คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเผย เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงจาก10ประเทศของสหภาพยุโรปและเขตปกครองพิเศษฮ่องกงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล วันที่ 21 สิงหาคมนี้

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม นายอานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคมนี้ เวลา 17.30 น. นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์ในการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวงจะนำคณะซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานในโครงการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคณะทำงานจัดทำจดหมายเหตุสิทธิบัตรฝนหลวง เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นพัฒนา ตามพระราชปณิธานที่จะทรงช่วยเหลือเกษตรกรและพสกนิกรทั่วไปให้มีทรัพยากรน้ำ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค

"สิทธิบัตรดังกล่าวออกโดยสำนักสิทธิบัตรของประเทศในกลุ่มสหภาพ ยุโรปและสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกง รวมจำนวน 11 ประเทศ พร้อมหนังสือจดหมายเหตุสิทธิบัตรฝนหลวงซึ่งรวบรวมการดำเนินการการจดสิทธิ บัตรฝนหลวง ตั้งแต่ปี 2545 - 2550 และถือเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของของโลกที่ทรงได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว" นายอานนท์ กล่าว

เลขาธิการ วช. กล่าวอีกว่า การถวายสิทธิบัตรครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวงในชื่อ "Weather Modification by Royal Rainmaking Technology" เลขที่ 1491088 พร้อมได้ประกาศโฆษณาการรับจดทะเบียนใน European Patent Bulletin เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548 โดยคณะกรรมการวิจัยฯ ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีผู้แทนพระองค์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549 ที่อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ซึ่งสิทธิบัตรฝนหลวงได้รับความคุ้มครองสิทธิในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ อาทิ สาธารณรัฐเช็ค ออสเตรีย เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ สเปน กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย เยอรมนี เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร

นายอานนท์ กล่าวว่า ล่าสุดในปีนี้มีประเทศที่ออกสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการให้จำนวน 10 ประเทศ คือ แอลเบเนีย ไซปรัส กรีซ ลิทัวเนีย โมนาโก มาซิโดเนีย โรมาเนีย ตุรกี เดนมาร์ก และฝรั่งเศส อีกทั้งจากการที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้รับอนุญาตให้นำสิทธิในกลุ่มสหภาพ ยุโรปไปขยายความคุ้มครองได้ ทางสำนักสิทธิบัตรเขตปกครองพิเศษฮ่องกงจึงได้ออกสิทธิบัตรฝนหลวงเพื่อถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อนึ่ง สำหรับการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวง ได้เริ่มต้นขึ้น ในปี 2544 จากการที่ วช. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะนำโครงการน้ำมันปาล์ม R.B.D. Palm Olien as Altenative Fuel และโครงการฝนหลวง The Royal Rainmaking Technics ไปร่วมจัดการแสดงในงานนิทรรศการ "Brussels Eureka 2001: 50th Anniversary of the World Exhibition of Innovation, Research and New Technology" ที่กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ต่อมากองงานส่วนพระองค์ สำนักพระราชวัง ได้มีหนังสือถึงวช. เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวในต่างประเทศ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากโครงการน้ำมันปาล์มได้มีการยื่นจดทะเบียนขอรับสิทธิบัตรในประเทศแล้ว เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 และการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศต้องดำเนินการภายในเวลาไม่เกิน สิบสองเดือนนับจากวันที่ยื่นจดทะเบียนขอรับสิทธิบัตรในประเทศแล้ว ดังนั้น วช.จึงดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรโครงการฝนหลวงทั้งในและต่างประเทศ เพียงโครงการเดียว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook