"เกาหลีวิเคราะห์ไทยลีก vs เวียดนามวิเคราะห์เคลีก"

"เกาหลีวิเคราะห์ไทยลีก vs เวียดนามวิเคราะห์เคลีก"

"เกาหลีวิเคราะห์ไทยลีก vs เวียดนามวิเคราะห์เคลีก"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อราวกลางปี 2014 ผมได้แปลสกู๊ปเกาหลีที่เขาส่งนักข่าวมาทำสกู๊ปเจาะ TPL เขียนเป็นตอนๆเลยนะครับ เขามาสัมภาษณ์ทั้ง คุณองอาจ ก่อสินค้า, คุณราชิด มะกูร์ดี, คิม ดอง-จิน ของเมืองทองฯ, คิม ยู-จิน ที่ตอนนั้นเพิ่งย้ายไปแบงค็อก และ คิม กึน-โชล ที่เล่นให้ท่าเรือในตอนนั้น และไปถ่ายทำบรรยากาศที่สนาม SCG รวมถึงที่ PAT ด้วย ทั้งหมดย้อนอ่านได้จาก link ตามนี้ครับ

http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=330284.0 --> ลิขสิทธิ์ TPL แพงกว่า เคลีก จริงหรือ?
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=330335.0 --> ด้านมืดบอลไทย
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=330398.0 --> ทีมเพื่อแฟนๆ ไม่ใช่เพื่อองค์กร

จำได้ว่าประเด็นสำคัญที่สื่อเกาหลีใต้เขาย้ำคือ เรื่องของการที่เขาเชื่อว่าทีม TPL นั้นลงทุนทำกิจกรรมสัมพันธ์กับแฟนบอล ซึ่งเขามองว่าทีมใหญ่ที่เป็นทีมองค์กรของเกาหลี(ก็พวก ฮุนได, ซัมซุง) ลงทุนไปที่ด้าน technical อย่างการปั้นเยาวชน, facility และ coaching มาก จนทำให้เกาหลีใต้ส่งออกนักเตะไปยุโรป, เอเชีย, ตะวันออกกลาง

แต่ทีมองค์กรเหล่านี้ไม่ได้ลงทุนจริงจังในการเชื่อมกับแฟนบอล เขาจึงมองไงครับว่าในแง่การตลาดนั้น ไทยกลับมาถูกทางกว่าเกาหลีใต้ ลองไปอ่านดูได้ครับเผื่อว่าผมเข้าใจผิด

ทีนี้ เมื่อวันก่อนมีข่าวว่าทางเวียดนามเขาไปดูงานเคลีก ในข่าวเน้นไปที่เรื่อง branding และการตลาดที่เวียดนามเขาคิดว่าเกาหลีทำได้ดีโดยยึดโมเดลจากวงการบันเทิง เนื้อหาเป็นดังนี้ครับ

-------------------------------------------------------------------------------------

ระหว่างการไปเยือนเกาหลีใต้เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลของเคลีก ตัวแทนจาก VPF และตัวแทนสโมสรของเวียดนามที่ไปด้วยกันสนใจ ไม่ใช่แค่เรื่องโมเดลการดำเนินงานจัดการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังสงสัยกันมากว่าการทำ branding และการหารายได้ของสโมสรเกาหลีทำกันอย่างไร

ในขณะที่สโมสรเวียดนามอ่อนเรื่อง branding แต่สโมสรเกาหลีกลับเชี่ยวชาญในเรื่องนี้

#หนัง,ดนตรี และฟุตบอล
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (ปี 1985-2000) อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีได้เฟื่องฟูขึ้นและทั่วโลกก็ชื่นชมสองอุตสาหกรรมบันเทิงหลักของเกาหลี นั่นคือ หนัง และ เพลง คนเกาหลีแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบันเทิง จนสามารถดันทั้งดาราและนักร้องหลากหลายสไตล์ให้แฟนๆทั่วโลกได้คลั่งกันได้

ฟุตบอลเกาหลีเองก็ใช้ formation ของวงการบันเทิงในเวลาต่อมาเหมือนกัน และได้รับอานิสงส์จาก know how ในการสร้างอิมเมจ, สร้างแบรนด์ และจัดแคมเปญในการหาเงินตามคำภีร์ที่วงการบันเทิงเกาหลีแผ้วทางไว้

เคลีกคลาสสิก (ลีกสูงสุดเกาหลีใต้ ส่วนลีกรองเรียก เคลีกชัลเลนจ์) มีสเกลไม่ใหญ่นัก มีจำนวนทีมแค่ 12 ทีม แต่ด้วยความเชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์มาช่วยทำให้เคลีกนั้นเป็นลีกระดับเอเชียและได้รับคำชื่นชม เคลีกคลาสสิกตั้งมาตรฐานไว้เป๊ะเรื่องสนาม, สาธารณูปโภคทั้งนี้เพื่อสร้างภาพที่สวยงาม ส่วนนักเตะเกาหลีแม้จะโดนซ้อมอย่างหนักตามมาตรฐานบอลอาชีพ แต่ก็ถูกสอนให้รู้จักวิธีสร้างอิมเมจให้ตัวเอง, จะพูดกับสื่ออย่างไร ไม่ต่างจากที่ดารานักแสดงโดนฝึกเช่นกัน

#สร้างมูลค่าอย่างไร?
ทีมสโมสรเวียดนามต้องการได้สัญญาสปอนเซอร์เงินดีๆ แต่เรื่องนี้ทำยากกว่าพูด ดังนั้นการที่ VPF ไปทัวร์เกาหลีใต้หนนี้ เป็นความพยายามที่จะหาทางสร้างมูลค่าด้วยการมองหาทริกจากวงการบอลเกาหลีเพื่อสร้างแบรนด์อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้

ถ้าเปรียบว่าการที่ฟุตบอลเกาหลีดำเนินการตามอุตสาหกรรมบันเทิง มันก็เหมือนกับกระบวนการสร้างบ้าน สโมสรเวียดนามก็เหมือนกับนักเรียนที่ต้องมาเรียนรู้กรรมวิธีการสร้างบ้าน แล้วพอเข้าใจแล้วก็เอาไปประยุกต์สร้างวีลีก

เมื่อปีที่แล้วตัวแทน VPF ไปดูงานที่ญี่ปุ่น หนนี้มาเกาหลีด้วยจุดประสงค์เดียวกัน และหวังว่าจะเอาความรู้ไปปรับวีลีกให้มีสีสันน่าสนใจกว่านี้

#นักเตะ, ดารา, นักร้อง ก็เหมือนกัน
เวียดนามได้เป็นสักขีพยานในการดูทีมของ ปาร์ค จี-ซอง ในปี 2011 ที่เอานักเตะ, ดารา, นักร้อง มาร่วมทีมเตะการกุศล ถ้าไม่รู้จักแทบดูไม่ออกเลยว่าคนไหนเป็นนักเตะอาชีพ คนไหนเป็นดารานักร้องเพราะทุกคนโดนปรุงแต่งเหมือนๆกัน

ที่มาข่าวต้นฉบับ http://bongdaplus.vn/tin-bai/3/135500/cac-clb-viet-nam-khao-sat-k-league-di-tim-bi-quyet-lam-giau.bdplus แปลเป็นอังกฤษ โดย Google Translate

-----------------------------------------------------------------------------------
ก็ลองเปรียบเทียบกันดูแล้วกันครับว่าระหว่าง เกาหลีวิเคราะห์ TPL vs เวียดนามวิเคราะห์เคลีก

เราได้อะไรบ้าง มีอะไรที่เราโอเคแล้ว มีอะไรที่เราต้องปรับต้องแก้.........

เครดิตโดยคุณ NTT (บอร์ดไทยแลนด์สู้ๆ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook