น่าติดตาม! "เมืองไทย" ฟื้นฟูค่ายมวยของพ่อ "ศิษย์ศรพิชัย" ปั้นดาวรุ่งเลือดใหม่ประดับวงการ

น่าติดตาม! "เมืองไทย" ฟื้นฟูค่ายมวยของพ่อ "ศิษย์ศรพิชัย" ปั้นดาวรุ่งเลือดใหม่ประดับวงการ

น่าติดตาม! "เมืองไทย" ฟื้นฟูค่ายมวยของพ่อ "ศิษย์ศรพิชัย" ปั้นดาวรุ่งเลือดใหม่ประดับวงการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ขุนศอกผีดิบ" เมืองไทย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม แชมป์เวทีลุมพินี วัย 26 ปี หลังจากปรากฏตัวในไฟต์ล่าสุดใน วัน แชมเปียนชิพ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็เกิดวิกฤติโควิด-19 เข้ามาพอดิบพอดี เจ้าตัวจึงกลับบ้านที่ อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ พักงานมวยหันช่วยภรรยาขายผัก และยังก่อร่างสร้างกิจการใหม่ "เมืองไทยแม็กซิ่ง" พร้อมกับฟื้นฟูค่ายมวยเล็กๆ ที่พ่อปลุกปั้นมากับมือในชื่อค่ายมวย "ศิษย์ศรพิชัย"

เมืองไทย ยังจดจำวันวานได้ดีสมัยอายุเพียง 7 ขวบและเริ่มฝึกมวยครั้งแรก โดยมีพ่อบังเกิดเกล้า "นายสมัย เจริญดี" ซึ่งทำค่ายมวยเล็กๆ ขึ้นบริเวณพื้นที่ข้างบ้าน มีเด็กๆในละแวกใกล้เคียงมาซ้อมมวยด้วยอยู่ราวๆ 4-5 คน รวมถึงพี่ชายแท้ๆของเมืองไทย "นายศรพิชัย เจริญดี" ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงลงนวมให้ โดยที่พ่อได้แสดงออกให้เห็นถึงความรักมวยไทยเป็นชีวิตจิตใจ ด้วยการยอมทุ่มเทแรงกายแรงใจเป็นครูสอนมวยให้กับเด็กทุกคนจากใจล้วนๆ ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน

a
จากการที่ถูกปลูกฝังให้รักมวยไทยตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อย รวมถึงได้เห็นความตั้งใจของพ่อ ทำให้นายศรพิชัยกลายเป็นนักมวยอาชีพในเวลาต่อมา โดยใช้ชื่อว่า "เก้าแดง สุรพิชญ์ฟาร์ม" ไต่เต้าไปถึงแชมป์เวทีมวยสยามอ้อมน้อย และแชมป์มวยรอบทัมใจ ส่วนตัวเมืองไทยเองก็ตามรอยตามพี่ชาย โดยปัจจุบันสังกัดค่าย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม

ที่มาของชื่อค่าย "ศิษย์ศรพิชัย" มาจากชื่อของพี่ชาย ซึ่งสมัยก่อนนั้นการขึ้นทะเบียนค่ายมวยเป็นเรื่องยุ่งยาก มีความลำบากต้องไปติดต่อยังสถานที่หลายแห่ง ด้วยความที่พี่ชายเป็นคนมีความรู้ มีความคล่องแคล่ว และรู้จักคนเยอะ จึงรับอาสาไปทำหน้าที่แทนพ่อ ซึ่งเมืองไทยก็เคยใช้ชื่อสังกัดค่ายศิษย์ศรพิชัยขึ้นชกมาแล้วหลายครั้ง

"เมื่อ 2-3 ปีก่อน ผมนำเงินที่ได้จากการชกมวยไปให้พ่อซื้อที่ดินแถวบ้านเก็บไว้หลายแปลง ค่อยๆซื้อไปเรื่อย เผื่ออนาคตจะได้ทำฟาร์มเลี้ยงหมูโรงสีข้าว และบูรณะค่ายมวย"

y
"ถึงตอนนี้สิ่งที่พร้อมที่สุด คือการฟื้นฟูค่ายมวยครับ เพราะยังไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก และผมก็มีประสบการณ์อยู่แล้ว ใช้ของเดิมไปก่อน และซื้ออุปกรณ์บางอย่างเข้ามาเสริมบ้าง เช่น นวม กระสอบทราย ที่ล่อเป้า ประมาณนี้ครับ"

"การทำค่ายมวยที่ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯนั้นต่างกันครับ เราเรียนรู้จากธรรมชาติและการใช้ชีวิตจริงๆ ไม่ได้ยึดหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาอะไรมากนัก ว่างเมื่อไหร่ก็ซ้อมมวย ไม่มีเวลาที่แน่นอน เรียกว่าซ้อมไปเรื่อยๆ เตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา หากว่ามีรายการเมื่อไหร่ ก็สามารถนัดชกได้เลย"

v
ค่ายมวยศิษย์ศรพิชัยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตอนนี้มีนักมวยที่พอเป็นมวยจริงๆ ชกอวดใครได้อยู่ 3 คน คือ พลายเงิน, ตะวันฉาย และ เพชรนคร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแถวบ้าน มวยเด็กตัวเล็กๆที่มีน้ำหนักแค่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม บ้างตั้งใจชกเพื่อเป็นนักกีฬา บ้างก็ชกเพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัว หาทุนการศึกษา ค่าขนมไปโรงเรียนด้วยตัวเอง นี่คือวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน และเป็นจุดเริ่มต้นของดาวรุ่งมุ่งสู่เมืองกรุงรุ่นแล้วรุ่นเล่า

และแม้ว่าวันเวลาจะเปลี่ยนไปนานเท่าใด มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ คุณพ่อสมัยของเมืองไทย เขายังคงยืนตระหง่านเป็นครูมวยที่ค่ายศิษย์ศรพิชัยแห่งนี้ และยังคงเน้นความแข็งแกร่งของอาวุธและร่างกายเป็นหลักในการฝึกสอน ดังเช่นที่ทุกคนได้เห็นจากตัวเมืองไทยมาก่อน จนกระทั่งโด่งดังเป็นดาวจรัสฟ้าอยู่ทุกวันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook