"ชวน" แอบแซะ "ประยุทธ์" ท่องธรรมาภิบาลได้แม่น แต่คดีทุจริตยังมี เพราะคนไทยขี้เกรงใจ

"ชวน" แอบแซะ "ประยุทธ์" ท่องธรรมาภิบาลได้แม่น แต่คดีทุจริตยังมี เพราะคนไทยขี้เกรงใจ

"ชวน" แอบแซะ "ประยุทธ์" ท่องธรรมาภิบาลได้แม่น แต่คดีทุจริตยังมี เพราะคนไทยขี้เกรงใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานกล่าวปาฐกถาหัวข้อ "มหันตภัย คอร์รัปชัน ยุค 4.0" ในพิธีมอบรางวัลส่งเสริมการต่อต่านคอร์รัปชัน ประจำปี 2562 (Anti-Corruption Awards 2019) ซึ่งจัดขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยนายชวนกล่าวว่า ปัญหาคอร์รัปชันที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันเป็นเพราะคนไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งคนส่วนใหญ่จำหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ที่กำหนดในสมัยตนเป็นนายกรัฐมนตรีได้

แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็ท่องได้ครบ แต่ปัญหาที่พบในยุคปัจจุบัน คือความเกรงใจ ทำให้คดีทุจริตสำคัญๆ มีข้าราชการระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง สุดท้ายต้องออกจากราชการ ต้องเข้าคุกเพราะทำหน้าที่ขัดกับหลักธรรมาภิบาล เกรงใจนาย เกรงใจผู้บังคับบัญชา เกรงใจผู้มีพระคุณ เช่น ปลัดกระทรวงบางกระทรวงในอดีต ที่ช่วยนักการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการ ถึงขั้นเลขาธิการ ก.พ. ในขณะนั้น เข้ามาแก้ไขระเบียบการแต่งตั้งบุคคล แต่ถูกร้องเรียนจนถูกให้ออกจากราชการ ทั้งที่คนเหล่านี้ไม่ได้มีพื้นฐานเป็นคนโกง แต่ทำเพราะเกรงใจ ตอนนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไปหมดแล้ว

เช่นเดียวกับกรณีของ พ.ต.อ.ชาญชัย เนติรัฐการ อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว จ.นครปฐม รุ่นน้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปวิ่งเต้นติดสินบนจำนวน 30 ล้านบาท ให้แก่ ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ช่วยเหลือในการตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2549 ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค แต่เพราะเกรงใจภรรยา ส่วนภรรยาก็เกรงใจคุณหญิง สุดท้ายต้องติดคุก

นายชวน มองว่าความเกรงใจเป็นสิ่งงดงาม แต่ปัญหาเกิดเพราะเอาความเกรงใจมาใช้ผิดๆ จึงขอเพิ่มหลักธรรมาภิบาล เป็น 7 ข้อ คือ
1.หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า
และ ข้อที่ 7 หลักความไม่เกรงใจ

นอกจากนี้ นายชวน ยังฝากให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดการกับปัญหาทุจริตของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มาประมูลงานจากรัฐแต่กลับดำเนินงานไม่เสร็จ หรือที่เรียกว่าการทิ้งงาน สร้างความเสียหายให้รัฐเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่ จ.ตรัง พบมีหลายหน่วยงานได้รับผลกระทบ ทั้งโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ที่มีการประมูลก่อสร้างแต่สร้างไม่เสร็จ ปล่อยเป็นตึกร้าง เนื่องจากบริษัทรับเหมา ประมูลต่ำกว่าราคากลาง สุดท้ายไม่สามารถทำได้ จนตนต้องไปขอร้องรัฐบาลจัดสรรงบพิเศษไปช่วยแก้ปัญหา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook