ทักษิณสัมภาษณ์บีบีซีเรื่องโควิด-19 ชาวเน็ตแห่เทียบวิสัยทัศน์ ถอดรหัสนัยการเมือง

ทักษิณสัมภาษณ์บีบีซีเรื่องโควิด-19 ชาวเน็ตแห่เทียบวิสัยทัศน์ ถอดรหัสนัยการเมือง

ทักษิณสัมภาษณ์บีบีซีเรื่องโควิด-19 ชาวเน็ตแห่เทียบวิสัยทัศน์ ถอดรหัสนัยการเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวบีบีซี เผยแพร่คลิปสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับมุมมองต่อประเทศไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในวันนี้ (13 พ.ค.) ซึ่งคลิปดังกล่าวถูกพูดถึงในวงกว้างทั้งในโซเชียลมีเดียและสังคมทั่วไป

อย่างไรก็ตาม แม้จะกำหนดเงื่อนไขการพูดคุยว่าไม่ต้องการแตะต้องเรื่องการเมืองไทย แต่ในคลิปการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว อดีตนายกรัฐมนตรีก็ให้ความเห็นในหลากหลายประเด็น ตั้งแต่วิธีการรับมือโรคดังกล่าวในหลายประเทศ รัฐบาลไทยควรนำมาใช้เป็นบทเรียน กล่าวชื่นชมการทำงานของบุคลากรการแพทย์ไทย เรื่อยไปถึงควบคุมโรคระบาด อย่างเช่น โรคไข้หวัดนก และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) เมื่อครั้งตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรียังพูดถึงประเด็นที่มีชื่อของตนปรากฏเป็นเจ้าภาพงานศพของนางสาวปรายฝน อ่ำสาริกา พนักงานรักษาความปลอดภัยผู้ล่วงลับ ที่วาดภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยความเคียดแค้น ก่อนลงมือลาโลกอีกด้วย

ชาวเน็ตเทียบวิสัยทัศน์

การเคลื่อนไหวนี้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หลายคนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของอดีตนายกรัฐมนตรีรายนี้เทียบกับคณะผู้นำทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งความเห็นจำนวนไม่น้อยมองว่านายทักษิณพูดเข้าใจง่าย มีเนื้อหาสาระที่ชัดเจน และฟังแล้วทำให้ประชาชนมีความหวังและไว้ใจให้นำพาประเทศพ้นภัยโควิด-19 ได้

ความเห็นหนึ่งระบุว่า ตนไม่ได้ชื่นชอบอดีตนายกรัฐมนตรีรายนี้ที่ตัวบุคคลขนาดนั้น แต่รัฐบาลนายทักษิณก็เป็นที่รับรู้ในวงกว้างว่าเป็นยุคที่เศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดี

นอกจากนี้ หลายคนยังนำคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีรายนี้ ที่พูดในคลิปดังกล่าวว่า ตนเป็นคนไทยที่มีคนทำให้ตนไม่ได้เป็นคนไทย มาโพสต์ต่อในโซเชียลมีเดีย และระบุว่าน่าเสียดายที่นายทักษิณเผชิญกับชะตากรรมเช่นนี้ ส่วนบางความเห็นก็อวยพรให้อดีตนายกรัฐมนตรีสุขภาพแข็งแรง

เริ่มปลงเส้นทางการเมือง?

อย่างไรก็ตาม บางความเห็นมองว่า การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ของนายทักษิณ มีน้ำเสียงที่ปล่อยวาง ราวกับปลงกับการต่อสู้ทางการเมืองมากกว่าในอดีต ซึ่งอาจเป็นเพราะอายุที่มากขึ้นก็ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook