ผีน้อยจงระวัง! ตม.เกาหลีออกกฎใหม่ ปรับ 5 แสน แบนอีก 10 ปี หากแอบอยู่เกิน 3 ปี

ผีน้อยจงระวัง! ตม.เกาหลีออกกฎใหม่ ปรับ 5 แสน แบนอีก 10 ปี หากแอบอยู่เกิน 3 ปี

ผีน้อยจงระวัง! ตม.เกาหลีออกกฎใหม่ ปรับ 5 แสน แบนอีก 10 ปี หากแอบอยู่เกิน 3 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 12 ธันวาคม 2562 - เฟซบุ๊ก "สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงโซล Office of Thai Labour in Seoul" เผยแพร่ข้อความถึงมาตรการใหม่ของเกาหลีใต้เกี่ยวกับชาวต่างชาติที่อยู่เกินวีซ่ากำหนด โดยเป็นมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการเข้าเมืองโดยผิดวัตถุประสงค์ หรือกลุ่มที่เข้าเมืองเกาหลีใต้เพื่อเข้ามาเป็นแรงงาน

ทั้งนี้ ในรายละเอียดระบุว่า ศูนย์บริการตรวจคนเข้าเมืองแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ระบุถึงแรงงานไทยที่อยู่อาศัยในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมายและเกินวีซ่าเข้าเมืองกำหนด หากรายงานตัวกลับไทยโดยสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 - วันที่ 30 มิถุนายน 2563 จะไม่เสียค่าปรับ และไม่ถูกสั่งห้ามให้เดินทางเข้าเกาหลีใต้อีก

แต่หากอยู่ต่อและนับจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะต้องจ่ายค่าปรับเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย โดยจะมีค่าปรับ 30% เมื่อเดินทางกลับระหว่าง 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2563 และจะเสียค่าปรับ 50% หากเดินทางกลับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

ขณะเดียวกัน ระหว่างช่วงเวลาตามข้างต้น หากแรงงานที่ผิดกฎหมายถูกจับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 จะต้องเสียค่าปรับตามระยะเวลาที่อยู่เกินวีซ่า นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกจับและอยู่เกินวีซ่า 3 ปีขึ้นไป จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 20 ล้านวอน หรือคิดเป็นเงินไทยราว 500,000 บาท

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนไทยที่จ่ายค่าปรับการอยู่เกินกำหนด จะไม่ถูกห้ามเดินทางเข้าเกาหลีใต้อีกครั้งในอนาคต แต่ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบก่อนอนุญาตเหมือนเช่นเดิม

นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ผู้ที่เดินทางกลับแต่ไม่จ่ายค่าปรับ จะถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าเกาหลีใต้อีกตั้งแต่ 1-10 ปี นับตั้งแต่เดินทางกลับระหว่าง 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2563 และหากเดินทางกลับหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป จะถูกสั่งห้ามเข้าประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่ 3-10 ปี

ศูนย์บริการตรวจคนเข้าเมืองแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ยังระบุอีกว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 สำหรับนายจ้างภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม หากสมัครใจแจ้งการจ้างงานผิดกฎหมายกับทางการ จะไม่เสียค่าปรับ และจะได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติที่ถูกกฎหมายไว้ชั่วคราว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook