นักวิจัยชี้ “หมีขั้วโลก” จะสูญพันธุ์ช่วงปลายศตวรรษ เนื่องจาก “ภาวะโลกร้อน”

นักวิจัยชี้ “หมีขั้วโลก” จะสูญพันธุ์ช่วงปลายศตวรรษ เนื่องจาก “ภาวะโลกร้อน”

นักวิจัยชี้ “หมีขั้วโลก” จะสูญพันธุ์ช่วงปลายศตวรรษ เนื่องจาก “ภาวะโลกร้อน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานวิจัยชิ้นใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ระบุว่า “หมีขั้วโลก” มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ ในช่วงปลายศตวรรษนี้ หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังมีปริมาณเพิ่มขึ้น แม้นักวิทยาศาสร์จะคาดการณ์ว่า หมีขั้วโลกกำลังกับปัญหาการสูญพันธุ์ เนื่องจากอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่สามารถบอกช่วงเวลาและสถานที่ที่หมีขั้วโลกจะสูญพันธุ์ได้ 

หมีขั้วโลกใช้แผ่นน้ำแข็งกลางทะเลเพื่อล่าแมวน้ำเป็นอาหาร แต่เมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น แผ่นน้ำแข็งจึงค่อย ๆ หายไป ส่งผลให้โอกาสในการล่าแมวน้ำของหมีขั้วโลกลดลงไปด้วย งานวิจัยค้นพบว่า การลดลงของแผ่นน้ำแข็งส่งผลให้ประชากรหมีขั้วโลกมีจำนวนลดลง และหากอัตราการปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงมีปริมาณเท่าเดิม หมีขั้วโลกที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะควีนเอลิซาเบธ ในกลุ่มเกาะอาร์กติก ประเทศแคนาดา เท่านั้น ที่จะมีชีวิตรอดไปถึงช่วงปลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดน้อยลง แผ่นน้ำแข็งในทะเลยังจะละลายอย่างต่อเนื่อง เพราะระดับของก๊าซคาร์บอนที่ลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งจะนำไปสู่จำนวนประชากรหมีขั้วโลกที่ลดลง โดยเฉพาะในบริเวณอาร์กติกตอนใต้ 

นักวิจัยทำการศึกษาหมีขั้วโลก 13 ชนิดจากทั้งหมด 19 ชนิดทั่วโลก ซึ่งถือเป็นจำนวนประชากรหมีขั้วโลกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจึงคาดการณ์ระยะเวลาที่หมีขั้วโลกสามารถอดอาหาร ก่อนที่พวกมันจะสามารถผสมพันธุ์กันได้ และเทียบเคียงกับจำนวนวันที่แผ่นน้ำแข็งจะละลายทั้งหมดในอนาคต ผลการศึกษาที่ได้ ชี้ว่า ภายในปี 2040 ประชากรหมีขั้วโลกที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวฮุสตันและช่องแคบเดวิส ในประเทศแคนาดา จะประสบปัญหาสมรรถภาพการสืบพันธุ์ และภายในปี 2080 ประชากรหมีขั้วโลกทั้งหมดจะได้รับผลกระทบ 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หมีขั้วโลกต้องประสบภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในปี 1965 ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนเรื่องการล่าหมีขั้วโลก ซึ่งจะส่งผลให้พวกมันสูญพันธุ์ และนำไปสู่กฎหมายการห้้ามล่าหมีขั้วโลกในปี 1973 แต่ถึงแม้ว่าการห้ามล่าหมีขั้วโลกจะทำให้จำนวนหมีขั้วโลกเพิ่มขึ้น แต่การละลายของแผ่นน้ำแข็งก็ส่งผลกระทบต่อหมีขั้วโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 26,000 ตัวทั่วโลก ทั้งนี้ แม้งานวิจัยชิ้นล่าสุดจะสะท้อนให้เห็นอนาคตของหมีขั้วโลก แต่งานวิจัยก็ระบุว่า ปริมาณที่ลดลงของการเผาไหม้ฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถลดการละลายของแผ่นน้ำแข็ง และช่วยชีวิตหมีขั้วโลกได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook