"2-7-2" ของ "ติอาโก้ ม็อตต้า" กับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจริง?

"2-7-2" ของ "ติอาโก้ ม็อตต้า" กับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจริง?

"2-7-2" ของ "ติอาโก้ ม็อตต้า" กับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจริง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่กี่วันที่ผ่านมา ติอาโก้ ม็อตต้า อดีตมิดฟิลด์ทีมชาติอิตาลี วัย 36 ปี ที่รับตำแหน่งกุนซือปารีส แซงต์-แชร์กแมง U19 แสดงความเห็นถึงรูปแบบการเล่นในอุดมคติของตนเองที่อาจจะหลุดหัวเราะออกมาทันทีเมื่ออ่านเพียงแค่พาดหัวหลักกับพาดหัวรองและเลื่อนมันผ่านตาไปโดยที่ไม่ได้สนใจมันนัก

ม็อตต้า ให้สัมภาษณ์กับ กัซเซ็ตต้า เดลโล่ สปอร์ต ไว้ว่า "การเล่นฟุตบอลที่เน้นเกมรุกคือรูปแบบในอุดมคติของผม ทีมที่มีความรัดกุม (compact) กระตือรือร้นตั้งแต่เริ่มเกม บีบพื้นที่สูงและคล่องตัวทั้งยามมีบอลและไม่มีบอล ผมต้องการให้ผู้เล่นที่มีบอลในครอบครองมี 3-4 ทางเลือกโดยมีผู้เล่น 2 คนอยู่ใกล้เพื่อช่วยเหลือเขา สำหรับผมแล้วหากนับจากขวาไปซ้ายมันจะเป็น 2-7-2 ซึ่งคุณสามารถเล่น 4-3-3 โดยเน้นตั้งรับหรือ 3-5-2 แต่เน้นรุกก็ได้ ตัวเลขพวกนี้มันอาจจะหลอกตาได้ ผมนับผู้รักษาประตูเป็น 1 ใน 7 ตรงกลาง สำหรับผมแล้วกองหน้า (attacker) คือผู้เล่นเกมรับคนแรก และผู้รักษาประตูคือผู้เล่นเกมรุกคนแรก นายทวารจะเป็นคนเริ่มจังหวะการเล่นด้วยเท้าและเป็นคนเปิดการโจมตี ขณะที่กองหน้าจะเป็นคนเริ่มต้นบีบพื้นที่เพื่อแย่งบอล"

eรูปแบบการยืนตำแหน่ง 2-7-2 โดยมี 4-3-3 เป็นพื้นฐาน

จะบ้าหรือเปล่า? 2-7-2 มันจะเป็นไปได้อย่างไร? แม้กระทั่ง ม็อตต้า ยังใช้ 4-3-3 เป็นหลักใน เปแอสเช U19 (อ้างอิง ​Transfermarkt) แต่ถ้าหากลองใช้พื้นฐาน 4-3-3 ที่รัดกุม ทรัพยากรนักเตะมีความคล่องตัว และกระตือรือร้นตามอุดมคติ การเคลื่อนที่ของผู้เล่นสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงจากรูปข้างต้น

จากแนวรุกไปแนวรับเราจะได้ 2-7-2 ที่สื่ออังกฤษ แปลจากบทสัมภาษณ์ภาษาอิตาลีต้นฉบับ โดยอาจมีรายละเอียดดังนี้

- ​2 ตัวรุกริมเส้นหุบเข้ามารับบทบาทคู่เบอร์ 10 โจมตีในพื้นที่ฮาล์ฟสเปซด้านบน
- มิดฟิลด์ตัวกลาง 1 คน (CM) เติมขึ้นไปสนับสนุนกองหน้า
- มิดฟิลด์ตัวรับ (DM) ขยับขึ้นไปแทนมิดฟิลด์ตัวกลาง
- แบ็คซ้าย-ขวา ขยับขึ้นไปสนับสนุนเกมรุกที่ริมเส้น
- เซ็นเตอร์แบ็ค 1 คน (CB) ขยับขึ้นไปแทนที่มิดฟิลด์ตัวรับ
- ผู้รักษาประตูขยับขึ้นไปแทนที่เซ็นเตอร์แบ็ค

ข้อดีของการเคลื่อนที่มาจบในรูปที่ 3 ยามที่ทีมเป็นฝ่ายครองบอลคือพวกเขาจะมีผู้เล่นมากกว่า หรือเท่ากับ ในทุกแดนของสนามเช่น

- คู่กองหน้าจะเจอกับสถานการณ์ประกบตัวต่อตัว โดยเซ็นเตอร์แบ็คคู่ต่อสู้ในระบบกองหลัง 4 คน​ (ยกเว้นคู่ต่อสู้จะขยับใช้กองหลัง 3 คน)
- แบ็คซ้าย-ขวาของคู่ต่อสู้จะพะวงกับตัวรุกริมเส้นที่หุบเข้าในรวมทั้งแบ็คของทีมที่เติมขึ้นไปสนันสนุนเกมรุกที่ริมเส้น
- กองกลางจะถูกโอเวอร์โหลดโดยผู้เล่นถึง 5 คนสร้างความสับสนให้กับแดนกลางของคู่ต่อสู้ในการคุมพื้นที่และการไล่ประกบ ได้เปรียบในการเคาน์เตอร์เพรสคู่ต่อสู้รวมทั้งการรีไซเคิล โพเซสชัน (ต่อบอลจากฝั่งหนึ่งสลับไปอีกฝั่งหนึ่งเพื่อหาช่องเข้าโจมตีใหม่)
- การมีผู้รักษาประตูขยับไปแทนที่กองหลังทำให้ทีมสามารถล่อให้คู่ต่อสู้เข้ามารุมบีบพื้นที่ซึ่งสามารถเปิดช่องว่างให้ผู้เล่นคนอื่นเข้าโจมตีอย่างง่ายดายหากทีมสามารถแก้เพรสซิ่งได้

ซึ่งแน่นอนว่า​ ข้อเสียงเพียงอย่างเดียวของรูปแบบการเล่นดังกล่าวก็คือการมีผู้รักษาประตูออกไปเล่นนอกกรอบที่จะทำให้คู่ต่อสู้สามารถฉวยโอกาสยิงไกลจากกลางสนามได้หากทีมเสียบอลกลางทาง

rระบบ 2-7-2

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการแปลของสื่ออังกฤษที่มีใจความ '2-7-2' และ 'จากขวาไปซ้าย' เมื่อเราดูจากแผนการเล่นอย่าง 4-3-3 ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจก็ชัดเจนว่ามันคือรูปแบบที่ ม็อตต้า พูดถึงเมื่อนับนิ้วดูแล้วเท่ากับ 2-7-2 จาก 'ขวาไปซ้าย' จริงๆ (ขวา-2 กลาง-7 นับรวมผู้รักษาประตู และซ้าย-2)

ขณะที่การตีความว่าจะเอาผู้รักษาประตูไปยืนเป็นมิดฟิลด์นั้นดูจะไม่สามารถเป็นไปได้ในความเป็นจริงเท่าไหร่นัก นอกจากจะขยับนายทวารขึ้นมาเป็นเซ็นเตอร์แบ็คตามที่กล่าวไปข้างต้น

ท้ายที่สุดแล้วมันอาจกลายเป็นแค่การตีความหมายที่ผิดพลาดของสื่อในอังกฤษ แต่ถ้าหากจินตนาการวิวัฒนาการรูปแบบการเล่นฟุตบอลสมัยใหม่ที่ผู้รักษาประตูมีส่วนร่วมกับการเกมมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วล่ะก็...

บางที การที่เราจะได้เห็นมือกาวออกมามีบทบาทเซ็ตเกมนอกกรอบเขตโทษนั้นอาจเกิดขึ้นในอนาคต และกลายเป็น 2-7-2 จริงๆ ตามสมมติฐานข้างต้นก็เป็นไปได้

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ "2-7-2" ของ "ติอาโก้ ม็อตต้า" กับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจริง?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook