"ผลประโยชน์" ชนวนความวุ่นวายทางการเมืองศรีลังกา ส่อเค้าเข้าสู่ "กลียุค" อีกครั้ง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/1515/7575870/srilanka-sanook.jpg"ผลประโยชน์" ชนวนความวุ่นวายทางการเมืองศรีลังกา ส่อเค้าเข้าสู่ "กลียุค" อีกครั้ง

    "ผลประโยชน์" ชนวนความวุ่นวายทางการเมืองศรีลังกา ส่อเค้าเข้าสู่ "กลียุค" อีกครั้ง

    2018-11-13T19:46:21+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ศรีลังกาเป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้เกิดความโกลาหลทางการเมืองอย่างกะทันหัน เมื่อประธานาธิบดีไมตรีพละ สิริเสนา ได้ประกาศปลดนายรานิล วิกรมสิงหะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคมนี้ แล้วแต่งตั้งอดีตประธานาธิบดี นายมหินทรา ราชปักษา เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

    ทั้งนี้ เนื่องมาจากตัวประธานาธิบดีไมตรีพละ สิริเสนาเองได้นำพรรคกลุ่มพันธมิตรยูไนเต็ดพีเพิลฟรีดอมที่เขาเป็นผู้นำออกจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของศรีลังกา ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2558 แต่นายวิกรมสิงหะไม่ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าการกระทำของประธานาธิบดีไมตรีพละ สิริเสนานั้นไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

    พรรคของอดีตนายกฯ มีที่นั่ง 106 ที่นั่ง ซึ่งขาดอยู่ 7 ที่นั่งสำหรับเสียงข้างมากตามปกติในรัฐสภาศรีลังกา นายวิกรมสิงหะถูกสั่งให้ออกจากบ้านประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายวิกรมสิงหะไม่ยอมออก ประธานาธิบดีได้สั่งลดการรักษาความปลอดภัยของนายวิกรมสิงหะลง แต่ประธานรัฐสภาศรีลังกา นายการุณ ชัยสุริยะ มีหนังสือถึงประธานาธิบดีให้คุ้มครองสิทธิพิเศษของนายรานิล วิกรมสิงหะ จนกว่าจะมีการแปรญัตติไม่ไว้วางใจ

    อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี สิริเสนา ยืนยันให้นายมหินทรา ราชปักษา เป็นนายกรัฐมนตรีและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้น นอกจากนี้ยังปิดการประชุมรัฐสภาจนกระทั่งวันที่ 16 พฤศจิกายน ทำให้เวลานี้ ศรีลังกามีนายกรัฐมนตรีสองคน ซึ่งส่งผลให้ประเทศศรีลังกาถลำลงสู่วิกฤติทางรัฐธรรมนูญ

    ประธานาธิบดีสิริเสนากับนายกรัฐมนตรีวิกรมสิงหะเกิดความขัดแย้งกัน โดยประธานาธิบดีสิริเสนาคัดค้านอย่างเปิดเผยต่อการตัดสินใจของมติคณะรัฐมนตรีในการขึ้นราคาเชื้อเพลิงและการยอมให้อินเดียพัฒนาโครงการสถานีปลายทางขนส่งสินค้าทางตะวันออกโคลัมโบ

    นายสิริเสนาเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขมาก่อนในช่วงรัฐบาลราชปักษาปี พ.ศ. 2553-2557 นายสิริเสนาร่วมมือกับนายวิกรมสิงหะโค่นล้มนายราชปักษาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2558 สิริเสนาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีจากการหนุนหลังโดยพรรคยูเอ็นพีของวิกรมสังหะ ซึ่งมีที่นั่งในสภา 106 จาก 225 ที่นั่ง แต่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสิริเสนาแจ้งว่าจะถอนพรรคยูพีเอฟเอของเขาออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล

    การถอนตัวพรรคของนายสิริเสนาในครั้งนี้จะกลายเป็นจุดจบของพรรคร่วมรัฐบาลที่เคยรวมตัวกันด้วยสัญญาว่าจะปฏิรูปเศรษฐกิจและนำตัวผู้กระทำความผิดในช่วงปลายสงครามกลางเมืองศรีลังกาในยุคของนายราชปักษามาดำเนินคดี ซึ่งสงครามกลางเมืองดังกล่าวนั้น ราชปักษาเป็นหัวหอกในการโค่นล้มกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลมลงได้เมื่อ 9 ปีก่อน ทำให้สงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลา 26 ปี สิ้นสุดลง

    ครับ! ก็เรื่องผลประโยชน์ขัดกันนั่นแหละครับ เพราะว่ารัฐบาลของนายวิกรมสิงหะนั้นดำเนินนโยบายเอียงไปทางอินเดียและฝ่ายตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด ส่วนนายราชปักษานั้นเรียกได้ว่าเป็นพวกสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างชัดแจ้ง ขณะที่นายสิริเสนาที่ตัดสินใจปลดนายวิกรมสิงหะออกและตั้งนายราชปักษาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แถมให้เวลานายราชปักษาถึง 3 สัปดาห์เพื่อรวบรวมคะแนนเสียงในรัฐสภาข้างมากให้ได้ เพื่อได้รับความไว้วางใจให้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศได้ ก็ต้องคอยดูกันจนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ว่า จะออกหัวหรือออกก้อยกันละครับ

    เพราะว่าหากนายราชปักษาไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงในรัฐสภาได้เพียงพอ นายสิริเสนาก็ไม่มีทางเลือก ต้องแต่งตั้งนายวิกรมสิงหะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง