นักเรียน ป.3 ผลิต "เครื่องแยกเหรียญ" จากวัสดุเหลือใช้ ลงทุนเพียง 110 บาท

นักเรียน ป.3 ผลิต "เครื่องแยกเหรียญ" จากวัสดุเหลือใช้ ลงทุนเพียง 110 บาท

นักเรียน ป.3 ผลิต "เครื่องแยกเหรียญ" จากวัสดุเหลือใช้ ลงทุนเพียง 110 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 8 ตุลาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ Tanyarat Saimai ได้โพสต์ข้อความพร้อมกับคลิปวิดีโอที่เป็นเครื่องคัดแยกเหรียญสตางค์โดยใช้กล่องกระดาษจากวัสดุเหลือใช้ประดิษฐ์และเขียนข้อความว่า

มาค่ะ รับแยกเหรียญ ร้อยละ 20 บาท โดย ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี วิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ป.3 #โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี #STEAMleaning #ACTIVEleaning

หลังทราบเรื่องจึงเดินทางที่ไปโรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ที่โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 โดยพบกับ น.ส.ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ผู้เป็นคนโพสต์คลิปวิดีโอ และด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี อายุ 9 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3

ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ผลงานเครื่องแยกเหรียญจากเศษกระดาษเหลือใช้ พร้อมกับทดลองให้ผู้สื่อข่าวได้ชมถึงขั้นตอนการแรกเหรียญสตางค์ต่างๆ ตั้งแต่เหรียญ 1 บาท, 2 บาท, 5 บาท และ10 บาท

ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี หรือน้องภู เปิดเผยว่า เครื่องแยกเหรียญชนิดนี้ลงทุนเพียง 110 บาท ได้ใช้วัสดุประกอบด้วยลังกระดาษ อะคริลิค มอเตอร์เกียร์ รางถ่าน 2 ก้อน ถ่าน AA2 ก้อน สายไฟ น๊อต

จากนั้นนำมาผสมผสานประดิษญ์โดยใช้เวลากว่า 2 สัปดาห์ โดยมีครูและผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำในการประดิษฐ์บางส่วน โดยแนวความคิดนี้เริ่มขึ้นเมื่อตนเองได้ไปใช้บริการซื้อของที่ร้านค้าสหกรณ์ เห็นครูที่สหกรณ์กำลังนั่งคัดแยกเหรียญอยู่ซึ่งใช้เวลามาก

ตนเองจึงกลับมาคิดและประดิษฐ์เครื่องคัดแยกเหรียญตามโครงงานชิ้นที่ 3 ที่ต้องประดิษฐ์ส่งครูตามแบบโครงงานที่ต้องมีการนำมอเตอร์เกียร์มาใช้ร่วมในโครงงาน

ซึ่งก็ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่มีการคลาดเคลื่อนของเหรียญที่คัดแยก เพราะจะคัดแยกจากขนาดของเหรียญที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกัน

น.ส.ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน เปิดเผยว่า ชิ้นงานนี้มาจากวิชาเทคโนโลยีพลังงาน วิชานี้จะไม่มีหนังสือครูจะเป็นคนที่บริหารจัดการการเรียนการสอนออกมาในลักษณะชิ้นงานหรือโครงงาน

ลักษณะคือดึงความเป็นนวัตกรของเด็กนักเรียน โดยโครงงานชิ้นนี้ริเริ่มมาจากโครงงานเครื่องบินจากไม้ไอศกรีม คือได้มีการเรียนเรื่องการใช้มอเตอร์

จากนั้นชิ้นงานที่ 2 คือการประดิษฐ์พลังงานจากวัสดุเหลือใช้คือไมโครเวฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ กระทั่งโครงงานที่ 3ได้มีการให้นักเรียนประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ 1 ชิ้นที่มีการใช้มอเตอร์และมีวัสดุเหลือใช้มาประกอบร่วมกัน โดยสามารถออกแบบได้อยางอิสระ จึงเกิดเครื่องแยกเหรียญสตางค์ขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook