ห้ามพลาด! สุริยุปราคา 2563 เริ่มบ่ายนี้ เปิด 2 วิธีดูแบบง่ายๆ ไม่เสียสายตา

ห้ามพลาด! สุริยุปราคา 2563 เริ่มบ่ายนี้ เปิด 2 วิธีดูแบบง่ายๆ ไม่เสียสายตา

ห้ามพลาด! สุริยุปราคา 2563 เริ่มบ่ายนี้ เปิด 2 วิธีดูแบบง่ายๆ ไม่เสียสายตา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (21 มิ.ย.) จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาวงแหวน" แนวคราสวงแหวนพาดผ่านสาธารณรัฐอัฟริกากลาง คองโก เอธิโอเปีย ตอนใต้ของปากีสถาน ตอนเหนือของอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน

ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็น "สุริยุปราคาบางส่วน" ดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ในช่วงเวลาประมาณ 13.00 - 16.10 น. ตามเวลาประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุด เวลาประมาณ 14.49 น. สังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแตกต่างกัน ดังนี้

  • ภาคเหนือ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 63%
  • กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังประมาณ 40%
  • ภาคใต้ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังน้อยที่สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา ประมาณ 16%

สำหรับการสังเกตดวงอาทิตย์มีวิธีง่ายๆ ด้วยกัน 2 วิธี คือ

  • วิธีที่ 1 สังเกตดวงอาทิตย์ด้วยตาผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ, กล้องโทรทรรศน์ที่ติดแผ่นกรองแสง, แว่นดูดวงอาทิตย์ที่ทำจากแผ่นพอลิเมอร์ดำหรือแผ่นกรองแสงไมลาร์ หรืออุปกรณ์ง่ายๆ เช่น กระจกแผ่นกรองแสงสำหรับหน้ากากเชื่อมโลหะ เบอร์ 14 หรือมากกว่า ไม่ควรใช้ฟิล์มเอกซเรย์ ฟิล์มถ่ายรูปใช้แล้ว แผ่นซีดี แว่นกันแดด กระจกรมควัน แผ่นฟิล์มกรองแสงสีดำที่ใช้ติดกระจกรถยนต์แม้จะมีสีดำสนิทก็ตาม ก็ยังไม่ปลอดภัยต่อสายตา เพราะไม่สามารถกรองแสงบางช่วงคลื่นที่เป็นอันตรายต่อสายตาออกไปได้ และไม่ควรจ้องดวงอาทิตย์นานเกิน 5 วินาทีต่อครั้ง ควรหยุดพักเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
  • วิธีที่ 2 การสังเกตดวงอาทิตย์ทางอ้อม เป็นการดูเงาของแสงอาทิตย์ผ่านฉากรับภาพหรือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม ซึ่งเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยไม่เกิดอันตรายต่อดวงตาและช่วยให้สามารถดูปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทีละหลายคน นอกจากนี้ ยังสามารถสังเกตจากแสงอาทิตย์ที่ลอดผ่านต้นไม้ตกบนพื้นหรือกำแพง มองเห็นเป็นเงาเสี้ยวของดวงอาทิตย์ได้อีกด้วย

สิ่งที่ห้ามทำ คือ ห้ามมองด้วยตาเปล่าหรือถ่ายภาพดวงอาทิตย์โดยไม่มีแผ่นกรองแสง หรือใช้ตาเล็งจากช่องมองภาพของกล้องโดยเด็ดขาดเพราะเลนส์กล้องมีคุณสมบัติรวมแสงและความร้อนซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook