ม็อบต้าน มาบตาพุด ยัน ไม่สร้างความรุนแรง

ม็อบต้าน มาบตาพุด ยัน ไม่สร้างความรุนแรง

ม็อบต้าน มาบตาพุด ยัน ไม่สร้างความรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ตั้งแต่ช่วงสายของวันนี้ บรรดาเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และเครือข่ายพันธมิตรประชาชนจากภูมิภาคต่าง ๆ ได้เดินทางมายังจุดชุมนุมประท้วง ริมถนนสุขุมวิท หน้าศูนย์ราชการ ฝั่งขาเข้าตัวเมืองระยอง เพื่อปักหลักประท้วง ให้ยกเลิกประกาศ 11 โครงการประเภทรุนแรง โดยเบื้องต้นคาดว่า ผู้ชุมนุม จะอยู่ที่ประมาณ 300-400 คน ส่วนการจราจร กินเนื้อที่บนถนนสุขุมวิท ประมาณ 2 ช่องทาง ทำให้รถค่อนข้างจะติดขัดบ้างเล็กน้อย ท่ามกลางการดูแลและคุมเข้มของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนอกและในเครื่องแบบ จำนวนหลายร้อยนายด้วยกัน

ด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชน ภาคตะวันออก แกนนำคนสำคัญ กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเน้นการให้ความรู้ และจัดเสวนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันของแกนนำ ประชาชนภูมิภาคต่าง ๆ ที่เข้าร่วม เพื่อกำหนดความต้องการ และยื่นข้อเรียกร้องต่อไป ส่วนสถานการณ์จะรุนแรงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยเฉพาะ ท่าทีของรัฐบาล พร้อมกับ ยืนยันว่า การชุมนุมครั้งนี้จะไม่มีการปิดถนน หรือ สร้างความรุนแรง จนเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่ายนี้ แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก มีแผนที่จะเคลื่อนขบวนนำผู้ชุมนุม เข้าไปประท้วงบริเวณหน้าสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนประเด็นสำคัญในการชุมนุมเรียกร้อง จะเน้นการคัดค้านการประกาศ ยกเลิก 11 ประเภทกิจการรุนแรง ตลอดจน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในมาบตามพุด


บรรยากาศ การชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เริ่มมีประชาชนทยอยเข้ามาชุมนุมแล้วกว่า 300 คน โดยกลุ่มผู้ชุมนุม เริ่มตั้งเต็นท์ริมถนนสุขุมวิท หน้าประตูทางออกศาลากลาง กินพื้นที่ถนน 1 เลน และใช้รถ 6 ล้อ เป็นเวที
กล่าวปราศรัย ท่ามกลางแดดที่ร้อนจัด และยังไม่มีการปิดกั้นการจราจร นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุด เพราะมีเครือข่ายจากทั่วประเทศ ที่เคยประสบ
ปัญหาต่าง ๆ มาร่วมในการชุมนุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าประสบการณ์ ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละพื้นที่
และร่วมแสดงพลังให้ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเห็นว่า ประชาชนในทุกระดับ พร้อมเคลื่อนไหวต่อต้าน 11 ประเภท
กิจการรุนแรงต่อชุมชน ให้รัฐบาลยกเลิกประกาศดังกล่าว และให้มีการทบทวนใหม่ รวมทั้ง ผลักดันให้รัฐบาลจัดทำ
ผังเมือง แนวป้องกันระหว่างชุมชุนกับเมือง และการแก้ไขลดปัญหามลพิษ ซึ่งการชุมนุมใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน
หากยังไม่มีการทบทวน การชุมนุมก็จะมียกระดับในการเคลื่อนไหวต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook