สมาคมฯ-ไทยลีก จัดประชุมเตรียมพร้อมฟุตบอลลีกเมืองไทย คัมแบ็คหลังโควิด

สมาคมฯ-ไทยลีก จัดประชุมเตรียมพร้อมฟุตบอลลีกเมืองไทย คัมแบ็คหลังโควิด

สมาคมฯ-ไทยลีก จัดประชุมเตรียมพร้อมฟุตบอลลีกเมืองไทย คัมแบ็คหลังโควิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 2 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 24 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และ บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้จัดการประชุมสโมสรสมาชิกระดับไทยลีก 1 และ 2 ขึ้น

งานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เป็นประธาน พร้อมด้วย คุณพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมฯ, คุณกรวีร์ ปริศนานันทกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยลีก จำกัด, มร. เบนจามิน ตัน ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการคลับ ไลเซนซิง และตัวแทนจากสโมสรในการแข่งขันไทยลีก 1 และ 2

โดย พล.ต.อ. ดร.สมยศ ได้กล่าวว่า “ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลา มาร่วมประชุมในวันนี้ ก่อนที่ฟุตบอลจะกลับมาเตะในวันที่ 12 กันยายน”

“อย่างที่พวกเราทราบว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทั่วโลก ไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทย ทุกคนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย วงการฟุตบอลเอง ไม่ว่าทั้งในและนอกประเทศก็ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น สมาคมฯ เองก็เช่นกัน แต่เราก็พยายามประคับประคองให้วงการฟุตบอลไทยเดินหน้าไปได้ หลายคนอาจคิดว่าฟุตบอลไทยอาจต้องพักการแข่งไปเป็นปี จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และจากสภาวะเศรษฐกิจ เพราะการแข่งฟุตบอลนั้น สโมสรต้องใช้เงินในการบริหารจัดการ และหลายทีมก็ได้รับผลกระทบจากการที่สปอนเซอร์ ลดเงินหรือระงับเงินสนับสนุน”

S__3448882.jpg“สมาคมฯ เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ด้วยภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ทุกองค์กรย่อมพยายามรักษาองค์กรตัวเองไว้ ด้วยการลดค่าใช้จ่าย ผมเองก็ไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งผมเองคิดไว้นานแล้วว่า ก่อนที่ฟุตบอลจะกลับมาเริ่มฤดูกาลอีกครั้ง ผมจะทำอะไรสักอย่างให้วงการฟุตบอล ตอนนี้หลายท่านคงพอเข้าใจว่า ทำไมเราถึงต้องเลื่อนเปิดฤดูกาลมาเป็นวันที่ 12 กันยายน ก็เพราะระยะต้น ไม่มีใครรู้ได้ว่าการระบาดของไวรัสจะรุนแรงแค่ไหน หลายคนคิดว่าการแข่งขันอาจกลับมาไม่ได้ในปีนี้ กิจกรรมกีฬาหลายชนิดที่งดการแข่งขัน รวมถึงฟุตบอลอาชีพเองก็ต้องหยุดการแข่งขันไป เนื่องจากไทยลีกต้องอยู่ในมาตรการนี้ ไม่เหมือนกับกิจกรรมฟุตบอลอื่นๆ”

“หลายท่านอาจมีคำถามว่า ลีกในบางประเทศจัดแข่งขันฟุตบอลได้แล้ว แต่ทำไมประเทศไทยยังจัดไม่ได้ หลักสำคัญคือ มาตรการของรัฐบาล เราจึงไม่สามารถจัดการแข่งขันได้เลย หากไม่ได้รับการผ่อนผันจากรัฐบาล แต่เมื่อรัฐประกาศให้การแข่งขันกีฬากลับมาได้ ฟุตบอลก็เป็นประเภทท้ายๆ ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งต้องใช้เวลา กว่าที่ ศบค. จะออกข้อบังคับมาได้ และนี่เป็นเหตุผลที่เรายังไม่สามารถจัดการแข่งขันได้”

“นี่คือความต่างของบ้านเรากับชาติอื่น บ้านเรามีพรก.ฉุกเฉิน ซึ่งหากฝ่าฝืนก็มีความผิด มันจึงเป็นเหตุเป็นผลซึ่งเรื่องพรก. ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจน โดยพรก.ฉุกเฉิน ศบค. เองก็เพิ่งออกข้อกำหนดแข่งขันแบบเปิดมาเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นโชคดีที่เราลงมติให้กลับมาแข่งขันวันที่ 12 กันยายน ซึ่งเรายังมีเวลาเตรียมตัวอีก 10 วัน และนี่คือเหตุผลที่เราต้องแจ้งให้ทราบ”

“หลังจากนี้ ก็อยู่ที่พวกท่านทุกคน ที่จะอ้างอิงกติกาต่างๆ ตามศบค. และนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น หากเราหย่อนยาน หรือทำให้เกิดการแพร่ระบาดอีกครั้ง เราก็ไม่สามารถโทษใครได้เลย ฉะนั้นทุกคนต้องช่วยกันไม่ใช่แค่สโมสรใดสโมสรหนึ่ง สมาคมฯ เองมีหน้าที่แนะนำและให้ความรู้แก่ทุกท่าน แต่เราก็ต้องช่วยกัน ซึ่งผมขอร้องไว้ในเรื่องนี้ เพราะมันจะมีผลกระทบต่อวงการฟุตบอลจริงๆ”

S__3448895.jpgสำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีวาระสำคัญทั้งสิ้น 8 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

  1. การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้อง ตามระเบียบการจัดแข่งกีฬาของศบค. - โดยในครั้งที่ 1 เป็นวันที่ 8-9 กันยายน 2563 ส่วนครั้งที่ 2 จะมีการตรวจในวันที่ 6-7 มกราคม 2564

  2. ความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้อง - โดยสมาคมฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้แก่สโมสรสมาชิก

  3. โครงการ President Fund 2 ที่ให้เงินกู้แบบไม่มีดอกเบี้ยแก่สโมสรสมาชิก - โดยสโมสรที่ผ่านการพิจารณา สามารถรับเช็คได้ ตั้งแต่วันนี้ - 15 กันยายน 2563

  4. ความคืบหน้าการขอกู้เงินจากองค์กรต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการฟุตบอลไทยช่วงโควิด-19 - อยู่ในช่วงพิจารณาวงเงินที่กู้ยืม เพื่อนำไปใช้ในส่วนที่จำเป็นต่อฟุตบอลไทย

  5. ปฏิทินการแข่งขันไทยลีก 1-2 และช้าง เอฟเอ คัพ - จะจบฤดูกาลในวันที่ 3 เมษายน 2564 เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของสโมสร

  6. มาตรการการแข่งขันแบบเปิดของศบค. - จำกัดจำนวนผู้ชมการแข่งขันในสนามไม่เกินร้อยละ 25 ของความจุของสนาม สูงสุดไม่เกิน 4,000 คน

  7. การใช้ VAR ในการแข่งขันไทยลีก 1 - โดยการแข่งขันสุดสัปดาห์สามารถรองรับได้สูงสุด 4 คู่ต่อวัน ขณะที่กลางสัปดาห์ ที่เหลืออีก 2 ครั้ง จะใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกคู่ที่ใช้งาน VAR โดยจะจัดสรรให้ทุกทีมได้ใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้ง

  8. ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด และเวลาการแข่งขัน - มีการนำมาหารือกับสโมสรสมาชิก ก่อนจะมีการแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

S__3448900.jpg

S__3448884.jpg

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook