“หมอวรงค์” เผย 6 ประเด็นที่ต่างชาติเข้าใจไทย เพราะวาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

“หมอวรงค์” เผย 6 ประเด็นที่ต่างชาติเข้าใจไทย เพราะวาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

“หมอวรงค์” เผย 6 ประเด็นที่ต่างชาติเข้าใจไทย เพราะวาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานยุทธศาสตร์กลุ่มไทยภักดี แจงสิ่งที่ต่างชาติเข้าใจไทยผิด 6 ประเด็น จากการใช้วาทกรรมบิดเบือน

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานยุทธศาสตร์กลุ่มไทยภักดี ระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว  “Warong Dechgitvigrom” ว่าสิ่งที่สื่อต่างชาติเข้าใจผิด เพราะมีการใช้วาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

1.เข้าใจว่า ม.112 มีไว้เพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง ตนตอบว่าไม่จริง กฏหมายมาตรานี้ ก็ไม่ต่างจากกฏหมายอาญามาตรา 326 ของประชาชน ที่ใช้ปกป้องตนเอง กรณีมีคนมาหมิ่นประมาท ใส่ร้าย และทุกประเทศก็มีกฏหมายปกป้องประมุขแห่งรัฐ

2.เข้าใจว่า ถ้าไม่พอใจใคร หรือนักการเมืองคนไหน ใช้ ม.112 กล่าวหาได้เลย นี่คือวาทกรรมบิดเบือน เพราะในรอบ 30 ปี มานี้ไม่เคยมีใครหรือนักการเมืองคนไหน ติดคุกเพราะ ม.112 ยกเว้น พวกไปกล่าวหาให้ร้าย

3.เข้าใจว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลทหาร เผด็จการ ตนบอกว่า เขาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากการหย่อนบัตรพร้อมกับพวกที่กล่าวหา และ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ก็เคยแข่งนายกแต่แพ้ ดังนั้นนายกคนนี้มาจากการเลือกตั้ง เพียงแต่เคยเป็นหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่นก็รับรองไม่ใช่เหรอ ตนย้ำกับสื่อต่างชาติว่า นี่ก็เป็นวาทกรรมบิดเบือน ที่สำคัญถ้าเป็นรัฐบาลทหาร มีอำนาจจริงซื้อเรือดำน้ำไปแล้ว วันนี้ทหารมีอิทธิพลสู้นักการเมืองไม่ได้ อำนาจอยู่ที่นักการเมือง

4.เข้าใจว่าฝ่ายนักศึกษาและฝ่ายค้านเป็นฝ่ายประชาธิปไตย อีกฝ่ายเป็นฝ่ายเผด็จการ ตนบอกว่า ในอดีตพวกของฝ่ายนี้เคยเป็นรัฐบาล แต่ใช้อำนาจทางสภาเผด็จการมากกว่าทหาร จนประชาชนนับล้านออกมาขับไล่ ดังนั้นในเมืองไทยต้องดูที่การกระทำ

5.ทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนญี่ปุ่น ตนบอกว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่วนข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน ก็ไม่สมเหตุผล ไม่เกี่ยวกับประโยชน์สุขของประชาชนใดๆทั้งสิ้น เป็นการเรียกร้องที่มีอคติส่วนตัว ซึ่งรัฐธรรมนูญของไทยร่างโดยคนไทย จึงวางบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สมพระเกียรติ ในฐานะเป็นผู้สร้างชาติไทยมา

6.บทบาทสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ตนบอกว่า สว.เลือกนายกได้ เป็นบทเฉพาะกาล 5 ปี ที่ผ่านมาจากประชามติที่ประชาชนอนุญาต ในช่วงเวลาจำกัด เหลือเวลาอีก 3 ปีกว่า ก็จะหมดอายุ ซึ่งสื่อต่างชาติเข้าใจว่า สว.จะเลือกนายกได้ตลอด เป็นความเข้าใจผิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook