รู้ไว้ใช่ว่า นทท.แห่ชมโครงกระดูกมนุษย์ 3 พันปี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคสมัยทวารวดี

รู้ไว้ใช่ว่า นทท.แห่ชมโครงกระดูกมนุษย์ 3 พันปี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคสมัยทวารวดี

รู้ไว้ใช่ว่า นทท.แห่ชมโครงกระดูกมนุษย์ 3 พันปี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคสมัยทวารวดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

( 27 มิ.ย. 61 )   ผู้สื่อข่าวพามาชม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท หมู่ที่ 7 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปี เริ่มเป็นที่รู้จักเนื่องจากนักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย

ต่อมากรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่งโบราณคดีนี้ในปี พ.ศ. 2526 พบว่า  เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น ลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ สันนิษฐานว่ามนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว   รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย

ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น จึงได้ผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่างๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอาเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป 

โดยบ้านปราสาท นับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว   

สำหรับหลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม โดยในแต่ละวันจะมีประชาชน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาเที่ยวชมศึกษา โครงกระดูกมนุษย์โบราณและวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านปราสาทกันเป็นจำนวนมาก

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ รู้ไว้ใช่ว่า นทท.แห่ชมโครงกระดูกมนุษย์ 3 พันปี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคสมัยทวารวดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook