รู้ตัวอีกที "พ.ร.บ.ไซเบอร์" จะมาแล้ว สนช. ซุ่มถกกฎหมาย หวั่นเปิดช่องรัฐล้วงส่องเต็มที่!

รู้ตัวอีกที "พ.ร.บ.ไซเบอร์" จะมาแล้ว สนช. ซุ่มถกกฎหมาย หวั่นเปิดช่องรัฐล้วงส่องเต็มที่!

รู้ตัวอีกที "พ.ร.บ.ไซเบอร์" จะมาแล้ว สนช. ซุ่มถกกฎหมาย หวั่นเปิดช่องรัฐล้วงส่องเต็มที่!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำเอาตกอกตกใจอีกแล้ว สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ในวันนี้ (26 ก.พ.) เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะพิจารณากฎหมายในวาระ 2 และ 3 แบบม้วนเดียวจบ ซึ่งนอกจากความรวดเร็วของการพิจารณากฎหมายนี้แล้ว สิ่งที่สร้างความกังวลไม่แพ้กัน คือ เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้

แบ่งภัยคุกคามไซเบอร์เป็น 3 ระดับ

กฎหมายดังกล่าวมีความตั้งใจที่จะป้องกันคนมาแฮกระบบ จนทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของประเทศพังเสียหาย ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึงภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Die Hard 4.0 ที่มีคนแฮกระบบไฟดับทั้งเมืองและสัญญาณจราจรปั่นปวน

ถึงอย่างนั้น ในความเป็นจริงแล้ว หลายประเทศทั่วโลกกลับใช้กฎหมายในลักษณะนี้มาสอดแนมประชาชนเสียเอง ซึ่งสร้างความกังวลให้หลายฝ่ายว่าเมื่อไทยมีเครื่องมือนี้ ก็จะใช้ล้วงข้อมูลของชาวเน็ต หรือเล่นงานผู้ที่เห็นต่าง

>> จับตาร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ พบช่องโหว่อำนาจเจ้าหน้าที่ล้นฟ้า

ก่อนหน้านี้ ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินผลกระทบของร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ต่อเศรษฐกิจและประชาชนว่า มีเนื้อหาหลายส่วนอาจขัดขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพิ่มต้นทุนในการประกอบการ และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการดำเนินการของภาคธุรกิจอีกด้วย 

นอกจากนี้ ผศ.ดร.อนุสรณ์ ยังได้แนะนำให้ชะลอการผ่านกฎหมายฉบับนี้ และให้รัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งพิจารณา เพราะกฎหมายนี้อาจกระทบต่อประชาชนอย่างมาก

>> อาจารย์ ม.รังสิต ผวากฎหมายใหม่คุมไซเบอร์ "เบ็ดเสร็จ" แนะเลื่อน! รอรัฐบาลหน้าเคาะ

ให้สิทธิ์บุกค้น-ล้วงข้อมูล-ยึดคอมพิวเตอร์

กฎหมายนี้แบ่งภัยคุกคามออนไลน์ ที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็น 3 ระดับ คือ ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง และวิกฤติ

สิ่งที่น่าตกใจอยู่ที่ 2 ระดับหลัง คือ ระดับร้ายแรงและระดับวิกฤติ เพราะเจ้าหน้าที่สามารถเรียกตัวคนมาให้ข้อมูล ตรวจค้นสถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่การล้วงข้อมูลออนไลน์ อย่างเช่น สิ่งที่เราคุยกันกับเพื่อน หรือสิ่งที่เราทำในอินเทอร์เน็ต ได้ทุกอย่าง ไม่ใช่แค่นั้น ยังยึดหรืออายัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรา ไว้ได้นานถึง 30 วัน

"มาตรา 65 ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง กกม. มีอำนาจปฏิบัติการหรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) เข้าตรวจสอบสถานที่ โดยมีหนังสือแจ้งถึงเหตุอันสมควรไปยังเจ้าของหรือผู้ครองครองสถานที่เพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่นั้น หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

(2) เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ทำสำเนา หรือสกัดคัดกรองข้อมูลสารสนเทศหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

(3) ทดสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือถูกใช้เพื่อค้นหาข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ภายในหรือใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์นั้น

(4) ยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ใดๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็นซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ ทั้งนี้ไม่เกินสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวให้ส่งคืนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองโดยทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบหรือวิเคราะห์"

ระดับวิกฤติ "ไม่ต้องขอหมายศาล"

อย่างไรก็ตาม ในระดับร้ายแรงนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องขอหมายศาลเสียก่อนจึงจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่ถ้าภาครัฐมองว่า ภัยคุกคามนั้นอยู่ในระดับวิกฤต ไม่จำเป็นขอหมายศาลก่อน แต่ค่อยแจ้งให้ศาลทราบหลังจากนั้น

"มาตรา 67 ในกรณีที่เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วน และเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้เลขาธิการมีอำนาจดำเนินการได้ทันทีเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันและเยียวยาความเสียหายก่อนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล แต่หลังจากการดำเนินการดังกล่าว ให้แจ้งรายละเอียดการดำเนินการดังกล่าวต่อศาลที่มีเขตอำนาจทราบโดยเร็ว"

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าวิกฤติ

ร่างกฎหมายนี้ระบุเอาไว้ในมาตรา 59 ว่า ระดับวิกฤตินั้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ จนทำให้ระบบสาธารณูปโภคล้มเหลวทั้งระบบ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐทำงานไม่ได้ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงจนทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน

"(3) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

(ก) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นกว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง โดยส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศในลักษณะที่เป็นวงกว้าง จนทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐหรือการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ให้กับประชาชนล้มเหลวทั้งระบบ จนรัฐไม่สามารถควบคุมการทำงานส่วนกลางของระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐได้ หรือการใช้มาตรการเยียวยาตามปกติในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งอาจมีผลทำให้บุคคลจำนวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากถูกทำลายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ

(ค) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็ฯต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง"

ถ้าอยากอ่านกฎหมายนี้เต็มๆ ก็คลิกตรงนี้ได้เลย

เคยออก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมินเสียงค้านมาแล้ว!

อย่างไรก็ตาม คาดว่า สนช. จะให้การเห็นชอบร่างกฎหมายนี้โดยง่าย เนื่องจากสภาชุดนี้เคยให้ความเห็นชอบต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาแล้ว ทั้งๆ ที่ขณะนั้น มีประชาชนลงชื่อคัดค้านในอินเทอร์เน็ตกว่า 300,000 รายชื่อ ขณะที่หลายฝ่ายก็ออกมาคัดค้านกันถ้วนหน้า

>> อภิสิทธิ์แนะ รบ. ฟังต้าน พ.ร.บ.คอม อย่าแค่รับมือพวกแฮก

>> น.ศ.ค้าน พรบ.คอม หน้าจามจุรีฯ ล่า 1 หมื่นชื่อชง สนช.

>> ผบ.ทัพ แถลงหนุน รบ. ดูแลสงบ-พรบ.คอม ป้องป่วน

>> ตร. เผยศาลออกหมายจับคดีต้าน พรบ.คอม แล้ว 4 คน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook