพงเชื้อชาติที่ใครๆต่างคิดว่ามันมีจริงว่าแท้จริงแล้ว นักบาสยุโรป แพ้ให้กับบางสิ่งที่มีอยู่กับนักผู้เลนชาวอเมริกัน

“มันเป็นเกี่ยวกับเรื่องฝีมือล้วนๆ ไม่ใช่ว่าเราไม่เก่ง เพียงแต่ว่าผู้เล่น NBA นั้นมหัศจรรย์กันมาก” เดเลท เชร์มป คกล่าว  

เชร์มปนั้นเป็นหนึ่งในนักบาสจากเยอรมันนีที่ต้องการเข้ามาเล่นใน NBA เชร์มเลือกที่จะเอาทุนมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน แต่เขาก็ไม่ได้ถูกยอมรับสักเท่าไร ช่วงเวลาที่ยากลำบากทำให้เขารู้ว่าแท้จริงแล้วคุณภาพของผู้เล่นใน NBA นั้นโหดจริง ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าผู้เล่นคนไหนจะเป็นตัวจริงได้ง่าย แม้ว่าตัวเขาเองจะถูกดราฟท์เข้ามาในอันดับที่ 8 ปี 1985 ก็ตาม

 “การถูกดราฟต์ เข้ามาไม่ว่าจะด้วยอันดับที่สูงแค่ไหน มันไม่ได้การันตีว่าคุณจะสามารถเล่นกับคนอื่นเขาได้ทันที  มันเป็นเรื่องของการยอมรับด้วย” โดยในช่วงแรกฟอร์เวิร์ด 6 ฟุต 9 นิ้วจากเยอรมันต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับฐานะการเป็นตัวสำรอง

ไม่เพียงแต่เชร์มปเท่านั้นที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงแรกกับการสิงสถิตอยู่บนม้านั่ง เพราะแม้กระทั่งผู้เล่นยุโรปที่เป็นตำนาน NBA อย่าง วลาดี้ ดิวาซ จาก แอลเอ เลเกอร์ส หรือ ดราเซน เปโตรวิช จาก นิวเจอร์ซี่ย์ เน็ตส์ก็เจอกับสถานการณ์เดียวกันเป๊ะ “สำรองอดทน” คือตำแหน่งของพวกเขา

ddio5
“มันไม่ใช่ว่าพวกเราไม่เก่งนะ แต่มันเป็นเรื่องของโอกาสมากกว่า” ดราเซน เปโตรวิช โคตรบาสจากยูโกสลาเวียกล่าว

ซึ่งเมื่อย้อนมองประวัติของดราเซ่นนั้นถือว่าไม่ธรรมดา เขาได้เหรียญเงินและเหรียญทองแดงจากโอลิมปิกส์รวมถึงเหรียญทองจากการแข่งขันบาสเกตบอลชิงแชมป์โลก ก่อนที่จะมาท้าทายตัวเองใน NBA ด้วยซ้ำ ทว่าเหรียญตราต่างๆมากมาย รวมถึงความสำเร็จในระดับยุโปรและนานาชาติก็ไม่ได้ชวยเหลือสถานการณ์ในอเมริกามากนัก...

3 ฤดูกาลแรกใน NBA ดราเซน ไม่เคยได้รับโอกาสให้ลงเล่นเป็นตัวจริงเลยแม้แต่หนเดียว  

อย่างไรก็ตามเมื่อไม่มีต้นแบบให้ดูว่าทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามอุปสรรคนี้ได้ เขาจึงต้องลองทำมันด้วยตัวเอง ดังนั้นเขาจึงแสดงศักยภาพด้านความพยายามความมุ่งมั่นเข้าไป ด้วยเหตุผลง่ายๆว่าเขาจะต้องได้เล่นใน NBA ต่อไป

ความพยายามของดราเซ่นประสบความสำเร็จ…. เขาถูกนิวเจอร์ซี่ย์ เน็ตส์ดึงตัวไปร่วมทีม และในฤดูกาลที่ 2 กับเน็ตส์ ดราเซ่น แสดงให้เห็นแล้วว่านักบาสจากยุโรปอย่างเขาคือของจริง ด้วยการทำเฉลี่ย 22 แต้มต่อเกมส์ให้กับเน็ตส์ พร้อมทั้งก้าวมาเป็นตัวหลักของทีมอย่างเต็มภาคภูมิ  

อย่างไรก็ตามความภูมิใจของชาวยุโรปก็ปิดตำนานลงอย่างรวดเร็ว ...น่าเสียดายที่ดราเซ่นนั้นต้องจบชีวิตในวัยเพียงแต่ 28 ปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์? ดราเซ่นขับรถไปกับแฟนสาวไปยังโครเอเชีย และเนื่องจากฝนตกหนักมองไม่เห็นทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เค้าไม่สามารถควบคุมรถได้ และทำให้ดราเซ่นเสียชีวิต

ddio6
แม้ตัวจะจากไปแต่สิ่งที่เขาทำอย่างแข็งขันตลอดช่วงเวลาในลีกบาสเก็ตบอลที่ดีที่สุดในโลก ทำให้เห็นแล้วว่า ถ้ามีความพยายามและความมุ่งมั่นมากพอ นักบาสยุโรปก็สามารถมาโลดแล่นใน NBA ได้  

การเเจ้งเกิดครั้งนั้นไม่ได้ทำให้เขาประสบความสำเร็จแค่คนเดียว แต่เขาประสบความสำเร็จในฐานะคนต่างทวีป จากการทำให้ผู้เล่นจากอเมริกาเปลี่ยนทัศนคติมองนักบาสจากยุโรปในแง่ของความพยายามและทัศนคติที่ยอดยเยี่ยม

“ดราเซ่นเป็นนักบาสยุโรปที่ผมคุ้นเคยตั้งแต่เด็กๆเลย ผมไปดูคุณพ่อแข่งยิง 3 คะแนนในออลสตาร์ ดราเซ่นจะเข้ามาคอยเล่นกับผมตลอด” สเตฟเฟ่น เคอร์รี่ มือยิง 3 แต้มของ โกลเด้น สเตท วอร์ริเอร์ส กล่าวถึงอดีตที่เค้าเจอกับดราเซน เปรโตรวิช ซึ่งเคอร์รี่กล่าวว่าในทุกครั้งที่เค้ายิง 3 คะแนนลง นอกจากจะแสดงการขอบคุณพระเจ้าแล้ว เค้ายังชูนิ้วขึ้นฟ้าเพื่อขอบคุณดราเซ่นบรสวรรค์ด้วย

จุดกำเนิด
ผู้เล่นจากยุโรปในยุคแรกๆของ NBA ทั้งดราเซ่น เปรโตวิช, เดเลท เชร์มป, วลาดี้ ดิวาซ หรือแม้กระทั่งแชมป์ 3 สมัยจาก ชิคาโก้ บูลส์ อย่าง โทนี่ คูโคช รู้ดีและมั่นใจว่าพวกเขามีดีมากกว่าที่ NBA จะคาดถึง เพราะผู้เล่ยุโรปนั้นถือข้อได้เปรียบบางอย่างเหนือนักบาสอเมริกันอยู่ และสิ่งนั้นคือ “การเริ่มออกตัวที่เร็วกว่า”

ความได้เปรียบของผู้เล่นยุโรปที่แตกต่างจาก NBA นั้นคือ การซ้อมและการเริ่มเล่นในลีกอาชีพที่เร็วกว่าใน NBA  

ddio3
“ที่ยุโรปนั้น เด็กๆส่วนใหญ่นั้นเล่นซ็อคเกอร์ก็จริง แต่จะมีการเข้าสู่สโมสร ไปซ้อมอาชีพตั้งแต่เด็กๆเลย บาสเกตบอลก็เช่นเดียวกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าเราได้เล่นในการแข่งขันจริงตั้งแต่วัยรุ่น”  โทนี่ คูโคชฟอร์เวิร์ด 6 ฟุต 11 นิ้วจากบูลส์กล่าว  

คูโคชก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มาจากยุโรป ที่ได้เล่นบาสเกตบอลอาชีพตั้งแต่ช่วงอายุ 15 ปี “ก่อนหน้านี้ผมเล่นปิงปองนะ และทำมันได้ดีมากๆด้วย แต่ทำไงได้ผมว่าบาสเกตบอลมันเหมาะกับผมที่สุดแล้ว” คูโคชอดีตสำรองยอดเยี่ยมของ NBA ปี 1996 กล่าว

บาสเกตบอลในยุโรปนั้นจะมีระบบการเล่นที่เริ่มมาตั้งแต่ชุดเยาวชน จนมาชุดใหญ่เล่นเป็นอาชีพกับสโมสรใหญ่ๆเลย ซึ่งไม่ต่างอะไรจากฟุตบอลในยุโรปที่มีโครงสร้างเช่นนั้น

ไม่ว่าจะเป็นสโมสรดังๆเช่น บาเซโลน่า, เรอัล  มาดริด, พาไนธิไนกอส, เฟเนร์บาห์เช่, ซีเอสเคเอ มอสโค หรืออื่นๆ ต่างมีระบบเยาวชนเข้ามาไล่หลังรุ่นพี่ในทีมตลอด และทำให้เด็กๆที่คลั่งไคล้ในกีฬาบาสเกตบอลนั้นเริ่มหัด และลงสนามจริง แข่งจริงตั้งแต่รุ่นอายุวัยรุ่น ซึ่งนั่นทำให้ทุกๆคนนั้นได้รับประสบการณ์และความเข้าใจเกมในการแข่งอาชีพมาก่อนหน้าผู้เล่น NBA

เรื่องนี้เดิร์ก โนวิตสกี้ ตำนานที่ยังมีลมหายใจชาว เยอรมัน ของ ดัลลัส แมฟเวริกส์ เห็นด้วยอย่างหมดข้อปฎิเสธ

“มันเป็นเรื่องจริงเลย คุณดูอย่าง ลูก้า ดอนซิค ของเราสิ เขาเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม มีมุมมองในสนามที่เหลือเชื่อ ส่วนนึงเป็นเพราะจากที่ลูก้าเคยเล่นอาชีพตั้งแต่เด็กๆ และเค้าได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์นำมันมาใช้ได้อย่างถูกทีถูกเวลาในตอนนี้ ผมว่ามันเป็นความได้เปรียบของผู้เล่นยุโรปนะ” โนวิตสกี้กล่าวถึงดอนซิค รุกกี้ ชาวสโลวิเนียที่เป็นรุ่นน้องในทีม แมฟเวอริกส์ ที่ได้รับการจับตามองอย่างมากใน NBA ปีนี้

ddio7
อาวุธลับ
นอกจากการได้เห็นและได้สัมผัสการแข่งขันอาชีพจริงก่อนผู้เล่น NBA แล้ว สิ่งหนึ่งอีกอย่างที่ผู้เล่นยุโรปแทบจะทุกคนต้องมีเป็นอาวุธติดตัวคือ “การยิง” เพย่า สเตยาโควิช, เดิร์ก โนวิตสกี้, ดานิโล กาลินารี่ คือบทพิสูจน์อีกอย่างว่าผู้เล่นที่สูงเหยียบๆ 7 ฟุต แต่ยิง 3 คะแนนแม่นแบบจับวางนั้นเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของนักบาสที่มาจากยุโรป

“ผมเล่นอาชีพที่ยุโรปมาตั้งแต่ 15 ปี ในลีกของเราที่เซอร์เบีย ผู้เล่นทุกๆคนทุกๆตำแหน่งจะซ้อมยิงกันเยอะมาก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราสามารถยิงได้ทุกระยะ” เพย่า สเตยาโควิช ฟอร์เวิร์ด 6 ฟุต 9 นิ้วจอมแม่น 3 คะแนนจากเซอร์เบียที่คว้าแชมป์ยิง 3 คะแนนในออลสตาร์ 2 สมัยติดต่อกันยืนยันถึงที่มาของอาวุธลับผู้เล่นจากยุโรป

ไม่ใช่เพียงแค่เพย่าเท่านั้นที่เป็นคนตัวสูงที่แม่นในสไตล์นักบาสจากยุโรป แม้แต่เดิร์ก โนวิตสกี้ที่สูง 7 ฟุต แต่ยังเป็นผู้เล่นที่ตัวสูงที่สุดที่เข้าไปอยู่ในคลับ 50-40-90 ( FG ปกติเกิน 50% , FG 3 คะแนนเกิน 40% และลูกโทษเกิน 90%) ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ สำหรับผู้เล่นที่สูงขนาด 7 ฟุต

ddio11
“ตอนเด็กๆผมเล่นเทนนิสนะ แต่เค้าหาว่าผมสูงเกินไป และเพื่อนเรียกผมว่าสัตว์ประหลาด ผมเลยเปลี่ยนกีฬาเล่นเลย คุณพ่อผมก็ได้สอนบาสเกตบอลและสอนชู๊ตให้กับผม ท่านบอกว่ามันจะดีต่ออนาคตของผม”  ด้วยความที่ตัวสูงแต่ยิงนอกตอนนั้นพอใช้ได้  โค้ชที่โวล์ฟสบวร์ก สโมสรต้นสังกัดของเค้าก็ได้เห็นถึงการพัฒนาของการยิงไกล จึงให้เดิร์กนั้นเป็นตัวทำสกอร์หลักของทีม และติดอาวุธยิงนอกและสามคะแนนเพิ่ม

สิ่งนี้มันพิสูจน์ให้เห็นว่าด้วยความแม่นและทักษะที่เดิร์กฝึกมาในยุโรปนั้นมันช่วยให้เค้านั้นเอาตัวรอด และคว้าแชมป์ NBA รวมถึงเป็น MVP ในรอบไฟนอล และในฤดูกาล 2007  รวมถึงทักษะนี้เองทำให้เจ้าตัวพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ผู้เล่นสูง 7 ฟุต แถมยิงระยะไกลแม่นราวกับจับวาง และบางครั้งมีการเฟดอเวย์อีกต่างหาก แล้วใครมันจะไปจับอยู่ละ” มาร์ค คิวบันเจ้าของทีม ดัลลัส พูดถึงลูกทีมของตนเอง

คิวบัน ได้เคยให้สัมภาษณ์สื่อในทำนองที่ว่า สิ่งที่ผู้เล่น NBA ไม่มีคือประสบการณ์และการยิงไกลสำหรับผู้เล่นรูปร่างสูง  และคิวบันยังบอกอีกว่า ถ้าผู้เล่นรุ่นใหม่ๆของอเมริกาอยากที่จะพัฒนาขึ้นมากกว่านี้ ต้องให้ไปเริ่มเล่นในลีกยุโรป

ข้อเสนอเเนะของคิวบัน ทำให้หลายคนในวงการบาส NBA เห็นด้วยครึ่งหนึ่ง แต่มันก็ทำให้ผู้เล่นและคนอเมริกาหลายคนนั้นไม่พอใจเอาเหมือนกัน

อาวุธลับ vs อาวุธหลัก
เมื่อเราสังเกตุดีดีแล้วนักบาสจากยุโรปทุกคนจะมีข้อได้เปรียบผู้เล่น NBA นั่นคือทั้ง “ประสบการณ์” และ “การยิงไกล” ซึ่งเหล่านี้เป็นใบเบิกทางทำให้เกิดความได้เปรียบเล็กๆ  อย่างไรก็ตามมันเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

ddio10
เมื่อมองภาพรวมแล้ววัฒนธรรมการเล่นบาสที่แตกต่างกันมันยังไม่เท่าไร แต่ปัจจัยที่นักบาสยุโรปต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันคือ “การสื่อสาร” โทนี่ คูโคชได้เคยบอกไว้อย่างน่าสนใจว่า ตอนที่เค้ารู้ว่าจะเข้ามาเล่นใน NBA ตัวเขาตื่นเต้นมาก ในการเจอกับดรีมทีมบาเซโลน่าปี 1992 เค้าได้เค้าไปพูดคุยกับดรีมทีมทั้งจอร์แดน พิพเพ่น หรือแมจิค แต่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว “ผมรู้เลยว่ามันเป็นปัญหา ผมเลยเลือกที่จะเล่นและฝึกภาษาสักนิดต่อแล้วค่อยมาใน NBA” คูโคชกล่าว

มันน่าเจ็บช้ำสำหรับคูโคช เค้าไปเข้ามาเล่นใน NBA ความช้ำใจแรกคือ ผิดหวังที่ไม่ได้เล่นกับไมเคิล จอร์แดนฮีโร่ของตัวเอง  เพราะจอร์แดนประกาศรีไทร์ครั้งแรก ส่วนความผิดหวังซ้ำสองคือ เค้าไม่สามารถสื่อสารกับใครได้ดีเท่าที่ควร

“มันเป็นปัญหาหนักเลย ผมพูดอังกฤษได้นะ ผมว่าผมคล่องเลยล่ะ แต่เมื่อต้องมาอยู่ในสถานการณ์ต่างๆในสนาม การเรียกแผน การสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม มันทำให้ช่วงแรกผมมีปัญหาตรงนี้พอสมควรเลย” ช่วงแรกคูโคชนั้นเกิดปัญหาการสื่อสารภาษาอย่างมาก แต่ก็ปรับตรงนี้และใช้เวลาไม่นานจนสามารถสื่อสารในแบบที่เจ้าตัวพอใจได้

ซึ่งนักบาสยุโรปที่เข้ามาเล่นในลีกใหม่ๆ ที่ไม่ได้เรียนที่สหรัฐอเมริกา แล้วต้องกระโดดข้าวทวีปมาเล่นใน NBA เลย หลายคนเจอปัญหาเรื่องการสื่อสารเหมือนกันทั้งนั้น  ซึ่งบางคนถึงขั้นต้องใช้ล่ามติดตัวเพื่อให้สามารถสื่อสารแผน รูปแบบการเล่นตามที่โค้ชต้องการได้เลย เหล่านี้รวมถึงวัฒนธรรมในการปรับตัวต่างๆด้วย

นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว เรื่องของ “อาวุธหลัก” อีก 2 ชิ้น อย่าง “ความจริงจัง” และสิ่งที่ใครต่อใครก็ต้องยอมซูฮกให้กีฬานั่นคือเรื่องของ วิทยศาสตร์การกีฬา ที่ทำให้ร่างกายของผู้เล่นแข็งแกร่งได้อย่างถูกที่ถูกถูกจุด

ddio2
“ความจริงจัง” ปรากฎในดวงตาของนักบาสชาวอเมริกันแทบทุกคน ซึ่งจุดนี้มันเริ่มกันตั้งแต่ระดับความเข้มข้นของลีก  และต้องยอมรับว่าจุดนี้ NBA เข้มข้นกว่าแน่หากเทียบกับที่ ยุโรป เพราะที่ NBA ทุกวินาทีมีค่า และทุกความผิดพลาดมีเดิมพันสูงมาก

ผู้เล่น NBA มักจะมีความจริงจังแม้กระทั่งการซ้อม เรียกได้ว่าซ้อมสุด แล้วค่อยปลดปล่อยตอนพัก หรือรีแลกซ์ยามค่ำคืนแทน  ต่างกับผู้เล่นยุโรปที่หลายทีมมักจะไม่ได้จริงจังกับการซ้อมมาก

ขณะที่อีกสิ่งหนึ่งที่นักบาสจากยุโรปอาจจะสร้างความแตกต่างจากผู้เล่น NBA คือการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งอย่างที่ทราบว่าวิทยาศาสตร์การกีฬาของสหรัฐนั้นถือว่าเป็นเบอร์ต้นๆของวงการกีฬาโลก การพัฒนา การสร้างกล้ามเนื้อให้สมดุลนั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมาตั้งแต่ช่วงไฮสคูลเลยก็ว่าได้  

ต่างกับนักบาสเกตบอลยุโรปที่ยังไม่ได้เน้นตรงส่วนนี้มากนัก  มันจึงทำให้เราเห็นความแตกต่างเมื่อพูดถึงนักบาสยุโรปและอเมริกา  คือเมื่อพูดถึงนักบาสยุโรป เราจะนึกถึงความแม่น ประสบการณ์อาชีพสูง และไอคิวบาสที่ยอดเยี่ยม  ส่วนเมื่อพูดถึงนักบาสอเมริกา เราจะนึกถึง ความแข็งแกร่งของร่างกาย การเลี้ยงบอล และทักษะเฉพาะตัวที่โดดเด่น

ddio8
แต่อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันนี้ในโลกที่ไร้พรมแดน นักบาสจากยุโรปและต่างชาติอื่นๆนั้นเริ่มมามีบทบาทอย่างมากใน NBA ในฤดูกาลที่แล้ว (2017-18) มีผู้เล่นจากที่อื่นที่ไม่ใช่อเมริกาถึง 113 คนจาก 41 ประเทศ ซึ่งมาโลดแล่นทั้งใน NBA และใน G-Leauge นั่นทำให้เรารู้ว่าจากเดิมในยุค 80’ 90’ มีนักบาสจากยุโรปและชาติอื่นไม่กี่สิบคน แต่ปัจจุบันนั้นเป็นหลักร้อย นั่นแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดของลีกยุโรปและนักบาสยุโรป  สิ่งนี้ทำให้นักบาสยุโรปหลายคนนั้นสร้างประวัติศาสตร์หลายอย่างใน NBA และช่วยพัฒนาลีกให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ขณะที่นักบาสชาวอเมริกันก็ได้ร้ว่าสิ่งใดบ้างที่พวกเขาทำไมไ่ด้แต่ผู้เล่นจากยุโรปทำได้

เมื่อต่างฝ่ายต่างอยากจะพัฒนาจุดเด่น กลบจุดด้อย มันจึงทำให้ทั้งสองฝั่งต่างก็เกื้อกูลและได้ประโยชน์กันทั้งหมด และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม NBA จึงได้มาตรฐานสูงขึ้นในทุกๆปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook