เมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

เมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

เมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันพุธที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้นักศึกษาอเมริกันคนละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 360,000 บาท ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 125,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 4.5 ล้านบาท) ซึ่งจะช่วยเหลือนักศึกษาจำนวน 20 ล้านคนให้ไม่มีหนี้ทางการศึกษาอีกต่อไป 

นอกจากนี้ประธานาธิบดีไบเดนยังประกาศยกเลิกหนี้ของกองทุนเพลล์ (Pell Grants) ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีอีกคนละ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก

จากสถิติชี้ว่าชาวอเมริกันราว 43 ล้านคน ติดหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อการเรียน รวมแล้วคิดเป็นมูลค่าหนี้ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้เกือบ 1 ใน 5 เป็นหนี้ที่ติดไว้ไม่ถึงคนละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ลูกหนี้การศึกษาจำนวน 1 ใน 3 ยังเป็นหนี้โดยที่ไม่มีวุฒิการศึกษา

ชาวอเมริกันประมาณ 43 ล้านคนติดหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หมายความว่าชาวอเมริกันจำนวน 1 ใน 6 หรือ 3 ใน 4 ของประชากรอเมริกันที่เรียนจบอย่างน้อยชั้นมัธยมปลาย มีหนี้จากการศึกษาอยู่ที่คนละกว่า 17,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 612,000 บาท) มีเพียง 17% เท่านั้นที่ติดหนี้น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 360,000 บาท) ขณะที่กลุ่ม 7% ติดหนี้สูงกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,600,000 บาท)

สาเหตุสำคัญในการประกาศยกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในครั้งนี้เนื่องจากตัวเลขยอดหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ สูงขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา จาก 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปัจจุบัน โดยที่ค่าจ้างค่าแรงของคนอเมริกันนั้นกลับหยุดนิ่ง แต่ค่าธรรมเนียมการเรียน (เรียกง่าย ๆ ก็คือค่าเล่าเรียนนั่นแหละ) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมโหฬาร

เหตุนี้ทำให้คนหนุ่มคนสาวที่กู้เงินเพื่อการศึกษาจนปัญญาที่จะใช้หนี้ได้ประกอบกับมีการเรียกร้องว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือธุรกิจเอกชนใหญ่ๆ ดผด้วยเงินภาษีของประชาชนหลายต่อหลายครั้งเป็นเงินนับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแต่กลับจะไม่ช่วยเหลือคนตัวเล็กตัวน้อยซึ่งเป็นอนาคตของชาติเลยซึ่งดูออกจะไม่เป็นธรรมเลย

ความจริงการกู้ยืมเพื่อการศึกษามีรากฐานจากกฎหมายทหารผ่านศึก (G.I. Bill) ของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2487 เพื่อสวัสดิการของทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้ทหารผ่านศึกผู้เสียสละเพื่อชาติสามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำมาซื้อบ้าน และกู้เงินดอกเบี้ยต่ำมาทำธุรกิจหรือมาซื้อที่ทำไร่นาและทหารผ่านศึกทุกคนจะได้เงินชดเชยในฐานะคนว่างงาน 1 ปีเต็มและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจ่ายเงินค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ในการศึกษาทุกระดับชั้นไม่ว่าจะเป็นระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับมหาวิทยาลัยของทหารผ่านศึกทุกคนที่ประสงค์จะเข้าศึกษาจนจบการศึกษาแต่ต้องเรียนให้จบตามกำหนดเวลานะครับไม่ใช่จะอยู่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยจนเป็นปู่นั้นไม่ได้

กฎหมายจี.ไอ.บิลนี้ ได้รับการต่ออายุมาจนถึงปัจจุบันนี้เพราะสหรัฐอเมริกานั้นทำสงครามไม่หยุดหย่อนซึ่งแต่เดิมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีการเกณฑ์ทหารจนกระทั่งหลังสงครามเวียดนามก็ยกเลิกการเกณฑ์ทหารใช้ระบบอาสาสมัครแทนแต่ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ยังคงจ่ายเงินค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ในการศึกษาทุกระดับชั้นให้กับทหารผ่านศึกทุกคนอยู่ดี จากสถิติแล้วทหารผ่านศึกรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เรียนไม่จบนะครับ 

ครับ! กฎหมายจี.ไอ.บิลนี้ เฉพาะด้านการศึกษานี่ฟรีนะครับจัดเป็นสวัสดิการสำหรับทหารผ่านศึกษา แต่สำหรับการกู้ยืมเพื่อการศึกษาของประชาชนทั่วไปนี้ต้องชำระคืนนะครับโดยทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอเมริกาในปี 2501 เริ่มมีโครงการการกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับชาวอเมริกันทั่วไป โดยเน้นให้ศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะคือวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และศึกษาศาสตร์เพื่อที่จะแข่งขันกับสหภาพโซเวียต เนื่องจากในปี 2501 ทางสหภาพโซเวียตสามารถส่งดาวเทียมชื่อสปุตนิกออกไปในอวกาศได้ก่อนสหรัฐอเมริกา และต่อมาก็มีการขยายโครงการออกมาใหญ่โตเป็นเจ้าหนี้ของประชาชนอเมริกันถึง 43 ล้านคนนั่นเอง 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook