แปลข่าวเวียดนาม : "เราต้องการ เนวิน ชิดชอบ เวอร์ชั่นเหงียน"

แปลข่าวเวียดนาม : "เราต้องการ เนวิน ชิดชอบ เวอร์ชั่นเหงียน"

แปลข่าวเวียดนาม : "เราต้องการ เนวิน ชิดชอบ เวอร์ชั่นเหงียน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จะด้วยว่าบุรีรัมย์มีแผนไปปรีซีซั่นที่เวียดนาม หรือทางเวียดนามคาดว่าบุรีรัมย์จะพบ บิ่งเซือง ในศึกแม่โขง โตโยต้า คลับ หรือจะด้วยว่า วงการบอลเวียดนามกำลังหิวโหยข้อมูลเพื่อการเปรียบเทียบและพัฒนาจากฝั่งไทยหลังพ่ายยับคาบ้าน 0-3 ในฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก

โดยข่าวนี้เจาะลงไปว่าเวียดนามต้องการคนที่มีแนวคิดและพัฒนาในแบบ "เนวิน ชิดชอบ" แถมดันเปรียบเทียบกับ "ด่อง เหงียน ดึ๊ก" เจ้าของทีม "ฮองอันยาลาย" ซะด้วย

ผมเองแม้จะเชียร์บุรีรัมย์ใน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก แบบสุดตัวทุกฤดูกาล แต่ก็ไม่ได้มองว่าบุรีรัมย์สุดยอดไปเสียทุกอย่าง ลองดูนะครับว่า Bongda24h สื่อชื่อดังของเวียดนามเขามองบุรีรัมย์อย่างไรบ้าง

"ฟุตบอลเวียดนามต้องการคนอย่าง เนวิน ชิดชอบ"

เนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของไทยลงทุนก่อตั้งทีม บุรีรัมย์ PEA ในปี 2010 (ต่อมาคือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) ในเวลาเพียง 5 ปีเขาทำทีมนี้เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนและอยู่ใน 1 ใน 10 ที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าศึกษา

ก่อนที่จะมาเป็นทีม บุรีรัมย์ PEA ทีมนี้เป็นทีมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มาก่อน และได้แชมป์ TPL 2008 เป็นครั้งแรก

ในปี 2009 เนวิน ชิดชอบ ลูกหลานชาวบุรีรัมย์ ได้ตัดสินใจซื้อทีม PEA และเปลี่ยนชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์ PEA พร้อมย้ายฐานมาที่บุรีรัมย์ หลังได้ 3 แชมป์ในปี 2011 แล้วก็เปลี่ยนชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในปี 2013

การแปลงสภาพทีมเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในเวียดนาม เพราะในปี 2009 เอง ทีม เวียดเทล ก็ถูกซื้อแล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ ทันห์ฮัว ในปัจจุบัน

ในขณะนี้ ทีมบุรีรัมย์ได้ก้าวเข้าสู่ Top10 ของเอเชียแล้ว โดยเคียงข้างกับทีมอย่าง เอฟซี โซล (เกาหลีใต้), อุราวะ เร้ด ไดม่อนด์ส (ญี่ปุ่น), อัล อิตติฮัด (ซาอุดิอาระเบีย), อัล ซาด, เล็กห์วิย่า (กาต้าร์) และ พักตากอร์ (อุซเบกิสถาน)

บุรีรัมย์เป็นจังหวัดยากจนในแดนอีสานของไทย แต่ผู้คนที่นั่นมีชีวิตที่สบายๆและสนุกสนาน เนวินจึงสร้างทีมด้วยแนวคิดที่ให้แฟนบอลเข้าสนามทุกๆวันเหมือนไปงานเทศกาล

ตอนแรกเขาสร้างสนามใหม่ชื่อว่า ไอ โมบาย สเตเดี้ยม อยู่ชานเมือง มีความจุ 32,000 ที่นั่ง มีมูลค่า 17 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของสนามหมีดิ่งเท่านั้น สาเหตุที่ไอ โมบาย สเตเดี้ยม ราคาถูกกว่าสนามหมีดิ่งมาก เพราะไม่มีลู่วิ่ง เป็นสนามฟุตบอลโดยเฉพาะ

ซึ่งทำให้แฟนๆได้ใกล้ชิดเวลามาดูเกม สนามแห่งนี้สร้างด้วยมาตรฐานเดียวกับสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ และเป็นหนึ่งในแผนของบุรีรัมย์ที่จะสร้างตัวเองเป็น "ศูนย์กลางลูกหนังอาเซียน"

ดังนั้นมันจึงไม่ใช่แค่สนามบอล เนวินยังสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างแบรนด์ของทีมและเพิ่มรายได้ด้วย ตัวอย่างเช่น สร้างโอกาสให้มีการเปิดร้านขายของกินเล่นรอบๆสนาม ซึ่งจะเป็นโอกาสให้แฟนบอลได้ใกล้ชิดถ่ายรูปกับนักบอล

ก่อนแข่งแต่ละเกม แฟนๆจะมาออกันรอบสนาม ยังมีการสร้างโรงแรมข้างสนามโดยในแต่ละห้องมีการตกแต่งด้วยรูปทีมเล็กๆน้อยๆ ซึ่งแขกที่มาพักสามารถซื้อของเหล่านั้นได้ด้วย นี่นำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของสโมสรอย่างไม่หยุดหย่อน รายได้จากการขายของของทีมในปี 2013 = 2.9 แสนล้านด่องซึ่งมากเป็น 4 เท่าของปี 2010

มาดูผลงานในสนามบ้าง เนวินได้ดึงนักเตะที่มีความสามารถมาสู่ทีม บุรีรัมย์มีระบบค้นหานักเตะไปไกลถึงอเมริกาใต้และยุโรป ในปีแรกพวกเขาหาในสเปนและเซ็นต์สัญญาระยะยาว ด้วยโมเมนตั้มที่ดีของสโมสร ทำให้มูลค่านักเตะสูงตาม

และบุรีรัมย์ก็สามารถขายนักเตะเหล่านั้นแบบได้กำไร ในปี 2012 บุรีรัมย์เซ็นต์ ออสม่าร์ จากทีม ราซิ่ง ซานตานเดร์ ในสเปน โดยอีก 2 ปีต่อมาขายให้ เอฟซี โซล ต้องขอบคุณความสำเร็จนี้ที่ทำให้บุรีรัมย์สามารถซื้อนักเตะต่างชาติที่พูดสแปนิชได้อีก อย่าง ฆาเบียร์ ปาติโย่ (กอร์โดบ้า), การ์เมโล่ กอนซาเลซ (สปอร์ติ้ง กิฆอน) และ อันเดรส ตูเนซ (เซลต้า บีโก้)

แม้กระทั่งโค้ชก็จ้างสเปนมา ดังเช่นที่จ้าง อเลฮานโดร เมเนนเดซ อดีตโค้ชเยาวชน เรอัล มาดริด วิธีการแบบสเปนนั้นนักเตะไทยเข้าใจได้ง่ายเพราะมีเทคนิกดีอยู่แล้ว และยังได้เรียนรู้หลายอย่างจากคนที่เล่น ลา ลีก้า มาแล้ว

แต่ในปี 2014 เนวินก็เปลี่ยนไปใช้บริการบราซิลโดยจ้างโค้ช อเล็กซานเดอร์ กาม่า ที่เคยเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมชาติเกาหลีใต้ พร้อมๆกับจ้างนักเตะบราซิลอย่าง ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต้ และ กิลแบร์โต้ มาเชน่า และล่าสุด แจนด์สัน เมื่อต้นปี 2015 นักเตะที่กล่าวมาล้วนการันตีถึงคุณภาพในการเล่นบอลสมัยใหม่ แต่บุรีรัมย์ก็ไม่ลืมที่จะปั้นเด็กเอง พวกเขามีอะคาเดมี่ที่เยี่ยมที่สุดของไทย

สามารถบอกได้ว่าเนวินกล้าลงทุนและรู้ว่าจะลงทุนอย่างไร ตอนต้นอาจจะลงทุนหนักแต่ผลตอบแทนก็คืนเร็ว ซึ่งต้องขอบคุณที่มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดีซึ่งสร้างแบรนด์ได้ ตอนนี้บุรีรัมย์กลายเป็นทีมที่มีตัวตนในเอเชีย ซึ่งเครดิตต้องให้กับสถาปนิกสำคัญคือ ตัวเนวินเอง

โมเดลของบุรีรัมย์ถูกลอกแบบโดยทีมอื่นๆในไทยและลามไปถึงกัมพูชาที่ทีม ไตรเอเซีย พนมเปญ ก็เอาแบบไปใช้

ความจริงแล้วเวียดนามไม่ได้ขาดแคลนเจ้าของทีมที่บ้าบอล เวียดนามมีทั้งเจ้าของทีม "ฮานอย T&T", ด่อง เหงียน ดึ๊ก เจ้าของ "ฮองอันยาลาย" หรือกระทั่งเจ้าของทีม "นินห์ บินห์" และตัว เล ฮุง ดุง ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนามเองก็ตาม

แม้แต่ละสโมสรเวียดนามที่กล่าวมาจะประสบความสำเร็จ แต่ด้วยปัญหาที่แต่ละทีมมีจึงไม่สามารถไปไกลได้แบบบุรีรัมย์ ปัญหาของฮองอันยาลายก็คือ การเซ็นต์ตัวต่างชาติ ปัญหาของฮานอยก็คือการดึงคนเข้าสนาม ส่วนนินห์ บินห์ ก็ประสบความยากลำบากในการสร้างทีมใหม่ให้กระตือรือร้นได้เหมือนรุ่นเก่าๆ ตอนนี้เวียดนามกำลังหาเจ้าของทีมที่มีกลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบที่จะพาทีมไปข้างหน้าได้

คนนี้ทำมาก่อน 10-15 ปี แต่ข่าวบอกว่าฮองอันยาลายต้องแก้ปัญหาตัวเองซะก่อน

ที่มาข่าวต้นฉบับ http://bongda24h.vn/bong-da-viet-nam/bong-da-viet-nam-can-lam-1-newin-chidchob-167-121724.html

แปลเป็นอังกฤษ โดย Google Translate
เครดิตโดยคุณ NTT (บอร์ด thailandsusu)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook