จิตแพทย์เตือนห้ามทาอายแชโดว์ขู่ลูกเล่นมือถือ เจอคนดราม่าด่า "อย่าดัดจริต"

จิตแพทย์เตือนห้ามทาอายแชโดว์ขู่ลูกเล่นมือถือ เจอคนดราม่าด่า "อย่าดัดจริต"

จิตแพทย์เตือนห้ามทาอายแชโดว์ขู่ลูกเล่นมือถือ เจอคนดราม่าด่า "อย่าดัดจริต"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์รูปภาพลูกสาวของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ได้ติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนัก ตนจึงหาวิธีนำอายแชโดว์สีดำมาทาบริเวณขอบดวงตาของลูกน้อยในช่วงขณะที่กำลังหลับ และบอกกับลูกว่าเพราะเล่นโทรศัพท์มือถึงมากจึงเป็นแบบนี้

โพสต์ต้นเรื่องโพสต์ต้นเรื่อง

ต่อมา พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า วิธีการดังกล่าวไม่ควรทำ และไม่ควรลอกเลียนแบบเป็นอย่างยิ่ง เพราะเปรียบได้กับการถูกลงโทษอย่างรุนแรงทางจิตใจ หากทำไปแล้วควรอธิบายเหตุผลให้เด็กฟัง

เพราะจากในภาพหากเด็กร้องไห้จากกรณีดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในวัยที่พอจะรับฟังเหตุและผลได้ ควรอธิบายไปด้วยว่าตื่นมา เห็นแบบนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าอะไร พูดคุยในเชิงเปรียบเทียบให้เด็กเข้าใจ ขณะเดียวกันหากคิดว่าสภาพจิตใจเด็กไม่ดีขึ้นเพราะหวาดกลัวกับเหตุการณ์ พ่อแม่ก็สามารถพูดขอโทษลูกได้ เป็นการปรับความเข้าใจกัน

ซึ่งหลังจาก เฟซบุ๊กเพจ JS100 Radio ได้แชร์คำแนะนำของจิตแพทย์ไป ก็ได้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย โดยมีพ่อแม่บางส่วนแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะพูดคุยด้วยเหตุผลได้ ขณะที่บางรายก็ต่อว่ารุนแรงถึงจิตแพทย์ที่เข้ามาให้คำแนะนำ

ขณะที่อีกด้าน ก็มีคนเข้าใจคำแนะนำของจิตแพทย์ และมองว่าไม่ควรตำหนิจิตแพทย์ เพราะมองว่าความเห็นดังกล่าวเป็นการพูดแบบวิชาการ รับฟังไว้และนำไปปรับใช้กับชีวิตจริงก็ไม่เสียหายอะไร

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ได้แนะนำเพิ่มเติมว่า ในยุคปัจจุบันคงห้ามไม่ให้ลูกเล่นมือถือไม่ได้ ต้องสอนให้รู้เท่าทัน ทำความเข้าใจก่อนว่ามือถือนั้นมีทั้งข้อดีแล้วข้อเสีย

พ่อแม่ควรเป็นคนยื่นมือถือให้ และกำหนดเงื่อนไขหรือกติกาทุกครั้ง เล่นได้กี่นาที ที่ไหนให้เล่นหรือไม่ให้เล่น และพ่อแม่ก็ต้องทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างด้วย ไม่ใช่ห้ามลูกแต่ทำเอง ต้องเป็นกติกาที่ทำร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ยิ่งดี

อาทิ พ่อแม่เล่นเกมเดียวกับลูก แข่งขันกันภายในครอบครัว ทั้งนี้ข้อแนะนำหากบอกให้ลูกวางมือถือก็ควรมีอะไรอย่างอื่นให้ลูกทำต่อ เป็นการสร้างจูงใจ เช่น เดี๋ยวพาออกไปเที่ยว พาไปกินไอศกรีม เป็นต้น

สำหรับการลงโทษนั้นขอให้ทำเป็นลำดับสุดท้าย ก่อนหน้านั้นควรพยายามพูดทำความเข้าใจด้วยเหตุด้วยผล พยายามให้รางวัลเชิงบวก เพราะมักจะทำแล้วได้ผลเสมอทุกเพศทุกวัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook