นัทธียันอำนาจชี้ขาดฏีกาแดงอยู่ที่รมว.ยธ.

นัทธียันอำนาจชี้ขาดฏีกาแดงอยู่ที่รมว.ยธ.

นัทธียันอำนาจชี้ขาดฏีกาแดงอยู่ที่รมว.ยธ.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ระบุ อำนาจการพิจารณาฎีกากลุ่มเสื้อแดง อยู่ที่รมว.ยุติธรรม ด้านโฆษก ก.ยุติธรรม เผย ถวายฏีกาต้องดูคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่น

(17ส.ค.) นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวกรณีกรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่าเคยมี พฤติการณ์หลบหนีและสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า กรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯนั้น พ.ต.ท.ทักษิณไม่ เคยมีประวัติ การรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรมส่งเรื่องมาให้กรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งส่วนนี้กระทรวงยุติธรรมคงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาลได้เพียง อย่างเดียว

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อกรมราชทัณฑ์ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสมกรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่เพียงผู้เดียว

ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ โฆษกกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า หลังจากสำนักราชเลขาธิการรับเรื่องมาแล้วก็จะได้พิจารณาว่าฏีกาดังกล่าวเป็น ประเภทไหนเช่นเป็นเรื่องร้องทุกข์ทั่วไปหรือการขอความช่วยเหลือจากราชการ แต่เนื้อหาฏีกาดังกล่าวก็เป็นที่รู้ว่าเป็นฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งสำนัก ราชเลขาธิการก็จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมต่อไป

อย่างไรก็ตามเมื่อ เรื่องมาถึงกระทรวงๆจะดำเนินการเหมือนเรื่องอื่นๆที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนโดย จะส่งไปที่กรมราชทัณฑ์ที่เป็นต้นเรื่องรับผิดชอบเบื้องต้นซึ่งจะดูว่าการ ตัดสินหรือคำพิพากษาอย่างไร ผู้คนรับโทษเป็นอย่างไร การทูลเกล้าเป็นไปตามกระบวนการกฏหมายที่กำหนดหรือไม่ ผู้ยื่นเป็นคนในครอบครัวของผู้รับโทษหรือไม่ เป็นคนมีสิทธิหรือไม่ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวนตลอด จะดูพฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดซึ่งหลังจากพิจารณาแล้วอาจแบ่งแนวทางดำเนิน การคือยกฏีกาหรือถวายการอภัยโทษ

"การตรวจสอบรายชื่อจะดูว่าเป็นคน ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือไม่ เราต้องตรวจสอบรายชื่อทั้งหมดชื่อคงไม่มีส่วนว่ามากแล้วจะทำให้รมว.คววาม เห็นไปทางใด กฏหมายไม่ได้ยึดชื่อมาก แต่อยู่ที่คนยื่นมีสิทธิ์หรือเป็นไปตามกฏหมายหรือไม่หากไม่มีสิทธิก็เหมือน ขาดคุณสมบัติเบื้องต้น การพิจารณาต่อเนื่องก็อาจทำไม่ได้ ที่ผ่านมาไม่มีนักโทษคนไหนที่ไม่รับผิดแต่มาขอพระราชทานอภัยโทษ"

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook