โพลชี้ ประชาชนเห็นด้วย อบรมใหม่ "ใบขับขี่ตลอดชีพ"

โพลชี้ ประชาชนเห็นด้วย อบรมใหม่ "ใบขับขี่ตลอดชีพ"

โพลชี้ ประชาชนเห็นด้วย อบรมใหม่ "ใบขับขี่ตลอดชีพ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"นิด้าโพล" ประชาชนเห็นด้วย เรียกอบรมใหม่ผู้ถือใบขับขี่ตลอดชีพ 29.8% ชี้เฉพาะคนอายุ 60 ปีขึ้นไป หากไม่ผ่านให้สอบใหม่

“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การทดสอบสมรรถนะผู้ถือใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-12 ส.ค.ที่ผ่านมา จากประชาชนที่มีอายุ 37 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,511 หน่วยตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 พบว่า ประชาชน ร้อยละ 67.90 มีใบอนุญาตขับรถ ขณะที่ ร้อยละ 32.10 ไม่มีใบอนุญาตขับรถ

โดย ร้อยละ 84.1 มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ขณะที่ ร้อยละ 15.59 ไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล แต่เมื่อถามผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลถึงประเภทของใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 48.15 ระบุว่า เป็นใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภท 5 ปี, ร้อยละ 45.38 เป็น ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ และร้อยละ 6.47 เป็น ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทชั่วคราว

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงแนวคิด การเรียกผู้มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ มาทดสอบสมรรถนะทางร่างกายใหม่ พบว่า ร้อยละ 59.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ประเภทตลอดชีพ ปัจจุบันมีอายุมากขึ้น อาจทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ควรเรียกเข้ามารับการอบรมและทดสอบสมรรถนะทางร่างกายใหม่ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้รถใช้ถนน ร้อยละ 38.89 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ยังไม่มีการพิสูจน์ที่เเน่ชัดว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ ประเภทตลอดชีพ และร้อยละ 1.27 ระบุเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

อย่างไรก็ตาม จากการถามผู้ที่เห็นด้วยถึงกลุ่มผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ ที่ควรเรียกมาทดสอบสมรรถนะใหม่ ร้อยละ 33.39 ระบุว่า ทุกคนที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ รองลงมา ร้อยละ 29.80 ระบุ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.99 ระบุ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยที่ ร้อยละ 60 .04 ระบุ หากผู้ถือใบอนุญาตขับรถยนต์
ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ ไม่ผ่านการทดสอบสมรรถนะทางร่างกาย ควรให้ทดสอบขับรถใหม่ ร้อยละ 23.68 ไม่ต้องทำอะไร และ ร้อยละ 14.82 ยึดใบขับขี่ เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook