ตัดชื่อของ "ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์" ออกจากชื่อรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก

ตัดชื่อของ "ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์" ออกจากชื่อรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก

ตัดชื่อของ "ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์" ออกจากชื่อรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บรรดานักอ่านรุ่นใหญ่ส่วนมากต้องรู้จักหนังสือชื่อ Little House in the Big Woods (บ้านเล็กในป่าใหญ่) ที่เขียนโดย ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ ซึ่งเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของครอบครัวเล็กๆ ในกระท่อมไม้ซุงในป่าใหญ่ทางตะวันตกของมลรัฐวิสคอนซิน ยุคหลังสงครามกลางเมืองราวช่วง พ.ศ. 2405 เป็นต้นมา

“บ้านเล็กในป่าใหญ่” เป็นวรรณกรรมเยาวชนยอดนิยมต่อเนื่องยาวนานที่สุดเรื่องหนึ่งของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน หนังสือชุดนี้ถูกแปลออกเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลกหลายสิบภาษา และแปลเป็นฉบับภาษาไทยโดย “สุคนธรส” เมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งผู้เขียนเริ่มอ่านฉบับแปลนี้ในช่วงนั้นเช่นกัน

ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์

ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ คือนักเขียนนิยายเยาวชนชื่อดังที่สุดของอเมริกาตั้งแต่ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2475-2486 ชื่อของเธอกลายเป็นชื่อรางวัลสำหรับวรรณกรรมเด็กของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA - ซึ่งเป็นสมาคมห้องสมุดแห่งแรกของโลก) ที่ชื่อ "รางวัลเหรียญตรา ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์" มาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 - 2560

รางวัลเหรียญตรา ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์ALAรางวัลเหรียญตรา ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์

แต่ในปีนี้ สมาคมห้องสมุดสำหรับเด็ก (ALSC) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งในสมาคมห้องสมุดอเมริกันได้ลงมติให้ถอดชื่อของไวลเดอร์ออกจากชื่อรางวัลแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรางวัลมรดกวรรณกรรมสำหรับเด็ก (Children's Literature Legacy Award) แทน เนื่องจากได้ประเมินว่าวรรณกรรมชุด "บ้านเล็กในป่าใหญ่" มีลักษณะ "เหยียดชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียแดง) และเหยียดคนผิวดำ"

โดยทางสมาคมห้องสมุดสำหรับเด็กแถลงในเรื่องนี้ว่านิยายชุดนี้ของไวลเดอร์ ได้แสดงความเชื่อแบบเหมารวมทำนองหมิ่นและเหยียดพวกอินเดียแดงและคนผิวดำว่า มิใช่คนหรือมิใช่คนโดยสมบูรณ์ อาทิ ในบทแรกของหนังสือบ้านเล็กในป่าใหญ่เคยบรรยายฉากไว้ว่าที่นั่น “ไม่มีคนเลย มีแต่พวกอินเดียแดงอาศัยอยู่” หรือ ยังมีเนื้อหาที่มีการเหยียดเชื้อชาติแบบเหมารวมและมีทัศนคติของคนขาวอเมริกันในยุคสมัยของไวลเดอร์ เช่น มีตัวละครหนึ่งพูดว่า “อินเดียแดงที่ดีมีแต่อินเดียแดงที่ตายแล้ว” รวมถึงมีการใช้คำเรียกคนผิวดำว่าเป็น “ดาร์กี้” ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการของสมาคมห้องสมุดสำหรับเด็กที่เน้นถึง Equity, Diversity & Inclusion – ความเสมอภาค, ความหลากหลาย และไม่กีดกัน

การถอดชื่อรางวัล ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์ ออกนั้นเป็นผลพวงของการตอบโต้การก่อการร้ายของกลุ่ม White Supremacist หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “กลุ่มคนผิวขาวที่วิเศษกว่าคนทุกสีผิว” ในสหรัฐอเมริกาของคนอเมริกันทั่วไปโดยเฉพาะตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารหมู่คนผิวดำ 9 คนที่โบสถ์เมืองชาร์ลสตัน มลรัฐเซาธ์ แคโรไลนา โดยพวกกลุ่มคนผิวขาวที่วิเศษกว่าคนทุกสีผิว

วิธีการตอบโต้ คือ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมให้มีการเหยียดเชื้อชาติสีผิวน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการรื้อถอนอนุสาวรีย์ของอดีตผู้นำสมาพันธรัฐอเมริกา (ฝ่ายใต้) ที่ส่งเสริมการเหยียดเชื้อชาติสีผิวออกจากสถานที่สาธารณะไปได้แล้วไม่ต่ำกว่า 110 อนุสาวรีย์ เนื่องจากกลุ่มคนเชื้อชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนผิวขาวโดยเฉพาะกลุ่มคนผิวดำมองว่าอนุสาวรีย์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เหยียดหยามกดขี่พวกเขา

ดังนั้น การถอดชื่อรางวัล ลอรา อิงกัลล์ ไวลเดอร์ ออกก็เป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้พวก White Supremacist ทางด้านวรรณกรรม โดยเริ่มจากเด็กเลยทีเดียว

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ตัดชื่อของ "ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์" ออกจากชื่อรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook