ดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้ไม่เชื่อจะมีรัฐประหาร มอง "รัฐบาลแห่งชาติ" ไม่น่าเกิด

ดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้ไม่เชื่อจะมีรัฐประหาร มอง "รัฐบาลแห่งชาติ" ไม่น่าเกิด

ดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้ไม่เชื่อจะมีรัฐประหาร มอง "รัฐบาลแห่งชาติ" ไม่น่าเกิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวนดุสิตโพล เปิดผลสำรวจ พบประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อกระแสข่าวการทำรัฐประหาร ไม่น่ามีโอกาสเกิดรัฐบาลแห่งชาติ อยากได้รัฐมนตรีคลังคนใหม่มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,517 คน ใน 3 ประเด็นหลัก ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ณ วันนี้ พบผลว่า ประเด็นกระแสข่าวการทำรัฐประหาร กลุ่มตัวอย่างมีทั้งเชื่อและไม่เชื่อ โดยไม่เชื่อ 58.08 เปอร์เซ็นต์ และเชื่อ 41.92 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าน่าจะเกิดรัฐประหารขึ้นได้ 46.67 เปอร์เซ็นต์

ส่วนประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ คิดว่าไม่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 41.79 เปอร์เซ็นต์ และประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับ รมว.คลังคนใหม่นั้น เห็นว่า ควรมีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ 81.72 เปอร์เซ็นต์ ซื่อสัตย์ 75.20 เปอร์เซ็นต์ และเน้นทำงานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง 65.12 เปอร์เซ็นต์

จากผลการสำรวจถึงแม้ประชาชนจะไม่เชื่อกระแสการทำรัฐประหาร แต่ก็ยังมองว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนได้เรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมาว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งและมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น การทำรัฐประหารมักจะตามมาเสมอ ทั้งนี้เห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติยังไม่ใช่ทางออก ถึงจะช่วยลดความขัดแย้ง มีความเป็นกลาง แต่ก็อาจไม่ได้รับการยอมรับ

สุดท้ายในประเด็นของ รมว.คลัง ที่ยังแขวนอยู่ในขณะนี้ ประชาชนชี้ว่า คนที่เหมาะสมนั้นต้องเก่งด้านเศรษฐกิจ ไม่ทุจริต ต้องเข้ามาทำงานแก้ปัญหาเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง

โดยผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของประชาชนที่มีต่อคุณสมบัติของขุนคลังคนใหม่มากกว่ากระแสข่าวการรัฐประหาร แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันจะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ก็ตาม ซึ่งสาเหตุของความไม่เชื่อว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นในขณะนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์และตัวแปรที่จะนำไปสู่การทำรัฐประหารยังมีไม่มากพอ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นในการเมืองไทย

สำหรับข้อพิจารณาเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือการเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น ดูเสมือนจะไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะเมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนทางการเมืองในเรื่องระบบรัฐสภาและเสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลแล้ว จะเห็นว่ารัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีแต้มต่อทางการเมืองอยู่หลายขุม ทั้ง ส.ว., ส.ส.และพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังมีความเหนียวแน่นและไม่มีการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลเลย ดังนั้น ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ณ วันนี้ที่จะนำไปสู่ความเปราะบางของรัฐบาล คือ ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นปัญหาที่นายกรัฐมนตรีต้องเร่งแก้ไขเพื่อมิให้รัฐบาลต้องตกต่ำตามภาวะเศรษฐกิจในยุค NEW NORMAL เพราะขาดความเชื่อมั่นต่อประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook