121 สโมสรไทยลีกฤดูกาล 2018 ใช้ชุดแข่งแบรนด์ไหนบ้าง?

121 สโมสรไทยลีกฤดูกาล 2018 ใช้ชุดแข่งแบรนด์ไหนบ้าง?

121 สโมสรไทยลีกฤดูกาล 2018 ใช้ชุดแข่งแบรนด์ไหนบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชุดแข่ง ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันของฟุตบอลไทย ที่ถูกออกแบบ แต่งแต้มจากแบรนด์ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬา ให้มีความแต่งต่างกันออกไป ตามเอกลักษณ์ของแต่ละสโมสร

จากการเก็บข้อมูลโดย Mainstand ในฤดูกาล 2018 ที่ผ่านมา มีตัวเลขที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ มีผู้ผลิตชุดแข่งสัญชาติไทยหน้าใหม่ เข้ามามาสนับสนุน สโมสรในลีกอาชีพไทยทั้ง 4 ระดับ มากขึ้นถึง 25 เจ้า ขณะที่แบรนด์จากต่างประเทศ มีเพียงแค่ Nike กับ Puma ที่พยายามเข้าตีตลาดแบรนด์ สนับสนุนทีมใหญ่อย่าง ชลบุรี, บีจีฯ และ เชียงรายฯ

ขณะเดียวกัน เทรนด์ของการผลิตชุดแข่งเอง โดยที่ไม่ได้ใช้แบรนด์กีฬาอื่นๆ ยังคงได้รับความนิยมจากสโมสรอาชีพในไทย ทุกลีก เนื่องจากสามารถควบคุมต้นทุนการผลิด ราคา ดีไซน์เสื้อ

ดังเห็นได้จาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถึงแม้ว่าในฟุตบอลถ้วย เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก จะเปิดใจรับ Warrix เข้ามาเป็นแบรนด์ชุดแข่งให้กับพวกเขา แต่ในฟุตบอลถ้วยรายการอื่น รวมถึงชุดแข่งในลีก ยังยึดการผลิตเสื้อแบบไม่มีแบรนด์ตามเดิม และได้รับการตอบแทนจากแฟนบอลอย่างดี อีกหลายแสนตัวเช่นเคย



สำหรับ 27 แบรนด์ชุดแข่งของ 121 สโมสรในไทยลีก 1-4 ประกอบไปด้วย Ari (4 ทีม), Grand Sport (7 ทีม), Puma (1 ทีม), Warrix (11 ทีม), Nike (3 ทีม), Mawin (4 ทีม), FBT (13 ทีม), Eureka (4 ทีม), Kela ( 5ทีม)

Sakka (3 ทีม), Ego Sport (1 ทีม), Volt (4 ทีม), Versus (10 ทีม), Deffo (8 ทีม), Pegan (2 ทีม), Orca (3 ทีม), Skycool (2 ทีม), Spicer (2 ทีม), Cadenza (3 ทีม) IAM (2 ทีม), Infinit (1 ทีม), 90 Minutes (1 ทีม), Midfielder (1 ทีม), Real (2 ทีม), H2H Sport (3 ทีม), S’Dio (1ทีม), Dark (1 ทีม)

แบ่งออกเป็นแบรนด์ไทย 25 แบรนด์ - 101 ทีม, แบรนด์ต่างประเทศ 2 แบรนด์ - 4 ทีม

ส่วนที่เป็นชุดแข่งผลิตเอง ไม่ใช่แบรนด์ใด ทั้งสิ้น 16 ทีม คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 13.2 เปอร์เซนต์ รองลงมาเป็น FBT ที่สนับสนุนชุดแข่งสโมสรอยู่ที่ 13 สโมสร คิดเป็น 10.7 เปอร์เซนต์

อันดับ 3 Warrix เข้ามาสนับสนุนชุดแข่งสโมสร 12 ทีม คิดเป็น 9.91 เปอร์เซนต์

อันดับ 4 ถือเป็นแบรนด์ม้ามืดที่เน้นเจาะตลาด ทีมไทยลีก 2-4 อย่าง Versus ที่กวาดส่วนแบ่งไปได้ 10 ทีม คิดเป็น 8.26 เปอร์เซนต์

อันดับ 5 Deffo อีกทีมที่เน้นสนับสนุน ทีมลีกรากหญ้ามากอย่างยาวนานหลายปี เข้ามาดูแลชุดแข่งให้ทั้งหมด 8 สโมสรคิดเป็น 6.61 เปอร์เซนต์ อันดับ 6 Grand Sport สนับสนุนไป 6 ทีม (4.95 เปอร์เซนต์)

ด้านแบรนด์ดังอย่าง Ari, Eureka, Ego Sport มีการลดสัดส่วนการสนับสนุนชุดแข่งทีมอาชีพ ลงไปจากช่วง 2-3 ฤดูกาลก่อน สวนทางกับแบรนด์สัญชาติไทยขนาดเล็ก เริ่มมีการขยับขยายธุรกิจมาเจาะกลุ่มเฉพาะทางมากขึ้น ยกตัวอย่าง Cadenza ที่สนับสนุนชุดแข่ง 2 ทีมจากออมสิน ลีก (T4) โซนภาคใต้ คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์โซนดังกล่าว

เช่นกันกับ โซนภาคเหนือที่ H2H Sport เข้าไปดูแลชุดแข่งถึง 3 สโมสรจาก 7 ทีม โดยที่ไม่ได้ไปเจาะทีมตลาดภูมิภาคอื่นอีกเลย รวมถึง IAM ที่เน้เจาะโซนภาคตะวันตก สนับสนุนชุดแข่งทีม นนทบุรี และ ชัยนาท ยูไนเต็ด

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์บางยี่ห้อ ที่คนทั่วไป อาจไม่คุ้นชื่อนัก เลือกสนับสนุนแค่ทีมเดียว เช่น 90 minutes ที่สนับสนุนชุดแข่ง ทีมมาแชร์ ชัยภูมิฯ, แบรนด์เสื้อ midfielder ที่ให้การสนับสนุนทีม สกลนคร เมืองไทยฯ, แบรนด์ Dark ที่เป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งของ โคปูนฯ, แบรนด์ S’dio ของทีมสิงห์บุรี บางระจันฯ เป็นต้น

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่อยู่กับฟุตบอลอาชีพไทย มาทุกยุค ทุกสมัย.. ซึ่งในทุกๆปี ก็จะมีแบรนด์หน้าเก่าออกไป และหน้าใหม่เข้ามาอยู่เรื่อยๆ นับเป็นอีกสีสันที่น่าติดตามไม่น้อยของฟุตบอลไทย ในแต่ละฤดูกาล นอกเหนือจากความสนุกในการติดตามเกมการแข่งขัน และข่าวสารการซื้อผู้เล่นของแต่ละสโมสรฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook