10 อันดับความอื้อฉาวฟุตบอลโลก

10 อันดับความอื้อฉาวฟุตบอลโลก

10 อันดับความอื้อฉาวฟุตบอลโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยทีม ฟุตบอลชายร่วมเข้าแข่ง จัดการแข่งขันโดยฟีฟ่า (ฟีฟ่ายังคงเป็นผู้จัด ฟุตบอลโลกหญิงเช่นกัน) ฟุตบอลโลกเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ.1930ใน ฟุตบอลโลก 1930 และจัดต่อเนื่องมาทุก 4 ปี ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 1942-1946

ภายหลังจากการแข่งขันรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจะประกอบด้วยทีมชาติ 32 ทีม (เพิ่มจาก 24 ทีมเป็น 32 ทีมใน ฟุตบอลโลก 1998 ร่วมแข่งขันกันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน และได้ชื่อว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก โดยใน ฟุตบอลโลก 2002 มีสถิติผู้ชมประมาณ 1,100 ล้านคนทั่วโลก

แม้เรื่องฟุตบอลโลกจะเป็นการละเล่น แต่กระนั้นมันก็แฝงเรื่องการเมือง ชื่อเสียง และอำนาจของโลกไว้ด้วย ทำให้มักมีเรื่องที่ไม่ดีอื้อฉาวอยู่เยอะ เช่นตัวอย่างที่กล่าวมาดังต่อไปนี้

อันดับที่ 1
1962 : สมรภูมิ ซานติอาโก

กองเชียร์ชิลีอารมณ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเกมเตะของ กลุ่ม B ระหว่างทีมตัวเองกับอิตาลีจะเริ่มขึ้นไม่นานความเกรี้ยวกราดหยาบ คายก็ถูกส่งผ่านลงไปสู่นักเตะในสนาม แฟนบอลเจ้าถิ่นซึ่งโกรธแค้นเป็นทุนเดิมจากการที่สื่ออิตาลีตีพิมพ์บทความดู ถูกเย้ยหยันต่างๆ นานาในหน้าหนังสือพิมพ์เมืองมะกะโรนีตั้งแต่ก่อนฟุตบอลโลกจะเปิดฉากขึ้น โห่ไล่นักเตะอัซซูรี่ทันทีที่เดินลงสนามทางอิตาลีเองก็อ้างว่าที่สถานการณ์ ตึงเครียดขึ้นนั้นเป็นเพราะทีมของตนถูกผู้เล่นเจ้าบ้านถ่มน้ำลายใส่หน้า

การชำระแค้นระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเริ่มต้นขึ้น ในไม่ช้าจอร์โจ้ แฟร์รินี่ นักเตะอิตาลีโดนใบแดงจากผู้ตัดสินอังกฤษ เคน แอสตัน จากการไปเอาคืน ออโนริโน ลานดา และเกมต้องหยุดไปถึงแปดนาทีเพราะแฟร์รินี่ไม่ยอมออกจากสนาม ข้างฝ่ายชิลีโดยเลโอเนล ซานเชซ ก็ควงกำปั้นใส่มาริโอ ดาวิด แต่แอสตันกลับไม่ทำอะไร

ผลสุดท้ายดาวอดเป็นฝ่ายถูกไล่ออกเพราะไปเตะซาน เชซเข้าที่ก้านคอ ส่วนอุมแบร์โต้ มาสคิโอ นั้นดั้งจมูกหักจากการชกต่อยกับเอลาดิโอ โรฮาส ชิลีชนะ 2-0 ก่อนอิตาลีจะโดนบุกไปล้างแค้นอีกรอบถึงแคมป์ฝึกซ้อม เมื่อสถานีโทรทัศน์บีบีซีนำเทป ไฮไลต์มาออกอากาศอีกครั้ง เดวิด โคลแมน บอกกับผู้ชมว่า สวัสดีครับ เกมที่คุณจะได้รับชมต่อไปนี้ คือ เกมที่โง่เง่า ต่ำช้า น่ารังเกียจ และเลวทรามที่สุดของเกมฟุตบอล หรือของประวัติศาสตร์เกมฟุตบอลเลยก็ว่าได้

อันดับที่ 2
1982 : รอคูเวตด้วย

คูเวตเสมอกับทีมที่หมดลุ้นอย่างเช็กโกสโลวะ เกียมาในเกมแรกและยันเสมอกับยอดทีมอย่างฝรั่งเศสมาได้ตลอดครึ่งชั่วโมงแรกใน เกมที่สองของกลุ่ม B ฝรั่งเศสนำไป 3-1 และน่าจะได้ประตูที่สี่เมื่ออแลง จิเรส วิ่งฝ่ากองหลังคูเวตและแทงบอลผ่านอาหมัด อัล ทาราบุลซีไปได้ แต่คูเวตกลับประท้วงโดยอ้างว่าทีมตัวเองหยุดเล่นเพราะได้ยินเสียงนกหวีด

ซึ่งความเป็นจริงแล้วเป็นนกหวีดที่ดังมาจาก อัฒจันทร์คนดู ผู้เล่นทีมเศรษฐีน้ำมันกรูกันเข้าไปรุมมิโรสลาฟ สตูปาร์ ผู้ตัดสินชาวโซเวียต ขณะที่ ชีค อัล ซาบาร์ ผู้จัดการทีมโผล่มาที่ข้างสนามตะโกนให้ลูกทีมวอล์คเอ๊าท์ ผู้ตัดสินสตูปาร์ ใจดีไม่ให้เป็นประตูอย่างเหลือเชื่อ แต่ฝรั่งเศสก็ยังมาได้ประตูที่สี่แบบไร้ข้อกังขาจากฝีเท้าของ แมกซิม บอสซิส

อันดับที่ 3
1986 : หัตถ์พระเจ้า

ดีเอโก้ มาราโดน่า ทำให้ผู้คนลืมความสามารถอันโดดเด่นของตัวเองไปชั่วขณะ และทำให้ชัยชนะเหนืออังกฤษของอาร์เจนติน่าในรอบก่อนรองชนะเลิศกลายเป็นเกม ที่น่าจดจำที่สุดของฟุตบอลโลก อังกฤษยันสกอร์ 0-0 ไว้ได้จนถึงนาทีที่ 51

แม้มาราโดน่าจะมีพื้นที่ในการทำเกมอย่างเหลือ เฟือจากการที่บ๊อบบี้ ร็อบสันตัดสินใจไม่เดินเกมขึ้นทางปีกตามสไตล์ถนัด เมื่อสตีฟ ฮอดจ์เคลียร์บอลพลาด บอลลอยโด่งมาใกล้กรอบเขตโทษ มาราโดน่า และ ปีเตอร์ ชิลตัน กัปตันอังกฤษกระโดดขึ้นหาบอลด้วยกันทั้งคู่ มาราโดน่าตัดสินใจชดเชยส่วนสูงที่ขาดไปเล็กน้อยด้วยการยกแขนซ้ายขึ้นไปสูง เหนือศีรษะของชิลตันและชกลูกบอลเข้าไปกระทบตาข่าย เป็นการฟาวล์ที่โจ่งแจ้งเสียจนมาราโดน่าเองก็ไม่ฝืนที่จะเคลียร์ตัวเองให้ พ้นผิด

ก่อนจะพูดถึงลูกนี้ในภายหลังด้วยวลีที่โลกไม่ ลืมว่า "มันเป็นหัตถ์ของพระเจ้า" อีกสี่ นาทีต่อมา มาราโดน่าก็ทำประตูที่สอง ซึ่งเป็นลูกยิงมหัศจรรย์ให้อาร์เจนตินาเอาชนะไป 2-1 แต่ดาวเตะหมายเลขหนึ่งของโลกก็น้ำท่วมปากไปพักใหญ่

อันดับที่ 4
1974 : เฮติ ที่น่าสะพรึงกลัว

ในตอนแรก ม้านอกสายตาจากไฮติทีมนี้ เกือบจะไม่ผ่านเข้ามาเล่นรอบสุดท้ายด้วยซ้ำ แต่ภายใต้การปกครองในยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัวของปาปา ดอค ดูวาลิเย่ร์ เฮติจึงได้เล่นรอบคัดเลือกนัดสุดท้ายในบ้านตัวเอง ก่อนจะคว่ำตรินิแดดซึ่งอุตส่าห์ทำถึงสี่ประตูแต่ถูกกรรมการปฏิเสธหมด การเล่นที่สวยงามของเฮติในเกมแรกที่แพ้อิตาลีไป 3-1 ถูกลืมเลือนเสียสิ้นเมื่อ เอิร์นส์ ฌอง-โจเซฟ กองหลังของทีมกลายเป็นนักเตะคนแรกของฟุตบอลโลกที่ไม่ผ่านการตรวจโด๊ป ฌอง-โจเซฟ ถูกส่งกลับไปกักตัวในค่ายฝึกซ้อม

บอกว่าโดนบังคับให้ทำเช่นนั้นและถูกทุบตีโดย เจ้าหน้าที่สหรัฐ ด้วยความหวาดกลัวเขาจึงโทรไปหาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เป็นกลางสองคนให้มา ช่วย แต่ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทั้งสองกลับถูกต่อว่าอย่างรุนแรงและฌอง-โจเซฟ ก็ต้องบินกลับไปรับโทษที่บ้านเกิด

อันดับที่ 5
1930 : ขอลูกใหม่เถอะ

ฟุตบอลโลกครั้งแรกอาจไม่ใช่เหตุการณ์ที่ผู้คน ให้ความสนใจมากมายอย่างทุกวันนี้ โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งส่งทีมมาแข่งสี่ชาติเท่านั้น แต่ในนัดชิงกลับเป็นคนละเรื่อง เมื่อคู่แข่งจากทวีปอเมริกาใต้คือ อุรุกวัย และอาร์เจนตินา โคจรมาพบกันเอง หลุยส์ มอนติ จากอาร์เจนตินาโดนขู่เอาชีวิต

ขณะที่ผู้ตัดสินจากเบลเยียม จอห์น แลงกินัส เรียกร้องให้เตรียมทางหนีทีไล่ ที่จะช่วยให้ตัวเองกลับไปลงเรือได้เร็วที่สุด เมื่อวันชิงชนะเลิศ ความวุ่นวายก็ระเบิดขึ้นเมื่อทั้งสองทีมต้องการลงแข่งขันโดยใช้ลูกบอลที่ ผลิตในประเทศของตนเท่านั้น หลังจากโต้เถียงกันอย่างรุนแรงโดยไม่มีใครลดราวาศอกผู้ตัดสินแลงกินัสก็เสนอ ไอเดียทางออก โดยให้ใช้บอลของแต่ละฝ่ายเล่นกันละครึ่ง

 

อันดับที่ 6
1966 : ยังไม่สิ้นสุดแม้เกมยุติ

เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาถึง ปัจจุบัน กับลูกยิงชนคานกระทบพื้นของเจฟฟ์ เฮิร์ส ดาวยิงทีมชาติอังกฤษ ในนัดชิงชนะเลิศ กับเยอรมันตะวันตก ว่าลูกนั้น “ข้ามเส้น” ไปหรือยัง ผู้ตัดสินเป่าให้ลูกนั้นได้ประตู ทำให้อังกฤษขึ้นนำเยอรมัน 3-2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ท่ามกลางการประท้วงของ นักเตะเยอรมัน

เจฟฟ์ เฮิร์สท์ อาจมีชื่อเป็นผู้ทำประตูที่สวยงามที่สุดในฟุตบอลโลก แต่ชัยชนะในช่วงต่อเวลาที่เวมบลีย์ก็มีความสำคัญมากพอที่จะบดบังความเป็น ปริศนาของลูกยิงลูกที่สองของเขา หลังจากต่อเวลาไปได้สิบนาที อลัน บอลล์ เปิดบอลเข้ามาจากกราบขวาให้เฮิร์สท์ ที่เบียดผ่านชูลช์ ไปได้ก่อนจะจับบอลหนึ่งจังหวะแล้วหวดเต็มแรงลูกพุ่งไปชนใต้คานเข้าอย่างจัง และกระดอนกลับลงมาบนเส้นประตูอย่างรวดเร็วก่อนจะถูกเคลียร์ออกไป

ผู้ตัดสิน ก๊อทท์ฟรีด ดีนส์ท วิ่งไปปรึกษากับไลน์แมนโทฟิก บาครามอฟ ซึ่งยืนอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุมากพอสมควร แต่ก็บอกว่าลูกข้ามเส้นประตู จนทุกวันนี้ก็ยังมีการถกเถียงกันไม่จบ แม้ภาพรีเพลย์การทำประตูจะบ่งบอกว่าคำประท้วงของเยอรมันถูกต้องก็ตาม

อันดับ ที่ 7
1982 : เกมปาหี่

แมตช์อัปยศที่สุดแมตช์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของ ทัวร์นาเมนท์เกิดขึ้นในการแข่งขันนัดสุดท้ายของกลุ่มสองระหว่างเยอรมันตะวัน ตกกับออสเตรีย แม้จะไม่มีหลักฐานว่าทั้งสองฝ่ายตกลงผลการแข่งขันไว้ล่วงหน้า แต่พฤติกรรมการส่งบอลไปมากลางสนามในเกมนี้บ่งบอกได้อย่างชัดเจน เยอรมันเสียหน้าจากเกมพ่ายแอลจีรียในนัดแรก และจำต้องเก็บชัยชนะจากนัดนี้เพื่อเข้ารอบ

ขณะที่ออสเตรียแค่ประคองตัวไม่ให้แพ้ถึงสี่ลูก ก็ลอยลำเข้ารอบสองได้อย่างสบาย หลังจากฮอร์ส ฮรูเบชโหม่งทำประตูได้ตั้งแต่นาทีที่ 11 ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายก็วิ่งเหยาะแหยะ ไม่สนใจจะขยับสกอร์ไปไหนอีก เมื่อสิ้นเสียงนกหวีด เกมที่แสนน่าเบื่อและทรมานนี้ก็จบลงเยอรมันตะวันตกจูงมือออสเตรียเข้ารอบต่อ ไปปล่อยให้แอลจีเรียปาดน้ำตากลับบ้านไปด้วยความแค้น

อันดับ ที่ 8
2002 : รางวัลสำหรับเกาหลีรางวัลจากผู้ตัดสิน

กองทัพแฟนบอลทีมเจ้าภาพร่วมเกาหลีใต้ที่อยู่ ทั้งใจและนอกสนามเวิลด์คัพหนนี้ล้วนเป็นภาพที่น่าประทับใจ และผู้ชมที่มีความเป็นกลางต่างก็ร่วมยินดีกับการที่ทีมโสมขาวสามารถทะลุเข้า ถึงรอบรองชนะเลิศได้ อย่างไรก็ตามเกาหลีใต้ก็ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ จากการตัดสินใจที่ดูไม่ค่อยโปร่งใสนักตั้งแต่รอบสองจนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ

เริ่มตั้งแต่ลูกที่คริสเตียน วิเอรี่ หัวหอกอิตาลียิงเข้าไปแต่ถูกเป่าเป็นลูกล้ำหน้า ก่อนจะพ่ายไป 2-1 จากโกลเด้นโกลของ อาห์น จุง ฮวาน ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ปฏิกริยาจากฝั่งอิตาลีเป็นไปอย่างดุเดือด แฟนบอลประท้วงผู้ตัดสินว่า ปล้นชัยชนะ ทางด้าน ลูชาโน่ กาอุชชี่

ประธานสโมสรเปรูจา ถึงกับออกมาไล่ อาห์น จุง ฮวาน ออกจากสโมสรโทษฐานที่เป็นผู้ยิงประตูชัย คำตัดสินที่ค้านสายตาและเป็นประโยชน์ต่อเกาหลีมากกว่าเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ในเกมที่พบกับสเปนในรอบก่อนรองชนะเลิศ ฆัวกินผ่านบอลเข้ามาให้ เฟอร์นานโด มอริเอนเตส โหม่งเข้าประตู แต่ผู้ตัดสินจากอียิปต์ จามาล กาดูร์ ไม่ให้เข้าประตูเพราะว่าบอลข้ามเส้นข้างสนามไปแล้ว ก่อนที่ ฆัวกิน จะเปิดเข้ามา ภาพช้าแสดงให้เห็นว่าบอลยังอยู่ห่างจากเส้นข้างสนามตั้งหนึ่งฟุต

อันดับ ที่ 9
1978 : รางวัลแด่ความอยุติธรรม

ความอื้อฉาวของทัวร์นาเมนท์ปี 1978 ไม่ได้อยู่ที่เกมการแข่งขัน (แม้ชัยชนะ X-0 เหนือทีม Xxxx จะน่าสงสัยยิ่งกว่าน่า สงสัยก็ตาม) ซึ่งสร้างความตื่นเต้นได้เหมือนกับครั้งที่ผ่านๆ มา หากแต่อยู่ที่การมีผู้ชนะเป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวจากการ ปกครองด้วยรัฐบาลเผด็จการทหารที่โหดร้ายต่างหาก

กว่าจะมาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ชาวอาร์เจนตินาต้องแลกมาด้วยความทุกข์ยากแสนสาหัส คนนับล้านที่เป็นปรปักษ์ต่อคณะรัฐบาลทหารถูกเข่นฆ่าและทรมานตลอดช่วงเวลาสอง ปีก่อนที่ทัวร์นาเมนท์จะเริ่มขึ้น และเมื่อผู้สื่อข่าวจากทั่วโลกเดินทางมาถึงต่างก็ถูกปิดหูปิดตาให้อยู่ห่าง จากความจริงอันน่าสะพรึงกลัวนี้

ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันคนแรกถูกระเบิด จนสิ้นชีพ ศูนย์ข่าวสำหรับนักข่าวก็ยังไม่วายถูกระเบิดทำลายเสียมาตรการรักษาความ ปลอดภัยนับพันถูกขนมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันจะผ่านไปอย่างราบรื่นใน สภาวะการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้

อันดับ ที่ 10
1970 : ลูกเตะซัลวาดอร์

อาลี คานดิล ตัดสินผิดพลาดอย่างร้ายแรงในการแข่งขันรอบแรกระหว่างเม็กซิโกกับเอล ซัลวาดอร์ จนทำให้ทีมจากอเมริกากลางอารมณ์เดือดเป็นไฟ สมันน้อยซัลวาดอร์ต้านเกมของเม็กซิโกไว้ได้จนถึงนาทีที่ 44 ก็ได้ลูกฟรีคิกจากในแดนของตน

แต่แล้วก็ต้องตาค้างเมื่อ ปาดิลลา ผู้เล่นของเม็กซิโก กลับโผล่เข้ามาเล่นลูก และส่งบอลยาวไปให้ บาลดิเวียซัดเป็นประตูขึ้นนำแบบไม่ทันตั้งตัว ผู้เล่นนักเตะซัลวาดอร์กรูเข้าไปล้อมคานดิลและไลน์แมนแถมเตะบอลทิ้งไปบนที่ นั่งคนดูพร้อมท้าให้ผู้ตัดสินแจกใบเหลืองหรือไล่ออกจากสนามก็ได้ คานดิลชิงเป่านกหวีดหมดครึ่งแรกเซฟตัวเองไว้ได้ทัน เริ่มครึ่งหลัง ซัลวาดอร์ยังคงใช้วิธีเตะบอลทิ้งให้คนดูตลอดเกมก่อนจะแพ้ไป 4-0

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook