สยอง! นักวิจัยเตือน พยาธิร้ายในปลาร้า-ปลาส้ม แนะทำให้สุกก่อนรับประทาน (คลิป)

สยอง! นักวิจัยเตือน พยาธิร้ายในปลาร้า-ปลาส้ม แนะทำให้สุกก่อนรับประทาน (คลิป)

สยอง! นักวิจัยเตือน พยาธิร้ายในปลาร้า-ปลาส้ม แนะทำให้สุกก่อนรับประทาน (คลิป)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (24 พ.ค.63) เพจเฟซบุ๊ก PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โพสต์ข้อความระบุว่า “สำหรับคอปลาร้า ปลาส้ม ท่านที่ชื่นชอบทานปลาร้า ปลาส้มดิบ มาดูกันว่ามีพยาธิมากน้อยขนาดไหนในจังหวัดของท่าน แล้วดิบๆนี่ควรจะทำอย่างไรให้ไร้พยาธิ

โดยงานวิจัยนี้ มีการสำรวจตรวจพยาธิใบไม้ตับและใบไม้ลำไส้ขนาดเล็กในปลาร้าและปลาส้มจาก 73 ตลาด ใน 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (SudaratOnsurathum et al., 2016)

  • พบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก 9.58% (7/73)
  • ส่วนใหญ่พบในปลาร้า และเป็นตัวอย่างที่เก็บมาจากศรีสะเกษ สกลนคร ขอนแก่น มุกดาหาร และอุดรธานี

สำรวจปลาส้มจาก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาตรวจหาระยะติดต่อพยาธิใบไม้ตับ (metacercaria:mc) พบ 20.2% โดยมีความหนาแน่นของเชื้ออยู่ระหว่าง 1 - 268 mc/kg (Ratchadawan Aukkanimart et al., 2017)

สำรวจปลาร้าและปลาส้ม จาก 5 อำเภอในจังหวัดอุดรธานีและ 7 อำเภอจากกาฬสินธุ์ (Nipawan Labbunruang & Jutharat Kulsantiwong 2019)

  • พบระยะติดต่อพยาธิใบไม้ตับในตัวอย่าง ปลาร้า 9.1% ปลาส้ม 42.9%
  • พบระยะติดต่อพยาธิจากตัวอย่างในอำเภอเมือง กุมภวาปี และกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

 เวลาและอุณหภูมิต่ำจะมีผลต่อพยาธิใบไม้ตับในปลาส้ม (SudaratOnsurathum et al., 2016)

ทำปลาส้มในห้องปฏิบัติการและปลาส้มที่เก็บมาจากตลาด เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ปลาส้มยังคงตรวจพบพยาธิระหว่างวันที่ 1-4 เมื่อนำระยะติดต่อพยาธิใบไม้ตับที่ตรวจเจอนี้ ไปป้อนให้หนูแฮมสเตอร์และเลี้ยง 1-2 เดือน นำมาฆ่าเพื่อตรวจดูพยาธิ พบการติดเชื้อ 52%, 44.7%, 11.3% และ 1% สำหรับระยะติดต่อพยาธิที่เก็บจากปลาส้มวันที่ 1, 2, 3 และ 4

ปลาเก็บไว้ที่ 4 °C นำมาทำปลาส้ม 3 วัน พบว่าปลาส้มวันที่ 1 และ 2 พบระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับ และสามารถติดเชื้อหนูแฮมสเตอร์ได้ 3.3% และ 12.7% ขณะที่ปลาส้ม 3-5 วัน พยาธิไม่สามารถติดเชื้อในหนูแฮมสเตอร์

วิธีกำจัดพยาธิใบไม้ตับอย่างง่ายๆ ในปลาเกล็ดขาวกลุ่มวงศ์ปลาตะเพียน อาทิ ปลาขาวนา ปลาขาวสร้อย ปลาตะเพียน ปลากระสูบ (Panupan Sripan et al., 2017)

  • ความร้อนด้วย microwaving (400 หรือ 800 W) หรือต้มที่ 90 องศาเซลเซียส ที่ 5 นาที สามารถฆ่าระยะติดต่อพยาธิได้
  • แช่แข็งที่ -20 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง สามารถฆ่าระยะติดต่อพยาธิได้
  • ปลาส้ม แช่แข็งที่ -20 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง สามารถฆ่าระยะติดต่อพยาธิได้
  • ปลาส้ม แช่แข็งที่ 4 องศาเซลเซียส 24-48 ชั่วโมง ไม่สามารถฆ่าระยะติดต่อพยาธิได้ เมื่อนำไปป้อนในแฮมสเตอร์เลี้ยง 1 เดือน ตรวจพบตัวเต็มวัย 40%

การสำรวจพยาธิในประชากรไทยทั้งประเทศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 15,555 ราย (Thitima Wongsaroj et al., 2014)

  • พบการติดเชื้อปรสิตในระบบทางเดินอาหาร 18.1%
  • พบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini สูงที่สุด 8.7% (1,351 ราย)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook