สะพรึง นักวิทย์ฯ จีนค้นพบ แกนโลกหยุดเคลื่อนไหว-เปลี่ยนทิศหมุน สดร.ชี้ เป็นเรื่องปกติ

สะพรึง นักวิทย์ฯ จีนค้นพบ แกนโลกหยุดเคลื่อนไหว-เปลี่ยนทิศหมุน สดร.ชี้ เป็นเรื่องปกติ

สะพรึง นักวิทย์ฯ จีนค้นพบ แกนโลกหยุดเคลื่อนไหว-เปลี่ยนทิศหมุน สดร.ชี้ เป็นเรื่องปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สะพรึง นักวิทย์ฯ จีนค้นพบ แกนโลกหยุดเคลื่อนไหว-เปลี่ยนทิศหมุน นักวิชาการดาราศาสตร์  สดร.ชี้  “แกนโลกหมุนช้า เป็นวัฏจักรปกติ”

จากกรณีที่ มีนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งอี้ หยาง (Yi Yang) และ ซ่ง เสี่ยวตง (Xiaodong Song) พบสัญญาณว่า แก่นชั้นในของโลกเหมือนจะ “หยุดการเคลื่อนไหวชั่วคราว” และ “เปลี่ยนทิศในการหมุน” ได้ทำการศึกษาคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Wave) จากแผ่นดินไหวที่ส่งผ่านไปถึงแก่นโลกชั้นใน เพื่อวิเคราะห์ความเร็วในการหมุนของแก่นโลกชั้นในว่าเร็วเพียงใด

ซึ่งในการไขปริศนาของแก่นแท้ภายในโลกโดยศึกษาคลื่นไหวสะเทือน ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience ซ่งเสริมว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่รายงานหลักฐานการหมุนของแกนในเป็นครั้งแรกในปี 1996 โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงพวกเขามองหาเหตุการณ์แผ่นดินไหวซ้ำเพื่อวิเคราะห์ความเร็วในการหมุนของแก่นโลกชั้นในว่าเร็วเพียงใด ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางโลกถึงจุดต่ำสุดในราวปี 2009 ซึ่งบ่งชี้ว่าแกนในได้หยุดการหมุนชั่วคราว ทีมงานประหลาดใจมากยิ่งขึ้นเมื่อพบจุดเปลี่ยนที่คล้ายกันในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยบอกใบ้ว่าแกนกลางหยุดและอาจกำลังหมุนกลับ

ลักษณะของโลกจะแบ่งออกได้เป็น เปลือกโลก เนื้อโลก และแกนชั้นในและชั้นนอก มันถูกแยกออกจากเนื้อโลกด้วยแกนนอกที่เป็นของเหลวซึ่งช่วยให้แกนในหมุนได้ ซึ่งแกนโลกอยู่ห่างจากพื้นผิวที่เราอาศัยอยู่ประมาณ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งการวิจัยระบุว่าแกนในที่เป็นของแข็งของโลก ซึ่งเป็นลูกเหล็กร้อน ได้หมุนช้ากว่าพื้นผิวโลกและตอนนี้อาจหมุนช้ากว่านั้น

ทั้งนี้ ทีมวิจัยกล่าวว่า การหยุดหมุนและเปลี่ยนทิศการหมุนนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติ แต่เป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นตามปกติ และคิดว่าการหมุนของแกนกลางโลกนั้นหมุนไปในทิศทางหนึ่ง จากนั้นจะหมุนกลับมาในอีกทิศทางหนึ่ง เหมือนกับการแกว่งไปมา ซึ่งการหมุนนี้น่าจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรียกว่า “ความยาวของวัน” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองเล็กน้อย

ดร.มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า การเคลื่อนไหวของแกนโลก หรือ แกนโลกมีการเคลื่อนไหวช้าลงนั้น เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ที่จะเกิดขึ้นทุกๆ 70 ปี เพราะ หลักวิทยาศาสตร์ไม่มีอะไรตายตัว บางทีแกนโลกอาจจะหมุนช้าบ้าง เร็วบ้าง เป็นเรื่องปกติ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นสัญญาณเตือนอะไร

หากเเกนโลกเคลื่อนตัวช้าลง หรือ เร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์ สัตว์ เเละ สภาพแวดล้อมอย่างไร ?

ดร.มติพล เผยว่า ไม่มีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อ สิ่งมีชีวิต สภาพอากาศ แต่เป็นการส่งผลกระทบทางอ้อม ไม่ใช่ทางตรง จึงไม่อยากให้ทุกคนที่ได้เห็นข่าวนี้ ตื่นตระหนก เพราะ “แกนโลกหมุนช้า เป็นวัฏจักรปกติ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook